เอชไอวีป้องกันได้ แต่ใครกันที่เข้าถึงได้จริง?
อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ แปล
คำถามที่ไม่สะดวกใจ:
วิทยาศาสตร์ให้เครื่องมือป้องกันเอชไอวีใหม่ๆเป็นของขวัญสำหรับเรา แต่มันจะเพิ่มทางเลือกให้กับผู้คนหรือไม่[1]
วิธีป้องกันเอชไอวีใหม่ ๆ ไม่ควรถูกวางทิ้งไว้บนชั้นเก็บของเฉยๆ แต่ควรถูกใช้โดยคนที่จำเป็นต้องใช้มันเพื่อป้องกันตัวเองจากเอชไอวี เราต้องทำให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีป้องกันเอชไอวีใหม่ๆที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์นั้นสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเอชไอวี จิม พิคเก็ตต์ (Jim Pickett) เรียกร้องที่เต็มไปด้วยความรู้สึกให้นำผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มาแปลงใช้ให้เป็นผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขโดยไม่ล่าช้า แต่ด้วยความเสมอภาคและความยุติธรรม
ปัจจุบัน จิม พิคเก็ตต์ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสของเอแวค (AVAC) และเป็นผู้ดูแลโครงการวาระทางเลือก (Choice Agenda) ที่มุ่งเน้นการวิจัยการป้องกันเอชไอวีและการนำไปปฏิบัติ
ความจริงที่ไม่สะดวกใจ
เมื่อถูกถามว่ามีอะไรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้างในระหว่างปีคศ. 2018 จนถึงปัจจุบัน เขาตอบว่า “โควิด-19 ทำให้ทั้งโลกเปลี่ยนแปลงไป แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่มีผลรุนแรงทางจิตใจมากก็ตาม แต่มันยังทำให้บางสิ่งบางอย่างเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเช่นกัน ผมคิดว่าเราดีขึ้นในระดับโลกเกี่ยวกับการหาวิธีการใหม่ๆในการดูแลสุขภาพ เรายังได้เรียนรู้ว่าเราสามารถพัฒนาวัคซีนได้อย่างรวดเร็วและนั่นถือเป็นว่าเป็นชัยชนะ แต่เราไม่สามารถส่งมอบวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมกันในหลายส่วนของโลก” จิมพูดกับสำนักข่าวซีเอ็นเอส (CNS) ในการประชุมการวิจัยเพื่อการป้องกันเอชไอวีครั้งที่ 5 ของ สมาคมโรคเอดส์นานาชาติ (International AIDS Society หรือ IAS) ที่เมืองลิมา ประเทศเปรู
น่าเศร้าที่ความเท่าเทียมและความยุติธรรมไม่ได้เป็นแรงผลักดันให้เกิดการตอบสนองด้านสุขภาพของเรา จิมกล่าวว่า “เรามีพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นมากมายในด้านการป้องกันเอชไอวี เรามีคาโบเทกราเวียร์ซึ่งเป็นยาฉีดที่สามารถป้องกันเอชไอวีได้ทุก ๆ 2 เดือน แต่การเข้าถึงได้นั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ยาชนิดนี้หาซื้อได้ในประเทศของเรา แต่มีราคาแพงมาก นอกจากนี้ในการจัดส่งยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อนอีกด้วย ดังนั้นจำนวนผู้ใช้จึงน้อยมาก ยาชนิดนี้หาซื้อได้แต่หลายคนไม่สามารถเข้าถึงได้”
จิมเสริมว่า “ขณะนี้เรามีเลนาคาพาเวียร์ชนิดฉีดออกฤทธิ์ยาวนานอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งฉีดปีละ 2 ครั้ง และกำลังจะได้รับการอนุมัติ และผู้คนต่างเรียกยานี้ว่าตัวเปลี่ยนเกมและสิ่งที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในแง่ของการป้องกันเอชไอวี แต่ยังคงต้องดูกันต่อไปว่าการเข้าถึงยาจะเป็นอย่างไร เปรู บราซิล อาร์เจนตินา และบราซิล อยู่ในบรรดาประเทศที่ถูกละเว้น (ในรายชื่อ 120 ประเทศ) โดยกิเลียด (ผู้ผลิตเลนาคาพาเวียร์) สำหรับการจัดสรรเลนาคาพาเวียร์ที่มีราคาถูกลง แม้ว่า 4 ประเทศนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยทางคลินิกของยานี้ก็ตาม”
นึกถึงความอยุติธรรม: ประชาชนในประเทศที่เข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิกของเลนาคาพาเวียร์เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ยิ่งใหญ่ จะไม่สามารถได้รับผลประโยชน์สูงสุดเมื่อถึงเวลาการนำยานี้ไปใช้จริงในขณะนี้
จิมกล่าวว่า “ผมยังรู้สึกตื่นเต้นกับการใช้ยาสวนล้างทวารหนักที่ใช้ยาเทโนโฟเวียร์เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อสำหรับชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย – การสวนล้างที่ทำความสะอาดร่างกายก่อนมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักและทิ้งยาไว้เพื่อป้องกันการติดเอชไอวี ในการวิจัยระยะที่ 1 ในระยะเริ่มต้นที่ตรวจสอบความปลอดภัยและการยอมรับ ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ระบุว่าพวกเขาต้องการสวนล้างทวารหนักมากกว่าการใช้เพร็พแบบกินทุกวัน”
เขากล่าวว่า “หากการสวนล้างทวารหนักด้วยเพร็พผ่านการวิจัยในระยะที่ 2 และ 3 แล้วได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลและนำไปสู่การวางตลาดแล้ว นั่นจะถือว่าเป็นวิธีการป้องกันที่สอดคล้องกับพฤติกรรมวิธีการแรกที่เรามีอยู่ ซึ่งหมายถึงการใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมที่ผู้คนทำอยู่แล้ว”
เพร็พเป็นวิธีทางการแพทย์สำหรับผู้ที่ไม่มีเอชไอวีใช้ในการป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเอชไอวี
ทางเลือกหนึ่งควรเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้
วิทยาศาสตร์ค้นพบเครื่องมือใหม่ๆเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆในการป้องกันเอชไอวีให้กับผู้คน แต่การที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงเครื่องมือเหล่านี้ทั้งหมดได้เพื่อลดอัตราการติดเอชไอวีนั้นยังคงเป็นเรื่องยากอยู่ จิมกล่าวอย่างถูกต้องว่า “มันเหมือนกับว่าวิทยาศาสตร์พาคุณไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์หนึ่งลูกแล้ว แต่เราก็พบว่ามียอดเขาเอเวอเรสต์อีกลูกหนึ่งสำหรับการ ‘เข้าถึง’ ที่เราต้องปีน และนั่นอาจเป็นยอดเขาเอเวอเรสต์ลูกแรกรุ่นที่สูงกว่าด้วยซ้ำไป”
เขากล่าวเสริมว่า “แม้ว่าผมจะตื่นเต้นมากกับทางเลือกใหม่ ๆ เหล่านี้ที่เราจะมี แต่ผมก็รู้สึกหงุดหงิดเช่นกันที่ทางเลือกเหล่านั้นจะไม่เป็นจริง เว้นแต่ผู้คนจะสามารถเข้าถึงทางเลือกเหล่านี้ได้อย่างแท้จริง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในเกมหากคุณไม่สามารถลงสนามได้ และไม่มีการ ‘เปลี่ยนแปลง’ อะไรเลยหากยานั้นดูดีจริงๆบนกระดาษ และยานั้นยังคงวางอยู่บนชั้นวางของ และผู้คนที่ต้องการมันจริงๆกลับไม่สามารถเข้าถึงมันได้ มันจำเป็นต้องราคาถูก ที่สามารถจ่ายได้ และเข้าถึงได้สำหรับทุกคนในทุกที่ในโลก เราจำเป็นต้องมีกลยุทธ์บางอย่างสำหรับเรื่องนี้”
เราไม่สามารถยึดเอากำไรให้อยู่เหนือกว่าสุขภาพของผู้คนได้
“บริษัทเภสัชกรรมให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นและการทำเงิน แต่การสาธารณสุขไม่ได้เกี่ยวกับผลกำไร ไม่ได้เกี่ยวกับเงิน แต่เกี่ยวกับการเข้าถึงที่มีรากฐานอยู่กับสิทธิสำหรับทุกคน ไม่ว่าพวกเขาจะมีทรัพย์สินเท่าใดก็ตาม ดังนั้นจึงมีผลประโยชน์ทับซ้อนในความสัมพันธ์ดังกล่าว เราต้องการให้ผู้คนเข้าร่วมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่เริ่มต้นจึงมีความสำคัญมาก การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นเรื่องของทุกคน ผมคิดว่าทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคนในชุมชน องค์กร รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ให้ทุน บริษัทเภสัชกรรม เราต้องถือว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบ”
ยกตัวอย่างเลนาคาพาเวียร์ จิมกล่าวว่า “มันไม่จำเป็นต้องถูกตั้งราคาเกิน 40,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีเพื่อได้กำไรเราไม่ได้ขอให้บริษัทยาทำสิ่งนี้ฟรี แต่พวกเขาสมควรได้รับรางวัลที่เกินกำไรอย่างทวีคูณและสูงจนสามารถทำให้ระบบสุขภาพล้มละลายได้หรือไม่ หรือทำให้ระบบสุขภาพต้องบอกว่ามันเกินกำลังทางการเงินที่ระบบจะจ่ายเงินจำนวนนั้นได้ เราไม่สามารถทำให้ระบบสุขภาพของเราล้มละลายเพราะนวัตกรรมเพียงชิ้นเดียวได้ เมื่อเรามีความต้องการด้านสุขภาพหลายอย่างสำหรับชุมชน เราไม่สามารถอุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพงมากขนาดนั้นได้ เราไม่ทราบว่าราคาของเลนาคาพาเวียร์จะลดลงไปเท่าใดจากการออกใบอนุญาตโดยสมัครใจโดยผู้ผลิตยาสามัญซึ่งเป็นบริษัทที่แสวงหากำไรเช่นกัน ดังนั้นจึงมีสิ่งที่ต้องทำมากมายเพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อยานี้พัฒนาและผลิตขึ้นแล้ว จะมีราคาที่ประชาชนสามารถจ่ายได้”
เพร็พได้รับการอนุมัติในปีคศ. 2012 แต่ยังมีหลายประเทศที่แบกภาระเอชไอวีสูงยังไม่ได้นำเพร็พไปใช้ในโครงการสาธารณะได้
มีหลายประเทศเช่นอินเดียที่แม้แต่เพร็พแบบกินทุกวันก็ไม่อยู่ในโครงการของรัฐบาล แม้ว่าจะผ่านมาแล้ว 12 ปีหลังจากที่ได้รับการอนุมัติในปีคศ. 2012 ก็ตาม ลืมเรื่องผลิตภัณฑ์เพร็พใหม่ที่ออกฤทธิ์ยาวนานไปได้เลย เป็นเรื่องแปลกที่การรักษาเอชไอวีในอินเดียเป็นสิ่งที่ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ทางเลือกในการป้องกันเอชไอวีเช่นเพร็พกลับไม่เป็นเช่นนั้น จิมกล่าวว่า “ดังนั้น ในทางหนึ่ง คุณกำลังทำให้ผู้คนเสี่ยงต่อการติดไวรัส แล้วให้พวกเขาได้รับการรักษาตลอดชีวิต แต่ไม่ได้ให้ยา
_____________________________________
[1] Science gifts us new HIV prevention tools โดย Shobha Shukla เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2567 ใน https://www.independent.co.ug/science-gifts-us-newhiv-prevention-tools/