บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ถีงแม้ว่าผู้นำประเทศหลายประเทศทำใจแล้วว่าจะไม่สามารถกำจัดโควิด-19 ออกไปจนหมดสิ้นได้และคนจำเป็นต้องเรียนรู้ กับการใช้ชีวิตอยู่กับโรคนี้ต่อไป แต่มีคนจำนวนหนึ่งที่เป็นโควิด-19 ที่มีอาการป่วยต่างๆยืดยาวกว่าคนที่เป็นโควิดส่วน มาก ผู้ป่วยคนหนึ่งที่เริ่มป่วยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน คศ. 2020 และปัจจุบันยังมีอาการป่วยอยู่บอกกับผู้สื่อข่าวของ medscape ว่าเขามีอาการสมองล้า (brain fog) เสียความทรงจำ และรู้สึกอ่อนล้าเป็นอย่างมาก[1]
โควิดยาวหรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า “ผลตามหลังระยะเฉียบพลันของซาร์สโควีทู” (PASC – post-acute sequelae of SARS-CoV-2) [2]ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายเมื่อคนเริ่มฟื้นตัวหรือดูเหมือนว่าจะฟื้นตัวจากการป่วยโควิด-19 แล้ว แต่ยังคงมีอาการป่วยต่างๆ อีกต่อไป สำหรับบางคนอาการป่วยคงอยู่เป็นเวลา 2 ปีหรือนานกว่านั้น ในขณะที่รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลของประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศยอมรับว่าโควิดยาวเป็นจริงอย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่ สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) ยังไม่มีคำจำกัดความของอาการนี้อย่างเป็นทางการ และในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้รับการอนุมัติ และสาเหตุของมันก็ไม่เป็นที่เข้าใจกัน
สิ่งที่รู้กันคือโควิดยาวเป็นภาวะหลังการติดไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในบางกรณีโควิดยาวอาจทำให้ร่างกายทรุดโทรมอ่อนแออย่างสุดขีดหรือสำหรับบางกรณีเป็นเพียงเรื่องที่น่ารำคาญเท่านั้นเอง และโควิด ยาวมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากพอที่จะทำให้นายจ้าง บริษัทประกันสุขภาพ และรัฐบาลกังวล
โควิดยาวรวมอาการป่วยมากมาย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริการะบุว่าอาการของโควิดยาวรวมถึง
- อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยล้าที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
- อาการที่แย่ลงหลังจากทำกิจกรรมทางร่างกายหรือจิตใจ หรือที่เรียกว่าอาการละเหี่ยหลังการออกแรง (post-exertional malaise) และมีไข้
- หายใจลำบากหรือหายใจถี่
- ไอ
- เจ็บหน้าอก
- หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นแรง (ใจสั่น)
- มีปัญหาเกี่ยวกับการคิด หรือไม่มีสมาธิ (บางครั้งเรียกว่า “สมองล้า” หรือ brain fog)
- ปวดหัว
- ปัญหาการนอนหลับ
- เวียนศีรษะเมื่อยืน
- ความรู้สึกเหน็บชา
- ความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่นหรือรสชาติเปลี่ยนไป
- ความรู้สึกซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
- ท้องร่วง
- ปวดท้อง
- ปวดข้อหรือปวดกล้ามเนื้อ
- ผื่น
- การเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน
เวปไซต์ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบุว่า “ผู้ที่มีอาการหลังโควิด-19 อาจเกิดอาการหรือยังคงมีอาการที่อธิบายและ จัดการได้ยาก…..การประเมินอาการทางคลินิกและผลการตรวจเลือดตามปกติ การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก และการตรวจคลื่น ไฟฟ้าหัวใจอาจมีผลเป็นปกติ อาการต่างๆอาจจะคล้ายกับอาการที่มีการรายงานโดยผู้ป่วยไข้สมองอักเสบที่ทำให้ปวด กล้ามเนื้อเรื้อรัง/อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (ME/CFS – myalgic encephalomyelitis/chronic fatigue syndrome) และโรคเรื้อรัง อื่นๆที่ไม่ค่อยเข้าใจกันดีที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อต่างๆ”
แต่มีแพทย์จำนวนหนึ่งที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับความละเอียดอ่อนของอาการบางอย่าง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคอธิบายใน เวปไซต์ของศูนย์ฯว่า “ผู้ที่มีอาการที่อธิบายไม่ได้เหล่านี้อาจถูกเข้าใจผิดโดยผู้ให้บริการด้านสุขภาพซึ่งอาจมีผลทำให้ต้อง ใช้เวลานานกว่าที่พวกเขาจะได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการดูแลหรือการรักษาที่เหมาะสม”
ส่วนกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Health and Human Services) กล่าวว่าผู้ที่ ให้บริการด้านสุขภาพควรตระหนักว่าโควิดยาวอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้มาก ในคำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิ์ของพลเรือน (civil rights guidance) กล่าวว่า “โควิดยาวสามารถจำกัดกิจกรรมชีวิตที่สำคัญได้เป็นอย่างมาก” และยกตัวอย่างประกอบ เช่น “บุคคลหนึ่งที่เป็นโควิดยาวที่ปอดเสียหายทำให้หายใจได้ไม่เต็มที่ อ่อนเพลีย และผลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โควิดยาวมีผล ทำให้การทำงานของระบบทางเดินหายใจทำงานไม่ได้เต็มที่นอกเหนือจากกิจกรรมที่สำคัญอื่นๆในชีวิต”
โควิดยาวมีผลกระทบต่อคนจำนวนเท่าไร?
การประเมินจำนวนคนที่เป็นโควิดยาวเป็นเรื่องยากเพราะไม่ใช่ว่าทุกคนที่เป็นโควิด-19 จะได้รับการตรวจวินิจฉัย และยัง ไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างเป็นทางการสำหรับโควิดยาว ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประมาณว่า 19% ของผู้ป่วยใน สหรัฐอเมริกาที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 มีอาการของโควิดยาว
การประเมินอื่นระบุจำนวนผู้ที่เป็นโควิดยาวสูงกว่าการประเมินของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค เช่น จากการประเมินของ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเมื่อเดือนกันยายน ปีคศ. 2021 พบว่าผู้ป่วยมากกว่าหนึ่งในสามมีอาการของโควิดยาวในช่วง ระหว่าง 3 เดือนถึง 6 เดือนหลังการวินิจฉัยว่าเป็นโควิด-19 การประเมินอีกโครงการหนึ่งจากประเทศจีนที่เผยแพร่ใน วารสาร Lancet เกี่ยวกับโรคของระบบทางเดินหายใจ (Lancet Respiratory Medicine) เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาระบุ ว่า 55% ของผู้ป่วยโควิด-19 ของการวิจัยในจีนโครงการหนึ่งมีอาการที่ยังคงอยู่อย่างน้อยหนึ่งอาการเมื่อสองปีหลังจากที่ ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบุว่าอายุเป็นปัจจัยหนึ่งของโควิดยาว “ผู้สูงอายุมีแนวโน้มว่าจะเป็นโควิดยาวน้อยกว่าคนที่ มีอายุน้อยกว่า ในปัจจุบันผู้ที่เป็นโควิดยาวที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปีมีจำนวนมากกว่าผู้ที่เป็นโควิดยาวที่มีอายุมากกว่า 80 ปีถึง 3 เท่า” นอกจากนั้นแล้วผู้หญิงและชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากโควิดยาว มากกว่าคนกลุ่มอื่น
ในรายงานที่เผยแพร่ในวารสาร Nature Medicine ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. ซิยาด แอล-อัลลี(Associate Prof. Ziyad Al- Aly, MD) จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอซิงตัน เขียนในรายงานว่าคนจำนวนมากประสบกับผลทางระบบประสาท เช่น อาการท่ีเรียกว่าสมองล้า (brain fog) ผศ. แอล-อัลลีและผู้ร่วมงานวิจัยประเมินว่าชาวอเมริกัน 6.6 ล้านคนมีความ บกพร่องทางสมองที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโควิด
รายงานกล่าวว่า “ความผิดปกติของระบบประสาทบางอย่างที่รายงานในที่นี้เป็นภาวะเรื้อรังที่ร้ายแรงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ คนบางคนไปตลอดชีวิต…เมื่อคำนึงถึงขนาดมหึมาของการระบาดระดับโลกนี้และถึงแม้ว่าจำนวนเต็มที่รายงานในงานวิจัย
นี้จะเป็นจำนวนน้อยก็ตามแต่สิ่งเหล่านี้อาจแปลเป็นบุคคลที่ได้รับผลกระทบจำนวนมากทั่วโลก – และเรื่องนี้มีแนวโน้มที่จะ นำไปสู่ปัญหาด้านโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่เพิ่มมากขึ้น”
สาเหตุของโควิดยาว
ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าสาเหตุที่แท้จริงของโควิดยาวคืออะไร แต่การวิจัยส่วนใหญ่แสดงถึงปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ปัจจัยที่ เป็นที่สงสัยได้แก่ การอักเสบเรื้อรัง ลิ่มเลือดขนาดเล็กๆ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งของสิ่งที่เรียกว่าไวรัสแฝงตัว หรือ ไวรัสที่แฝงตัวเงียบอยู่ในร่างกายของเราโดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาผู้ช่วย ศาสตราจารย์ นพ. เบรนท์ ปาล์มเมอร์ (Associate Prof. Brent Palmer) จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลราโดและ เพื่อนร่วมงานรายงานว่าผู้ที่เป็นโควิดยาวเซลล์ภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าทีเซลล์ (T-cells) มีปฏิกิริยาที่ต่อเนื่องต่อไวรัสซาร์สโควีทู (SARS-CoV-2) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโควิด-19
โควิด-19 ตามลำพังแล้วสามารถทำความเสียหายให้แก่อวัยวะต่างๆได้อยู่แล้ว และโควิดยาวอาจเป็นผลจากความเสียหาย ของอวัยวะที่เกิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในเดือนสิงหาคม นพ. อเล็กซานโด็ส โรเวส (Dr. Alexandros Rovas) จาก โรง พยาบาลมหาวิทยาลัยมุนส์เตอร์ (University Hospital Munster) ในเยอรมนีและเพื่อนร่วมงานรายงานว่าผู้ป่วยที่เป็นโควิด ยาวมีอาการที่บอกถึงความเสียหายของเส้นเลือดฝอย ทีมวิจัยเขียนในรายงานที่เผยแพร่ในวารสาร Angiogenesis (แพทยศาสตร์เกี่ยวกับพัฒนาการของหลอดเลือดใหม่) ว่า “ไม่เป็นที่แน่นอนว่าความเสียหายที่สังเกตได้นั้นจะสามารถฟื้น กลับไปสู่สภาพเดิมได้มากน้อยแค่ไหนและเมื่อไร”
ผู้ที่เป็นโควิดยาวจะมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อไวรัสอื่นๆ เช่น ไวรัสเอบสไตบาร์ (Epstein-Barr) ซึ่งเป็นหลักฐานที่ แสดงว่าโควิด-19 อาจกระตุ้นไวรัสต่างๆที่แฝงตัวสงบนิ่งอยู่ ดร. พญ. อากิโกะ อิวาซากิ (Dr. Akiko Iwasaki) นักภูมิคุ้มกัน วิทยาจากมหาวิทยาลัยเยลและเพื่อนร่วมงานเขียนในรายงานการวิจัยว่า “ข้อมูลของเราชี้ให้เห็นว่าเชื้อโรคที่ยังคงอยู่ใน ร่างกายเกี่ยวข้องกับไวรัสเริมที่แฝงตัวอยู่มีปฏิกิริยาขึ้นอีก และการอักเสบเรื้อรัง” รายงานดังกล่าวเป็นรายงานวิชาการที่ยัง ไม่ผ่านการทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญและมีการเผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
นี่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (autoimmune response) สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “การติดเชื้ออาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มสร้างภูมิต้านทานที่ทำลายตนเอง (autoantibodies) ที่โจมตีอวัยวะต่างๆ และเนื้อเยื่อของบุคคลนั้นเอง”
หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การวิจัยโครงการหนึ่งโดยนักวิจัยของฮาร์วาร์ดพบว่าคนที่รู้สึกเครียด ซึมเศร้า หรือโดด เดี่ยวก่อนจะติดโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะเป็นโควิดยาวในภายหลังสูงกว่าคนอื่น พญ. ซิเวน เว (Dr. Siwen Wang) นักวิจัย จากวิทยาลัยสาธารณสุข ที เฮช ชาน ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard T. H. Chan School of Public Health) กล่าวว่า “ความเศร้าโศกมีความสัมพันธ์กับการเป็นโควิดยาวมากกว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย เช่น ความอ้วน หอบ หืด และความดันโลหิตสูง” นอกจากนี้แล้วในรายงานของการวิจัยนี้ที่เผยแพร่ในวารสาร JAMA Psychiarty ระบุว่า 44% ของผู้ป่วยในการวิจัยนี้ติดเชื้อโควิด-19 หลังจากได้รับการประเมินความเครียดแล้ว
การป้องกันโดยวัคซีน
มีหลักฐานที่แสดงว่าวัคซีนป้องกันโควิดยาวได้ทั้งโดยการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและป้องกันคนที่ติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีด วัคซีนแล้วไม่ให้เป็นโควิดยาวด้วยการวิเคราะห์อภิมาณ (meta-analysis) โครงการหนึ่งที่รวมคนถึง 17 ล้านคนพบหลักฐานว่าวัคซีนอาจลดอาการป่วยรุนแรง ของโควิด-19 หรืออาจช่วยให้ร่างกายกำจัดไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายหลังการติดเชื้อออกไปด้วย
ดร. เซซาร์ เฟอร์นานเดซ เดอ ลา เปนาส (Dr. Cesar Fernandez de las Penas) และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงฮวนกาโลส (King Juan Carlos University) ในเมืองมาดริด ประเทศสเปน เขียนว่า“โดยรวมแล้วการได้รับฉีดวัคซีนมีความสัมพันธ์กับ การลดความเสี่ยงต่างๆหรือโอกาสที่จะเป็นโควิดยาว”
ส่วนทีมวิจัยจากเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี พบว่าผู้ที่ไม่ได้รับฉีดวัคซีนในการศึกษาของพวกเขามีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วย รุนแรงเกือบถึง 3 เท่าและเป็นเวลานานกว่า 4 สัปดาห์เมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ได้รับวัคซีน ดร. พญ. เอเลนา เอซโซ นิ (Dr. Elena Azzolini, MD, PhD) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ของโรงพยาบาลการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ (Humanitas Research ) เขียนในรายงานผลการวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร JAMA ของเดือนกรกฎาคมว่าการได้รับฉีดวัคซีนสองหรือสามโด๊สลด ความเสี่ยงต่อการเข้าโรงพยาบาลเพราะโควิดเป็น 16% หรือ 17% เมื่อเปรียบเทียบกับ 42% สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับฉีดวัคซีน
การรักษาโควิดยาว
เนื่องจากยังไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัยและไม่เข้าใจสาเหตุของโควิดยาว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับแพทย์ที่จะกำหนดวิธีการรักษา ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิดยาวรวมถึงผู้เชี่ยวชาญของศูนย์เฉพาะทางที่จัดตั้งขึ้นในโรงพยาบาลและ ระบบสุขภาพต่างๆในสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ผู้ป่วยเริ่มการรักษาด้วยแพทย์ปฐมภูมิของตนก่อน ก่อนที่จะต่อด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ในวารสารวิชาการแพทย์ของสหราชอาณาจักร The BMJ ศาตราจารย์ ทริช กรีนฮาจท์ (Prof. Trish Greenhalgh) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพปฐมภูมิของมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและเพื่อนร่วมงานเขียนในรายงานว่า “หลัก สำคัญของการรักษาคือการสนับสนุน การดูแลแบบองค์รวม การควบคุมอาการ และการตรวจหาภาวะแทรกซ้อนที่สามารถ รักษาได้…ผู้ป่วยโควิดยาวให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ได้จากแพทย์ปฐมภูมิ แพทย์ทั่วไปสามารถช่วยผู้ป่วยได้เป็นอย่างมาก โดยการให้ความสนใจและฟังผู้ป่วยและตรวจยืนยันประสบการณ์ของพวกเขา”
เท่าที่ผ่านมามีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆที่แสดงว่าโควิดยาวเป็นอาการคล้ายกับภาวะหลังการติดไวรัสอื่นๆ ซึ่งอาจให้ เบาะแสสำหรับการรักษาได้ ตัวอย่างเช่นการวิจัยหลายโครงการแสดงว่าการออกกำลังไม่มีผลช่วยให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้
แต่มีแนวทางอื่นที่ได้ผลในการรักษาซึ่งอาจรวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด การบำบัดด้วยการปรับสภาพของระบบ ประสาทอัตโนมัติ (autonomic conditioning therapy) ซึ่งรวมถึงการฝึกการหายใจ และการฟื้นฟูสมรรถภาพการรู้คิด (cognitive rehabilitation) เพื่อบรรเทาอาการล้า แพทย์ที่รักษาอาจลองใช้ยาสำหรับแก้อาการซึมเศร้า ‘อะมิทริบไท ลีน’ (amitriptyline) เพื่อช่วยเกี่ยวกับปัญหาในการนอนหลับและอาการปวดหัว ยากันอาการชัก ‘กาบาเพน ติน’ (gabapentin) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ชา และอาการทางระบบประสาทอื่นๆ และยาบรรเทาความดันโลหิตต่ำในผู้ ป่วยที่มีกลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า (postural orthostatic tachycardia syndrome หรือ POTS)
ในปัจจุบันสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) ได้ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยที่มีผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เป็นผู้ใหญ่กว่า 8,200 คนแล้ว และมีนักวิจัยมากกว่า 24 คนจากสถาบันการวิจัยหลายแห่งรวมถึงมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สแตน ฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก สถาบันเจ เครก เวนเตอร์ (J. Craig Venter) มหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย โรงพยาบาลเมาท์ซีนาย มหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ และมหาวิทยาลัยเยลประกาศ เมื่อเดือนกันยายนว่าพวกเขากำลังก่อตั้งโครงการวิจัยโควิดยาว (Long COVID Research Initiative) เพื่อเร่งทำการวิจัย เกี่ยวกับเรื่องนี้
กลุ่มการวิจัยนี้ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรเอกชนด้วยมีแผนที่จะทำการตรวจตัวอย่างของเนื้อเยื่อ การศึกษาเกี่ยวกับ ภาพหรือการฉายรังสี และการชันสูตรศพ และจะค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่อาจเกิดขึ้นในเลือดของผู้ป่วย
__________________________-
แหล่งอ้างอิง
CDC: “Long COVID or Post-COVID Conditions.”
CDC National Center for Health Statistics: “Nearly One in Five American Adults Who Have Had COVID-19 Still Have ‘Long COVID.'”
National Institutes of Health: “Long COVID,” “Long COVID symptoms linked to inflammation.”
PLoS Medicine: “Incidence, co-occurrence, and evolution of long-COVID features: A 6-month retrospective cohort study of 273,618 survivors of COVID-19.”
The Lancet Respiratory Medicine: “Health outcomes in people 2 years after surviving hospitalisation with COVID-19: a longitudinal cohort study.”
Angiogenesis: “Persistent capillary rarefication in long COVID syndrome.”
PLoS Pathogens: “SARS-CoV-2-specific T cells associate with inflammation and reduced lung function in pulmonary post-acute sequalae of SARS-CoV-2.” Lancet eClinical Medicine: “Impact of COVID-19 vaccination on the risk of developing long-COVID and on existing long-COVID symptoms: A systematic review.” JAMA Psychiatry: “Associations of Depression, Anxiety, Worry, Perceived Stress, and Loneliness Prior to Infection With Risk of Post– COVID-19 Conditions.” U.S. Department of Health and Human Services: “Guidance on ‘Long COVID’ as a Disability Under the ADA, Section 504, and Section 1557.”
Long COVID Research Initiative:”Introducing LCRI.”
Nature Medicine: “Long-term Neurologic Outcomes of COVID-19.” The BMJ: “Long covid—an update for primary care.”
[1] What We Know About Long COVID So Far โดย Maggie Fox เมื่อ 27 กันยายน 2565 ใน https://www.medscape.com/viewarticle/ 981509?icd=ssl_login_success_221005
[2] นอกจาก PASC แล้ว โควิดยาวหมายถึงกลุ่มอาการโควิด-19 ภายหลังระยะเฉียบพลัน (post-acute COVID-19 syndrome) ด้วย