บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
อัตราการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศนำไปสู่ความพยายามต่างๆที่จะป้องกันการติด เชื้อ เช่น การป้องกันการติดเชื้อด้วยการกินยาปฏิชีวนะหลังจากที่คนมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อแล้ว และการใช้วัคซีนเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อล่วงหน้าก่อนที่จะสัมผัสกับเชื้อ ในวารสารออนไลน์ STAT มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังเนื้อหาต่อไปนี้ [1]
คณะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรได้แนะนำให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น (meningitis B vaccine) เพื่อช่วยลดอัตราการเป็นโรคหนองในที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากคำแนะนำดังกล่าวถูกนำมาใช้จะทำให้สหราช อาณาจักรเป็นประเทศแรกที่ใช้วัคซีนโรคไข้กาฬหลังแอ่นเพื่อการนี้
คณะกรรมการร่วมด้านการฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน (The Joint Committee on Vaccination and Immunization หรือ JCVI) ได้ออกรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน คศ. 2023 ว่าการใช้วัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นที่มีชื่อว่า เบ็กซ์ซีโร (Bexsero) ของจีเอสเค (GSK)ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคหนองใน จะช่วยลดอุบัติการณ์ติดเชื้อที่ยากต่อ การรักษามากขึ้น
ศาสตราจารย์ แอนดรูว์ พอลลาร์ด (Professor Andrew Pollard) ประธานของ JCVI กล่าวว่า “การนำโปรแกรมการฉีดวัคซีน โรคไข้กาฬหลังแอ่น หรือ เมนบี (MenB) เพื่อป้องกันโรคหนองในในอังกฤษถือได้ว่าเป็นคำแนะนำแรกของโลก และน่าจะ ช่วยลดระดับของโรคหนองในได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งขณะนี้สูงเป็นประวัติการณ์”
คณะกรรมการแนะนำว่าควรเสนอวัคซีนป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่นให้กับชายเกย์ ชายไบเซ็กชวล และชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโรคหนองใน ทั้งที่อาจเป็นเพราะว่าพวกเขามีโรคอยู่แล้วหรือเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคหนองในมาก่อน หรือผู้ที่ระบุตัวเองว่ามีพฤติกรรมทางเพศที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากมีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน การติด เชื้อหนองในไม่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกัน คนที่ได้รับการรักษาแล้วสามารถติดเชื้อซ้ำได้อีก
รายงานของ JCVI ระบุว่าการตัดสินใจเสนอวัคซีนให้กับแต่ละบุคคลนั้นควรขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงโดยผู้ เชี่ยวชาญด้านคลินิกสุขภาพทางเพศ รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่าไม่มีหลักฐานว่าการฉีดวัคซีนในขณะที่ติดเชื้ออยู่จะได้ผล หรือไม่ ดังนั้นจึงแนะนำให้งดการฉีดวัคซีนจนกว่าการติดเชื้อจะหายขาด
รายงานดังกล่าวยังเสนอแนะด้วยว่าควรเสนอวัคซีนให้กับบุคคลอื่นที่มีความเสี่ยงแบบเดียวกัน ซึ่งได้แก่หญิงแปลงเพศ ชายตามเพศกำเนิดแต่มีความหลากหลายทางเพศ และบุคคลอื่นที่มีความเสี่ยงสูงโดยไม่คำนึงถึงเพศ รวมทั้งบุคคลที่มีโรค ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ภายในเร็วๆนี้ และพนักงานบริการทางเพศ
โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสองในอังกฤษ โดยมีการวินิจฉัยโรคประมาณ 80,000 รายต่อปี
แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคหนองในคือไนซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) ซึ่งดื้อต่อยาปฏิชีวนะแทบทุกตัวที่ใช้ใน การรักษา การรักษาที่ยังได้ผลดีในปัจจุบันคือยาเซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone) เป็นยาปฏิชีวนะที่ได้รับใบอนุญาตตัวสุดท้าย ที่สามารถรักษาโรคนี้ แต่ก็มีรายงานมากขึ้นว่าเชื้อเริ่มดื้อต่อยาเซฟไตรอะโซนแล้ว
ดร. เคธี่ ซินกา(Katy Sinka) หัวหน้าโครงการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งสหราช อาณาจักรกล่าวว่า “โครงการฉีดวัคซีนจะมีผลกระทบ…ผู้ป่วยโรคหนองในจะได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ โดยที่เรา มั่นใจในความพร้อมที่จะจัดการกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นนี้…เราเห็นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วในปีที่แล้ว ซึ่งเพิ่ม มากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน และโรคหนองในเริ่มดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น การรับมือกับโรคนี้จึงต้องทำอย่างจริงจัง”
คณะ JCVI ยังแนะนำให้ใช้วัคซีนเอ็มพอกซ์ (mpox) ในผู้ที่มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่คณะกรรมการที่ปรึกษาด้าน แนวทางปฏิบัติในการสร้างภูมิคุ้มกันของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนกระทรวงสาธารณสุขและการดูแล สังคมของสหราชอาณาจักรกำลังจะศึกษาคำแนะนำทั้งสองประการนี้และจะต้องอนุมัติก่อนที่ JCVI จะสามารถบังคับใช้คำ แนะนำได้
วัคซีนเบ็กซ์ซีโร (Bexsero) ป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียสายพันธ์หนึ่งแบคทีเรียกลุ่มไนซีเรีย เมนนินไจ- ติดิส (Neisseria meningitidis) แบคทีเรียนี้มีความเกี่ยวพันทางพันธุกรรมอย่างใกล้ชิดกับไนซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) แบคทีเรียทั้งสองชนิดมีลำดับทางพันธุกรรมเหมือนกันประมาณ 80% ถึง 90%
ตามทฤษฎีแล้ว ความคล้ายคลึงกันของแบคทีเรียทั้งสองชนิดนี้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนโรคไข้กาฬหลังแอ่นสามารถให้การ ป้องกันโรคหนองในได้ในระดับหนึ่ง และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาหลักฐานจากสถานการณ์จริงสนับสนุนแนวคิดมีเพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ
มีการวิจัยมากมายที่ทำในหลายประเทศที่ได้ประมาณการว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคหนองในประมาณ 33% ถึง 42%
แต่จนถึงขณะนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่สนับสนุนการใช้วัคซีนป้องกันโรคหนองในนั้นเป็นข้อมูลเชิงสังเกตการณ์ ซึ่งหมายความว่า นักวิจัยได้พิจารณาอัตราโรคหนองในที่เกิดในกลุ่มประชากรที่ได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น เพื่อให้เห็นภาพ ที่ชัดเจนวัคซีนนี้ใช้ป้องกันโรคหนองในได้หรือไม่และได้ผลดีเพียงใด จึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลจากการวิจัยแบบสุ่มที่มี กลุ่มควบคุมที่เปรียบเทียบอัตราโรคหนองในในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนกับคนที่คล้ายกันแต่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
_________________
[1] จาก U.K. recommendation could lead to world’s first use of meningitis vaccine to curb gonorrhea โดย Helen Branswell เมื่อ. 10 พฤศจิกายน 2566 ใน https://www.statnews.com/2023/11/10/u-k-recommendation-could-lead-to-worlds-first-use-of-meningitis-vaccine-to-curb-gonorrhea