บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
การวิจัยหลายโครงการแสดงผลว่าการกินยาปฏิชีวนะหลังการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แต่สำหรับหนองในนั้นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการวิจัยป้องกันหนองในได้ไม่ดีเท่ากับการป้องกันโรคหนองในเทียมและซิฟิลิส เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะแบคทีเรียท่ีทำให้เกิดหนองในเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช ้ ใน The New York Times มีข่าวเกี่ยวกับปัญหาหนองในดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา และระบุในหัวข่าวว่านักวิทยาศาสตร์มีวิธีแก้ไขปัญหานี้แล้ว ดังเนื้อหาด้านล่าง[1]
ข่าวดังกล่าวมีหัวข้อย่อยว่า: ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ โซลิโฟลดาซิน (zoliflodacin) มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับมาตรฐานการ รักษาในปัจจุบัน การพัฒนายาใหม่นี้อาจช่วยเร่งให้มีการพัฒนายาปฏิชีวนะที่จำเป็นอื่นๆ
ข่าว
การวิจัยทางคลินิกขนาดใหญ่พบว่ายาปฏิชีวนะชนิดใหม่ซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษสามารถรักษาโรค หนองในได้อย่างน้อยก็มีประสิทธิภาพเท่ากับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน ยาโซลิโฟลดาซินต้องกินเพียง ครั้งเดียว แต่ยานี้ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในประเทศใดๆ
แต่ยาดังกล่าวได้รับการพัฒนาในลักษณะที่ผู้เชี่ยวชาญหวังว่าจะทำให้คนส่วนมากเข้าถึงยาได้อย่างกว้างขวาง และจะ ป้องกันเชื้อดื้อยาที่กำลังแพร่กระจายมากได้
ทำไมข่าวนี้จึงมีความสำคัญ
โรคหนองในเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ด้วยจำนวนการติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 82 ล้านรายทั่วโลกในปีคศ. 2023 โรค หนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด เชื้อไนซีเรีย โกโนรีไอ(Neisseria gonorrhoeae) แพร่กระจายผ่านการ มีเพศสัมพันธ์ไปยังอวัยวะเพศ ทวารหนัก และลำคอ
ผู้ติดเชื้อประมาณครึ่งหนึ่งไม่แสดงอาการ แต่ในบางราย โรคหนองในอาจทำให้ปวดข้อและปัสสาวะแสบขัดได้ หากไม่ได้ รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากและเป็นหมัน ตาบอดในทารก หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แบคทีเรียได้หาวิธีที่จะหลบเลี่ยงยาปฏิชีวนะเกือบทุกชนิดที่มีอยู่ ทำให้เกิดการดื้อยาอะซิโธรมัยซิน (azithromycin) และเริ่มดื้อต่อยาปฏิชีวนะเซฟไตรอะโซน (ceftriaxone) มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นมาตรฐานการรักษา
การรักษาที่แรงที่สุดคือการฉีดเซฟไตรอะโซนผสมเข้ากับอะซิโธรมัยซิน แต่หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่าโรคหนองในกำลังเกิด การพัฒนาที่จะทำให้มันสามารถหลีกเลี่ยงการรักษาดังกล่าวได้
โซลิโฟลดาซิน(Zoliflodacin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ ซึ่งเพิ่มความหวังว่าแบคทีเรียจะยังคงหวั่นไหวต่อยานี้ต่อไปเป็น เวลานาน ดร. มานิกา บาลาเซการัม (Dr. Manica Balasegaram) กรรมการบริหารของภาคีการพัฒนาและวิจัยยาปฏิชีวนะ ระดับโลก (Global Antibiotic Research & Development Partnership) หรือ จี.เอ.อาร์.ดี.พี. (G.A.R.D.P.) ซึ่งเป็นองค์กรไม่ แสวงผลกำไรที่คอยดูแลการพัฒนายากล่าวว่า “นี่คือยาตัวใหม่ที่สามารถแก้ปัญหาที่ต้องแก้ไขได้อย่างแท้จริง” และเสริมว่า “สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก”
เรื่องราวเบื้องหลัง: วิธีสร้างยาปฏิชีวนะชนิดใหม่อันชาญฉลาด
บริษัทยาส่วนใหญ่ได้ละทิ้งการพัฒนายาปฏิชีวนะเนื่องจากไม่ได้ผลกำไร การพัฒนายาโซลิโฟลดาซินถือว่าเป็นโมเดลใหม่ จี.เอ.อาร์.ดี.พี. ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนจากหลายกลุ่มใน 20 ประเทศและสหภาพยุโรป ได้พัฒนายาดังกล่าวโดยความร่วม มือกับบริษัทเภสัชกรรมของอเมริกาชื่อ อินโนวิว่า สเปเชียลตี้ เธอราพิวติกซ์ (Innoviva Specialty Therapeutics)
องค์กร จี.เอ.อาร์.ดี.พี. สนับสนุนการวิจัยระยะที่ 3 ของยานี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน องค์กร จี.เอ.อาร์.ดี.พี จะถือใบอนุญาต ในการขายยาปฏิชีวนะในประมาณ 160 ประเทศ ในขณะที่ อินโนวิว่า ยังคงสิทธิ์ทางการตลาดสำหรับประเทศที่มีรายได้สูง
รามานัน ลักษมีนารายัน (Ramanan Laxminarayan) นักวิชาการวิจัยอาวุโสจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ซึ่งเป็นประธานคณะ กรรมการองค์กร จี.เอ.อาร์.ดี.พีกล่าวว่า “ผมกล้าพูดได้เลยว่านั่นอาจเป็นวิธีเดียวที่เราจะพัฒนายาปฏิชีวนะได้ในอนาคต เพราะโมเดลแบบเก่านั้นใช้ไม่ได้ผล”
ข้อตกลงดังกล่าวทำให้มั่นใจได้ว่ายาปฏิชีวนะจะมีจำหน่ายและราคาไม่แพงสำหรับผู้คนในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง
ดร. จีนน์ มาร์ราซโซ (Dr. Jeanne Marrazzo) ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ กล่าวว่า “ไม่มีใคร สามารถทำเงินจำนวนมากได้จากการรักษาโรคหนองใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานเพียง ครั้งเดียว” และเสริมว่า “นี่เป็นการก้าวไปข้างหน้าในการแก้ปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการหาแนวทางสำหรับ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่รับประกันผลกำไร”
สิ่งที่เราไม่รู้: ยานี้อาจไม่สามารถรักษาได้ทุกกรณี
การวิจัยทางคลินิกนี้มีผู้เข้าร่วม 930 คนใน 5 ประเทศ ซึ่งถือว่าใหญ่ที่สุดสำหรับการรักษาโรคหนองใน แสดงว่าโซลิโฟลดา ซิน มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหนองในได้เทียบเท่ากับการใช้ยาฉีดเซฟไตรอะโซนผสมเข้ากับอะซิโธรมัยซิน
ดร. มาร์ราซโซ อธิบายว่าการวิจัยนี้ออกแบบมาเพื่อทดสอบว่าโซลิโฟลดาซินทำงานได้ดีเพียงใดในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่จากการวิจัยก่อนหน้านี้ ยานี้ไม่น่าจะได้ผลดีในลำคอและทวารหนัก ดร. มาร์ราซโซ เน้นว่า “สิ่งนี้จะทำให้เรามีวิธีการ รักษาการติดเชื้อที่พบบ่อยมากทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้หญิง”
แต่ผู้ผลิตยามีความหวังมากกว่า ดร.มากาเรต โฆเซียว (Dr. Margaret Koziel) หัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์ของอินโนวิว่า กล่าวว่าจำนวนการติดเชื้อในลำคอและทวารหนักมีน้อยเกินไปที่จะให้ผลลัพธ์ที่แน่ชัด “แต่เรารู้สึกว่าได้กำลังใจมาก เนื่องจากผลที่ได้สามารถเทียบเคียงได้ผลที่ได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ”
สิ่งต่อไป: นักวิทยาศาสตร์จะพยายามป้องกันการดื้อยา
ยิ่งมีการใช้ยากันอย่างแพร่หลาย โอกาสที่เชื้อโรคจะดื้อยาก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ในการวิจัยหลายโครงการพบว่าโซลิโฟล ดาซิน มีประสิทธิผลในการต่อต้านโรคหนองในดื้อยาหลากหลายสายพันธุ์
แต่นั่นไม่ได้กำจัดความเป็นไปได้ที่แบคทีเรียอาจจะพัฒนาเพื่อหลบเลี่ยงยาได้ ข้อตกลงของภาคีจะช่วยลดโอกาสดังกล่าวให้ต่ำที่สุด: องค์กรไม่แสวงผลกำไรมีแผนที่จะบริการจัดการวิธีการจัดสรรยา เพื่อให้แน่ใจว่ายานี้ใช้รักษาโรคหนองในเท่านั้น
_________________
[1] Gonorrhea Is Becoming Drug Resistant. Scientists Just Found a Solution. โดย Apoorva Mandavilli เมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566 ใน https:// www.nytimes.com/2023/11/10/health/gonorrhea-treatment-zoliflodacin.html#