การรักษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ช่วยให้ทารกสามารถควบคุมไวรัสได้โดยที่ไม่ต้องกินยาต้านไวรัส
บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ในการประชุมสมาคมโรคเอดส์นานาชาติด้านวิทยาศาสตร์เอชไอวีครั้งที่ 12 (IAS 2023, the 12th IAS Conference on HIV Science) ที่จัดขึ้นในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลียในช่วงวันที่ 23-26 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมามีการนำเสนอจาก ประเทศอาฟริกาใต้เกี่ยวกับผลของการรักษาเอชไอวีสำหรับเด็กทารกที่เริ่มโดยเร็วตั้งแต่เมื่อทารกยังไม่คลอดที่มีผลทำให้ สามารถควบคุมไวรัสในเลือดของทารกให้อยู่ต่ำมากจนวัดไม่ได้โดยที่ไม่ต้องให้ทารกกินยาต้านไวรัส ในเวปไซต์ของ nam aidsmap มีรายงานเกี่ยวกับการนำเสนอดังกล่าว [1]
การนำเสนอดังกล่าวมีพาดหัวข่าวว่า “การรักษาเอชไอวีตั้งแต่ในครรภ์ช่วยให้ทารกชายชาวแอฟริกาใต้ 5 คนมีระดับไวรัส ในเลือดต่ำจนวัดไม่ได้หลังจากหยุดการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี: ความแตกต่างของปริมาณไวรัสของทารกแรกเกิด ชายและทารกแรกเกิดหญิงอาจแสดงถึงบทบาทที่สำคัญของอินเตอร์เฟอรอน (interferon) เมื่อเกิดการติดเชื้อ” [2]
หญิงตั้งครรภ์ที่กินยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในครรภ์ถึงแม้ว่าจะมีประสิทธิภาพสูง แต่ยังมีทารกจำนวนหนึ่งที่ไม่มากนักที่ยังคงติดเอชไอวีอยู่
การนำเสนอเกี่ยวกับการวิจัยในอาฟริกาใต้ในการประชุมสมาคมโรคเอดส์นานาชาติด้านวิทยาศาสตร์เอชไอวี ครั้งที่ 12 ในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่ายาต้านไวรัสอาจมีผลในการรักษาเด็กที่ติดเอชไอวีตั้งแต่เมื่อ ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาอยู่ ซึ่งในบางกรณีผลที่ได้อาจเป็นผู้มีอายุน้อยที่สามารถควบคุมไวรัสได้หลังการรักษาด้วยยา ต้านไวรัส (young post-treatment controllers) ซึ่งหมายถึงเด็กที่คงมีปริมาณไวรัสที่ตรวจไม่พบได้อย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่ ต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี
เด็กเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มดีสำหรับการรักษาเอชไอวีให้หาย เพราะวันที่พวกเขาได้รับเอชไอวีจะสามารถประเมิน ได้อย่างแม่นยำและสามารถเริ่มใช้ยาต้านได้ทันทีตั้งแต่แรกเกิด นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และ มีเซลล์ภูมิคุ้มกันความทรงจำซีดี 4 จำนวนน้อย ซึ่งเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เป็นแหล่งสะสมของเซลล์ที่มีเอชไอวีซ่อนอยู่
การวิจัยนี้นำเสนอโดยพญ. กาเบรียลา ครุมเฮาต์ (Dr. Gabriela Cromhout) จากมหาวิทยาลัยควาซูลู นาเทาล์ (KwaZulu-Natal) ซึ่งพบหลักฐานที่แสดงถึงความแตกต่างเรื่องเพศเมื่อเกี่ยวกับการควบคุมไวรัสหลังการรักษาด้วยยาต้าน ไวรัส ในบรรดาคู่แม่ลูก 281 คู่ที่เข้าร่วมการวิจัย มีทารก 5 คนที่มีปริมาณไวรัสที่ต่ำจนวัดไม่ได้อย่างต่อเนื่องหลังหยุดยา ต้าน ทั้งห้าคนเป็นเด็กผู้ชาย ถึงแม้ว่า 60% ของทารกในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นเด็กผู้หญิงก็ตาม
ในทศวรรษที่ผ่านมา มีรายงานเกี่ยวกับเด็กหลายคนที่เป็นผู้ที่สามารถควบคุมไวรัสได้หลังการรักษาด้วยยาต้าน ไวรัส (หรือ post treatment controller) เด็กเหล่านั้นสามารถคงปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับที่วัดไม่ได้เป็นเวลาหลายเดือนถึงหลายปีหลังการรักษา และโดยมักเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสคอร์สสั้นๆเท่านั้น ดังเช่นเด็กหญิง มิสซิสซิปปี (Mississippi baby) ในปีคศ. 2012 ที่มีปริมาณไวรัสที่วัดไม่ได้อยู่เป็นเวลาสองปีหลังหยุดยาต้าน เช่นเดียวกัน เด็กชายชาวแอฟริกาใต้ซึ่งในปีคศ. 2022 ได้หยุดกินยาต้านไวรัสมาแล้วเป็นเวลา 12 ปีและมีปริมาณไวรัสที่วัดไม่ได้ ซึ่งใน ขณะนั้นเด็กคนนี้อายุเพียง 13 ปีเท่านั้น และยังมีอีกสองสามกรณีจากฝรั่งเศสและเท็กซัส
พญ. ครุมเฮาต์ และทีมการวิจัยตั้งสมมติฐานว่าการควบคุมไวรัสหลังการรักษาในเด็กอาจมีมากกว่าที่คิดกัน พญ. ครุมเฮาต์ และทีมงานจึงทำการวิจัยเพื่อติดตามกลุ่มการศึกษาในระยะยาว (longitudinal cohort study) ซึ่งปัจจุบันมีแม่และ ทารก 281 คู่ที่ทารกเกิดมาพร้อมกับเอชไอวี มีการติดตามทารกตั้งแต่แรกเกิด การวิจัยนี้เริ่มต้นในปีคศ. 2015 และดำเนิน ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
พญ. ครุมเฮาต์ บอกกับเอดส์แมพว่า “จากการศึกษาของเราในเรื่องการแพร่เชื้อพบว่า ประมาณ 2 ใน 3 เป็นแม่ที่ เพิ่งตรวจพบว่าตนมีเอชไอวีในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งแม่จะได้รับยาต้านเอชไอวีทันทีในระหว่างตั้งครรภ์ บางครั้งอาจล่าช้าจน แม่ท้องแก่ใกล้คลอดหรือในระหว่างคลอด ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 3 มีผลตรวจเป็นบวกก่อนการตั้งครรภ์ แต่เนื่องจากปัญหา การกินยาต้านไม่ต่อเนื่อง จึงไม่สามารถกดการขยายตัวของไวรัสได้อย่างเต็มที่ตลอดการตั้งครรภ์”
ทารกทุกคนได้รับยาต้านเมื่อแรกเกิด แต่ส่วนใหญ่เคยได้รับมาก่อนในระดับหนึ่งโดยผ่านแม่: 92% ของทารกได้ รับยาต้านจากแม่ก่อนคลอดโดยผ่านทางรก ปริมาณไวรัสเฉลี่ยในทารกแรกเกิดที่ติดเอชไอวีเท่ากับ 155,000 ก่อนที่ โครงการการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะเริ่มต้นในอาฟริกาใต้ในปีคศ. 2005 ณ ปัจจุบันการให้ยาต้านไวรัสแก่หญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้ปริมาณเฉลี่ยของไวรัสในทารกแรกเกิดเท่ากับ 4,600 ในขณะที่ 14% ของทารกมีปริมาณไวรัสที่ตรวจไม่พบ ซึ่งทั้งนี้ เป็นระดับไวรัสที่วัดก่อนที่จะให้ยาต้านไวรัสแก่ทารกโดยตรง
พญ. ครุมเฮาต์ กล่าวต่อว่า: “ดิฉันเชื่อว่านี่เป็นหนึ่งในการวิจัยแรกๆที่อาจบอกถึงผลของยาต้านไวรัสที่มีต่อทารก ในครรภ์และผลต่อการควบคุมไวรัสหลังการรักษา”
ในช่วงแรกๆของการวิจัย สูตรยาที่ให้แม่และทารกเป็นสูตรที่ใช้ยาโลปินาเวียร์ (lopinavir) เป็นหลักและเสริมด้วย ริโทนาเวียร์ (ritonavir) จากนั้นในเดือนเมษายน คศ. 2020 ได้เปลี่ยนไปเป็นยาโดลุเทกราเวียร์ (dolutegravir) การเปลี่ยน มาใช้โดลุเทกราเวียร์มีผลทำให้การกดไวรัสดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเด็กผู้ชาย ปริมาณเฉลี่ยของไวรัสของทารกเมื่อ แรกเกิดอยู่ที่ 6,950 สำหรับยาโลปินาเวียร์ และลดลงมาอยู่ที่ 1,700 เมื่อเปลี่ยนเป็นโดลุดเทกราเวียร์ และต่ำกว่า 1,000 ในเด็กผู้ชาย มีเด็กเพียง 10% เท่านั้นที่มีปริมาณไวรัสเมื่อวัดครั้งแรกต่ำกว่า 20 ในโลปินาเวียร์ (8% ในเด็กผู้หญิง 12% ในเด็กผู้ชาย) และเพิ่มเป็น 24% ในโดลูเทกราเวียร์ (16% ในเด็กผู้หญิง 33% ในเด็กผู้ชาย)
สำหรับวินัยในการกินยาต้านไวรัสของแม่และทารกหลังคลอดนั้น นอกจากการตรวจวัดระดับยาแล้ว ยังมีการตรวจลักษณะเฉพาะของไวรัสที่อ่อนไหวต่อสารต่อต้านไวรัสตามธรรมชาติที่เรียกว่าอินเตอร์เฟอรอนประเภทหนึ่ง (inferferons type I) และดูความสามารถของไวรัสในการเพิ่มจำนวนให้มากขึ้น (ความสามารถในการขยายพันธุ์ของไวรัส ในห้องปฏิบัติการ)
เมื่อสามสิบหกเดือนหลังคลอด 37% ของแม่และทารกได้ถอนตัวออกจากการวิจัย จากแม่และทารก 63% ที่เหลือ มากกว่าหนึ่งในสาม (36.5% ของจำนวนที่เหลือ หรือ 23% ของจำนวนเดิม) มีปริมาณไวรัสที่ตรวจพบได้อย่างต่อเนื่องไม่ เปลี่ยนแปลง แต่ส่วนที่เหลืออีก 63.5% (40% ของจำนวนเดิม) สามารถกดไวรัสได้ และเกือบครึ่งหนึ่ง (47.5 หรือ 19% ของ จำนวนเดิม) มีปริมาณไวรัสที่ตรวจไม่พบอย่างต่อเนื่อง (ต่ำกว่า 20) โดยไม่มีการเพิ่มจำนวนเพียงชั่วคราว หรือ บลิพ (blips) เลย จะเห็นได้ว่าปริมาณไวรัสที่ตรวจนั้นเกี่ยวข้องกับวินัยในการกินยาหลังคลอด และไม่ใช่ปริมาณไวรัสเมื่อแรกเกิด
มีเพียงทารก 5 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นเด็กชาย ที่กดปริมาณไวรัสให้ต่ำกว่า 20 แม้ว่าจะไม่ใช้ยาต้านไวรัสใดๆเลย หรือ น้อยมากตั้งแต่สองเดือนแรกหลังคลอด จนถึงตอนนี้พวกเขามีปริมาณไวรัสในระดับที่ตรวจไม่พบโดยที่ไม่ได้กินยาต้าน ไวรัสมาเป็นเวลาตั้งแต่ 3 ถึง 19 เดือน
เด็กชายที่ไม่ได้ใช้ยาต้านไวรัสได้รับการตรวจหาแอนติบอดีต่อเอชไอวีเมื่ออายุ 18, 24 และ 37 เดือนหลังคลอด โดยใช้วิธีตรวจแบบเวสเทอร์น บล็อท (Western blot) วิธีการตรวจนี้จะตรวจจับชิ้นส่วนโปรตีนของเอชไอวีและมีความเฉพาะ เจาะจงมาก (ผลบวกลวงเพียงเล็กน้อย) แต่อาจใช้เวลานานเล็กน้อยในการตรวจหาแอนติบอดีต่อเอชไอวี โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในผู้ที่มีปริมาณไวรัสต่ำ จากการตรวจเวสเทอร์น บล็อท สองครั้งแรกเด็กชายคนนี้ได้ผลเป็นลบ แต่ในสัปดาห์ที่ 37 ตรวจได้ผลบวกของแอนติบอดีต่อชิ้นส่วนโปรตีนของเอชไอวีทั้งห้าโปรตีนถึงแม้ว่าจะตรวจไม่พบไวรัสในปริมาณที่วัดได้ ก็ตาม
พญ. ครุมเฮาต์ คิดว่า “สิ่งนี้อาจบ่งชี้ว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของไวรัสในช่วงเวลา 37 เดือนอยู่บ้าง แต่ทั้งนี้อาจ เป็นไวรัสที่บกพร่อง หรือเป็นเพียงปริมาณไวรัสที่เพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ได้เก็บตัวอย่างเลือด”
เด็กที่มีปริมาณไวรัสตำ่วัดไม่ได้เป็นเวลานานที่สุด หยุดกินยาต้านเมื่ออายุ 40 เดือน (3 ปี 4 เดือน) และตอนนี้อายุ ย่างเข้า 5 ขวบ อีกสี่คนกลับมากินยาต้านใหม่อีกครั้ง แต่เด็กสามคนเข้าร่วมการวิจัยที่รวมการหยุดการรักษาด้วยยาต้าน อย่างมีการวิเคราะห์ (Analytic Treatment Interruption หรือ ATI) ซึ่งพวกเขาจะถูกหยุดยาต้านภายใต้การตรวจเฝ้าระวัง อย่างดีตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในประเภทของไวรัสที่เด็กหญิงและเด็กชายได้รับมา เอชไอวีในเด็กผู้หญิงมีแนว โน้มที่จะดื้อไม่ตอบสนองหรืออย่างน้อยก็มีความไวต่ออินเตอร์เฟอรอนชนิดที่ 1 น้อยกว่า ซึ่งหมายความว่าภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดเหล่านี้จะทำงานไม่ค่อยได้ผลกับไวรัส (และอาจล้มเหลวตั้งแต่แรกแล้วเมื่อได้รับเอชไอวี) และอีกประการหนึ่ง ไวรัสของเด็กหญิงมีความสามารถในการขยายตัวเพิ่มค่อนข้างต่ำ
ไวรัสเอชไอวีของเด็กผู้ชายมีแนวโน้มที่จะไวต่ออินเตอร์เฟอรอนประเภท 1 ซึ่งหมายความว่าภูมิคุ้มกันจะทำงานได้ ดีต่อไวรัส ในทางกลับกันไวรัสมีความสามารถในการขยายตัวเพิ่มสูง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไวรัสเหล่านี้เท่านั้นที่สามารถผ่าน การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งของเด็กชายไปได้ อย่างไรก็ตามในเด็กผู้ชายที่ไม่ได้ยาต้านและตรวจหาปริมาณ ไวรัสไม่ได้ มีสองคนที่ไวรัสมีความสามารถในการขยายตัวเพิ่มต่ำมาก ส่วนอีกสองคนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (คนที่ห้าไม่ได้รับการ ทดสอบ)
พญ. ครุมเฮาต์ กล่าวกับเอดส์แมพ ว่า “เหตุผลที่เรารู้สึกว่าการวิจัยของเรามีความสำคัญ เพราะรายงานเกี่ยวกับผู้ ที่สามารถควบคุมไวรัสได้หลังการรักษาที่เป็นเด็กเป็นรายงานเกี่ยวกับกรณีเดียวเท่านั้น แต่การวิจัยของเรานั้นรวมเด็กห้าคน”
“ไวรัสของเด็กชายเหล่านั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในการตอบสนองต่ออินเตอร์เฟอรอนและความสามารถในการขยายตัวเพิ่ม และสมมติฐานก็คือลักษณะเฉพาะของไวรัสเหล่านี้ถูกผลักดันจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่แตกต่าง กันไปตามเพศของทารกในช่วงที่ทารกยังมีอายุน้อย
“โดยธรรมชาติแล้วเด็กผู้หญิงในครรภ์จะผลิตอินเตอร์เฟอรอน ประเภท 1 มากกว่าเด็กผู้ชาย ดังนั้นจึงเกิดการกระ ตุ้นซีดีสี่ ทีเซลล์ (CD4 T-cells) มากขึ้นซึ่งเป็นเป้าหมายของเอชไอวี และเนื่องจากเด็กผู้ชายผลิตอินเตอร์เฟอรอน ประเภท 1 ได้น้อยกว่า จึงไม่เป็นการเลือกไวรัสที่ดื้อต่ออินเตอร์เฟอรอนเท่านั้น ดังนั้นพวกเขาจึงได้รับไวรัสที่ไวต่ออินเตอร์เฟอรอน และหากไวรัสเหล่านั้นมีความไวต่ออินเตอร์เฟอรอน ไวรัสที่มีความสามารถในการขยายตัวสูงเท่านั้นที่จะอยู่รอดได้ ในเด็ก ผู้ชายบางคนไวรัสที่อ่อนไหวเหล่านี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับสิ่งที่เราเห็นในเด็กที่เป็น “ผู้ที่สามารถควบคุม ไวรัสได้หลังการรักษา” ในการวิจัยของเรา”
หากการตอบสนองของอินเตอร์เฟอรอนประเภท 1 มีอิทธิพลต่อชนิดของไวรัสที่เด็กผู้ชายได้รับ การรักษาที่ทำให้ การตอบสนองนี้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อาจทำให้ช่วงของไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อได้แคบลงและมีผลในการป้องกัน อย่างน้อยใน กรณีของเด็ก
_________________
[1] HIV treatment in the womb helped five South African baby boys to stay undetectable off therapy โดย Gus Cairns เมื่อ 24 กรกฎาคม 2566 ใน https:// www.aidsmap.com/news/jul-2023/hiv-treatment-womb-helped-five-south-african-baby-boys-stay-undetectable-therapy
[2] อินเตอร์เฟอรอน (interferon) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการติดเชื้อที่เกี่ยวกับไวรัส