การใช้ชีวิตในยุคโรคระบาดใหญ่ระดับโลก ตั้งแต่โควิด-19 ไปจนถึงฝีดาษลิง โปลิโอ โรคเอ็กซ์

บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ

ในวารสารวิชาการของสมาคมแพทยศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา (The Journal of the American Medical Association หรือ JAMA) มี บทความโดยศาสตราจารย์นิติศาสตร์ ลอว์เรนซ์ โอ. กอสติน (Lawrence O. Gostin, JD) จากศูนย์กฎหมายมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University Law Center) เกี่ยวกับบทเรียนที่ได้จากโรค ระบาดระดับโลกของโควิด-19 และโรคระบาดอื่น ดังเนื้อหาดังต่อไปนี้

การฟื้นกลับมาของโรคโปลิโออีกครั้ง ในขณะที่การระบาดของ ฝีดาษลิงได้เพิ่มสูงขึ้นและโควิด-19 ยังคงทำความเสียหายอย่างใหญ่ หลวงอยู่ต่อไป แสดงถึงภัยคุกคามที่รุนแรงมากขึ้นที่เกิดจากโรคติดต่อ และความเปราะบางของมนุษยชาติ โควิด-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 15 ล้านคนทั่วโลกในปีที่แล้ว และยังคงผู้ที่เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คนต่อวัน รายงานจำนวนผู้ป่วยจากโรคฝีดาษลิงมีมากกว่า 60,000 รายใน 103 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ในอดีตไม่เคยมีกรณีฝีดาษลิงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเลย

ในทางตรงกันข้ามการรณรงค์ฉีดวัคซีนทำให้โรคโปลิโอเกือบถูกกำจัดไปจนหมดสิ้น และคงเหลือแต่โรคโปลิโอสายพันธ์ธรรมชาติ (wild polio) ที่แพร่ระบาดเฉพาะถิ่นในอัฟกานิสถานและปากีสถานเท่านั้น อย่างไรก็ตามโรคโปลิโอที่ เกิดจากวัคซีน (จากวัคซีนชนิดที่ให้ทางปากที่ทำจากไวรัสโปลิโอที่ยังมีชีวิตและถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง) ที่ถูกค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ในนิวยอร์ก ลอนดอน และเยรูซาเล็ม ในตัวอย่างน้ำเสียแสดงว่ามีไวรัสโปลิโอที่เกิดจากวัคซีนหมุนเวียนอยู่อย่างกว้าง ขวาง ซึ่งทำให้องค์การอนามัยโลกเพิ่มสหรัฐอเมริกาเข้าไปในรายชื่อขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับ 30 ประเทศที่มีการ ระบาดของโรคโปลิโออยู่อย่างเป็นทางการ

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้โควิด-19 ฝีดาษลิง และโปลิโอเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โรคทั้งสามนี้มีความหลากหลายอย่างน่าทึ่ง—ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โรคระบาดของสมัยโบราณ (โปลิโอ) และโรคเฉพาะถิ่นในบางประเทศในอาฟริกา (ฝีดาษลิง) แต่แรงผลักดันต่างๆของโลกผลักดันให้ทั้ง 3 โรคก่อให้เกิดผล สะสมอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพและสังคม

ความเสี่ยงจากโรคระบาดต่างๆมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆซึ่งคาดว่าโรคระบาดครั้งใหม่จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า [1] การระบาดใหญ่ระดับโลกทำให้การพัฒนามนุษย์และเศรษฐกิจแย่ลง เหตุใดโรคระบาดระดับโลกจึงเกิดบ่อยขึ้น และเราจะเรียนรู้ถึงบท เรียนอะไรได้บ้าง?

Lawrence O. Gostin Professor of Global Health and Director, O'Neill Institute, Georgetown University

ปัจจัยผลักดันของโรคระบาดระดับโลก
เชื้อโรคที่แพร่จากสัตว์สู่คน (zoonotic pathogens) เช่น เชื้อที่ก่อให้เกิดเอชไอวี โรคซาร์ส (SARS) อีโบลา (Ebola) และฝีดาษลิง (Monkeypox) และโควิด-19 รวมกันแล้วคิดเป็น 60% ของโรคติดต่อทั้งหมด และ 70% ของโรคติดต่อที่เกิดขึ้น ใหม่ การแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนจะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น และการระบาดที่ตามมาก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมากขึ้น2 เนื่องจากพฤติกรรมของมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์บุกรุกสภาพแวดล้อมของสัตว์ป่าในอัตราที่น่าตกใจ3 เพื่อการเกษตร การทำ เหมืองแร่ และการขยายตัวของเมือง ระบบนิเวศจะถูกทำลายและสัตว์ป่าหลายชนิดถูกขับไล่ออกจากที่อยู่เดิมของมันและ ทำให้สัตว์เหล่านั้นต้องอยู่ภายใต้ความกดดันเป็นอย่างมาก การอยู่รวมกันของสัตว์ป่า มนุษย์ และปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นเป็นการ เพิ่มการแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่คน การทำปศุสัตว์ที่มีความหนาแน่นสูงและการลักลอบค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศมี ความเสี่ยงสูง หลักฐานที่สะสมบ่งชี้ว่า โรคซารส์โควีทู (SARS-CoV-2) น่าจะมาจากตลาดค้าส่งอาหารทะเลของเมืองหู หนาน (Huanan)

การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่เป็นผลกระทบจากมนุษย์เพิ่มการแพร่กระจายของไวรัสที่ข้ามสายพันธุ์[ระหว่าง สัตว์อื่นๆและมนุษย์]อย่างมาก เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้ที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิดลดลง4 สัตว์สายพันธุ์ต่างๆซึ่งเป็น แหล่งอาศัยของเชื้อโรคต้องอพยพไปยังพื้นที่ที่อากาศเย็นกว่า หรืออาจอพยพข้ามทวีปได้ ค้างคาวซึ่งพบว่ามีไวรัสโคโรนา หลายชนิดอาศัยอยู่สามารถเดินทางได้ไกล ภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงยังทำให้พาหะของของเชื้อโรคต่างๆขยาย ไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใหม่ๆได้ทำให้เกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะ

การขยายตัวของพื้นที่เมืองทำให้ความหนาแน่นของประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ โรคจากคนสู่คน การขนส่งที่รวดเร็วและการอพยพของผู้คนจำนวนมากทำให้เกิดการระบาดไปทั่วโลก ธนาคารโลก ประมาณการว่า 56% ของประชากรโลก หรือ 4.4 พันล้านคน อาศัยอยู่ในเมือง และ 70% จะกลายเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง ภายในปีค.ศ. 2050 การอพยพย้ายถิ่นของผู้คนจำนวนมากที่เกิดจากความไม่มั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความขัดแย้งและสงครามเกิดขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ สำนักงานเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศ (International Migration Office) ประมาณว่าผู้อพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศในปีคศ. 2020 มีจำนวน 281 ล้านคนซึ่งคิดเป็น 3.6% ของประชากรทั่วโลก

บทเรียนที่ได้
องค์การอนามัยโลกระบุรายชื่อเชื้อโรคที่มีความสำคัญสูง 10 ชนิด ได้แก่เช่น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสอีโบลา และ ไวรัสซิกา รวมถึงโรคเอ็กซ์ (disease X) ซึ่งเป็นการสงวนตำแหน่งไว้สำหรับเชื้อโรคที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก ความพยายามที่จะ จัดการกับการระบาดของโรคติดต่อพบจุดอ่อน 5 ด้าน ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ระบบสุขภาพ
กฎข้อบังคับเกี่ยวกับสุขภาพระหว่างประเทศ (International Health Regulations – IHR) กำหนดให้ประเทศต่างๆพัฒนา ศักยภาพของระบบสุขภาพที่เป็นหลักของประเทศ (เช่น การเฝ้าระวังโรค ห้องปฏิบัติการ ทรัพยากรมนุษย์ และการสื่อสาร เกี่ยวกับความเสี่ยง และอื่นๆ) ในเดือนมีนาคม คศ. 2020 องค์การอนามัยโลกประเมินว่าบุคลากรทางการแพทย์ต้องการ หน้ากากอนามัย 89 ล้านชิ้นและถุงมือ 76 ล้านชิ้นต่อเดือน การขาดแคลนเป็นอย่างมากของเครื่องมือป้องกันเหล่านี้ทำให้ผู้ ที่ทำงานแนวหน้า “มีอุปกรณ์ที่จำเป็นไม่เพียงพออย่างน่ากลัว” และประเทศที่มีรายได้น้อยต้องดิ้นรนเป็นอย่างมากเพื่อ แข่งขันกับประเทศอื่นๆในตลาดโลก ทั่วโลกจำเป็นต้องใช้เงินประมาณ 124 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างขีดความสามารถ ด้านความปลอดภัยสำหรับสุขภาพที่มีประสิทธิภาพในระดับประเทศ เงินจำนวนนี้น้อยกว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้จ่ายไป เพื่อตอบสนองต่อปัญหาโควิด-19 และการฟื้นฟูที่รวมทั้งหมดประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์

ความร่วมมือระดับโลก
โควิด-19 ทำให้ความร่วมมือและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทั่วโลกแตกร้าว ซึ่งรวมถึงการเตือนภัยล่วงหน้าที่มีข้อ บกพร่องและการสืบสวนเกี่ยวกับต้นตอของโควิด-19 ที่ไม่สมบูรณ์ ประธานาธิบดีทรัมป์ในขณะนั้นประกาศว่าสหรัฐอเมริกา จะถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก ในขณะที่องค์การอนามัยโลกไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญและตัวอย่างของไวรัส จากจีนได้

ความเสมอภาค
ประเทศที่มีรายได้สูงต่างกักตุนเครื่องมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล วัคซีน และยารักษาโรค ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมะครอนในเดือนพฤศจิกายน 2021 ผู้คนเกือบ 70% ในประเทศที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน แต่มีเพียง 8% ของผู้คนในประเทศที่มีรายได้น้อยที่ได้รับฉีดวัคซีนเพียงแค่ 1 เข็ม เท่านั้น และเพียง 25% ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอาฟริกาเท่านั้นที่ได้รับฉีดวัคซีนครบ สิ่งที่สะท้อนถึงสถานการณ์เกี่ยว กับโควิด-19 คือการระบาดของฝีดาษลิง ประเทศที่มีรายได้สูงกักตุนวัคซีน การตรวจ และเวชภัณฑ์สำหรับโรคฝีดาษลิงที่มี อยู่อย่างจำกัดอีก ในสหรัฐอเมริกา อายุเฉลี่ยของคนผิวขาวลดลง 2.4 ปีในปี 2020 และ 2021 เทียบกับการลดลง 4.2 ปีและ 4.0 ปีสำหรับคนผิวดำและคนเชื้อชาติชาติลาตินอเมริกันตามลำดับ และ 6.6 ปีสำหรับชาวอเมริกันอินเดียน/อลาสก้า ใน เดือนสิงหาคม คศ. 2022 ประชากรผิวดำและชาวลาตินอเมริกันเป็นโรคฝีดาษลิงสูงเป็นสองเท่าของประชากรทั่วไป

การสื่อสารเกี่ยวกับสุขภาพ
ความไว้วางใจในหน่วยงานด้านสาธารณสุขตกฮวบลงในช่วงโควิด-19 และการสื่อสารด้านสุขภาพที่ไม่ดีทำให้ความไว้วาง ในหน่วยงานสุขภาพแย่ลงไปอีก ผู้สื่อสารที่เชื่อถือได้และข้อมูลที่ถูกต้องก็มีความสำคัญต่อโรคโปลิโอเช่นกัน เนื่องจากใน บางชุมชนผู้คนยังมีความลังเลใจในการรับฉีดวัคซีนสูง กรณีของโรคฝีดาษลิงที่ส่วนใหญ่เป็นชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย การ หลีกเลี่ยงการตีตราเป็นสิ่งสำคัญ ความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดเอชไอวี/เอดส์ เช่น เพ็พฟาร์ (PEPFAR หรือแผนฉุกเฉินเพื่อการบรรเทาทุกข์ด้านเอดส์ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ) และกองทุนโลกเพื่อต่อสู้กับ โรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย (Global Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria) ให้บทเรียนเกี่ยวกับการมีส่วน ร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีประสิทธิภาพ

การรณรงค์ฉีดวัคซีนสำหรับผู้คนวัยเด็ก
การกลับมาอีกครั้งของโรคโปลิโอเน้นย้ำว่าความพยายามในการฉีดวัคซีนจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง ในช่วงโควิด-19 เด็ก 25 ล้านคนพลาดการฉีดวัคซีนเป็นประจำ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 30 ปี

4 ขั้นตอนสำหรับอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
โรคระบาดระดับโลกจำเป็นต้องมีแผนการที่กว้างไกลที่พร้อมดำเนินการทันที 4 ด้าน คือ

  • การป้องกัน การป้องกันโรคระบาดเริ่มต้นด้วยการระบุแหล่งที่มาที่สำคัญของเชื้อโรคของการแพร่เชื้อโรคจากสัตว์สู่คน และลดการล้น ทะลักข้ามสายพันธ์ุ (spillovers) วาระสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health agenda) ที่เป็นการทำงานร่วมมือกันจะทำให้เกิด แนวทางการทำงานของหน่วยงานที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่เป็นเรื่องที่แยกออกจากกันไม่ได้ถูกผนวกอย่างเป็นทางการในยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน/องค์กร ขั้นตอนสำคัญรวมถึง การอนุรักษ์ ดูแล และใช้ประโยชน์จากที่ดิน การลดกิจกรรมของมนุษย์ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่ยังมีสภาพดีอยู่ และการฟื้นฟูระบบนิเวศที่ เสื่อมโทรม ประเทศต่างๆควรห้ามการค้าสัตว์ป่าที่มีชีวิต ปัจจุบันการค้าบางอย่างเท่านั้นที่ผิดกฎหมาย การแพร่ระบาดของ สัตว์สู่คนสามารถลดลงได้โดยการรักษาสัตว์ให้แข็งแรงด้วยการเพาะเลี้ยงสัตว์แบบที่ยั่งยืนและที่มีมนุษยธรรม
  • การเตรียมพร้อม การขยายโครงการศึกษาพันธุกรรมไวรัสของโลก (Global Virome Project) อาจจะระบุไวรัสที่มีโอกาสสูงที่จะข้ามสายพันธุ์ และแพร่ระบาดสู่คนได้ ซึ่งจะช่วยในการพัฒนามาตรการเตรียมรับมือ การตรวจสอบน้ำเสียและพันธุกรรมควรเป็นแนว ปฏิบัติมาตรฐาน การลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเพื่อต่อต้านเชื้อก่อโรคที่มีความเสี่ยงสูงทำให้การตอบสนองต่อโรค ระบาดสามารถทำได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการระบาด การร่วมกันใช้พัสดุ/อุปกรณ์ต่างๆที่สำรองไว้ร่วมกันในระดับโลก ศูนย์กลางการผลิตระดับภูมิภาค และการจัดสรรพัสดุ/อุปกรณ์อย่างเท่าเทียมกันเพื่อใช้ในการตอบโต้ต่อโรคระบาดจะช่วย ยกระดับการเตรียมพร้อมและความเท่าเทียมกันได้
  • การตอบสนอง การป้องกันที่มีประสิทธิภาพและระบบสุขภาพที่แข็งแกร่งจะช่วยปรับปรุงศักยภาพในการตอบสนองต่อโรคระบาด รัฐบาล ต่างๆควรใช้ช่วงเวลาระหว่างการแพร่ระบาดในการสร้างศักยภาพและสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านชีวการแพทย์เพื่อตอบ สนองต่อเชื้อโรคที่มีลำดับความสำคัญสูง รวมถึงเชื้อโรคที่ไม่รู้จัก ธรรมาภิบาลก็มีความสำคัญเช่นกันสำหรับการติดตาม เฝ้าระวังและความรับผิดชอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการละเมิดกฎข้อบังคับเกี่ยวกับสุขภาพระหว่างประเทศ ดังที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19
  • การฟื้นตัวและความยืดหยุ่นภายหลังโรคระบาด โรงเรียนจำเป็นต้องกู้คืนความสูญเสียทางการเรียน ระบบสาธารณสุขต้องฟื้นฟูการดูแลรักษาที่หยุด ชะงักไป และรัฐบาลต้องขยายเครือข่ายความมั่นคงทางสังคม การเสริมสร้างระบบสุขภาพและบริการทางสังคมสามารถ ป้องกันผู้คนไม่ให้ประสบกับปัญหาความยากจน ทำให้ช่วงการมีอายุของคนไม่ตกต่ำลง และป้องกันการสูญเสียทักษะด้าน การศึกษา ประเทศที่มีรายได้สูงควรจัดหาเงินทุนเพื่อรับประกันการฟื้นตัวของประเทศรวมถึงประเทศที่ยากจนที่สุดด้วย

โลกกำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนของธรรมาภิบาลด้านสุขภาพระดับโลก สมัชชาอนามัยโลกได้ดำเนินการปฏิรูปที่ดีมาก 3 ประการ ได้แก่ เครื่องมือใหม่ในการเตรียมพร้อมสำหรับโรคระบาด การปฏิรูปกฎข้อบังคับเกี่ยวกับสุขภาพระหว่างประเทศ และการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนสำหรับองค์การอนามัยโลก ซึ่งทั้งสามประการนี้อาจบรรลุผลภายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 การประชุมสมัชชาอนามัยโลก ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2022 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองมติว่าด้วยการ ป้องกันการแพร่ระบาด การเตรียมพร้อม และการตอบสนอง เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทางการเมืองและการจัดหาเงินทุน สำหรับความมั่นคงด้านสุขภาพทั่วโลก เมื่อโรคระบาดเอ็กซ์เกิดขึ้น คำถามคือโลกจะพร้อมหรือไม่ คำตอบนั้นยังบอกไม่ได้

_________________

[1] จาก Living in an Age of Pandemics—From COVID-19 to Monkeypox, Polio, and Disease X โดย Lawrence O. Gostin, JD เมื่อ 22 กรกฎาคม 2565 ใน https://jamanetwork.com/journals/jama-health-forum/fullarticle/2796824

เอกสารอ้างอิง:

  1. Marani M, Katul GG, Pan WK, Parolari Intensity and frequency of extreme novel epidemics. Proc Natl Acad Sci U S A. 2021;118(35):e2105482118. doi: 10.1073/pnas.2105482118
  2. Bernstein AS, Ando AW, Loch-Temzelides T, et The costs and benefits of primary prevention of zoonotic pandemics. Sci Adv. 2022;8(5):eabl4183. doi: 10.1126/sciadv.abl4183
  3. Carlson CJ, Albery    GF, Phelan         Preparing international cooperation on pandemic prevention for the Anthropocene. BMJ Glob Health. 2021;6(3):e004254. doi:10.1136/bmjgh-2020-004254
  4. Carlson CJ, Albery GF, Merow C, et Climate change increases cross-species viral transmission risk. Nature. 2022;607(7919):555-562. doi:10.1038/s41586-022-04788-w
  5. Gostin LO, Halabi   SF, Klock    An international agreement on pandemic prevention and preparedness. JAMA. 2021;326(13):1257-1258. doi:10.1001/jama.2021.16104