ความเสี่ยงต่อเอชไอวีของผู้ที่ใช้ห่วงครอบช่องคลอดเทียบเท่ากับความเสี่ยงของผู้ที่ใช้เพร็พชนิดกิน
บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับชายแล้วผู้หญิงตามเพศกำเนิดมีทางเลือกเกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวีน้อยกว่าผู้ชาย แม้ กระทั่งเครื่องมือป้องกันเอชไอวีชนิดเดียวกัน ดูเหมือนว่าผู้หญิงที่เลือกใช้การป้องกันวิธีนั้น (เช่นเพร็พชนิดกินทุกวัน) จะต้อง ใช้อย่างสม่ำเสมอจึงจะมีผลในการป้องกันเท่ากับผู้ชาย (ที่ไม่จำเป็นต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ) แต่ประสิทธิผลในการป้องกัน เอชไอวีของเครื่องมือต่างๆที่พิสูจน์ได้จากการวิจัยในคนมักจะเปลี่ยนไปบ้างเมื่อนำไปใช้ในภาวะจริง ประสิทธิผลของห่วง ครอบช่องคลอดที่ผสมยาต้านไวรัสดาพิวิรีน (dapivirine vaginal ring) ก็เช่นเดียวกัน ในเวปไซต์ nam aidsmap มีข่าวเกี่ยว กับห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนที่แสดงว่าความเสี่ยงต่อเอชไอวีของผู้ใช้ห่วงครอบช่องคลอดเทียบเคียงได้กับความเสี่ยง ต่อเอชไอวีของผู้ที่ใช้เพร็พชนิดกินทุกวัน [1]
ข่าวใน nam aidsmap เป็นผลของการวิจัยที่ดำเนินการในประเทศซิมบับเว และได้รับการนำเสนอโดยจาบูลานิ มา วุดซิ (Jabulani Mavudze) จาก Population Solutions For Health ในการประชุมเกี่ยวกับเอชไอวีของทวีปอาฟริกา (INTEREST 2023) ที่จัดขึ้นที่เมืองมาปูโต (Maputo) เมืองหลวงของประเทศโมซัมบิก (Mozambique) เมื่อวันที่ 9-12 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา การนำเสนอแสดงว่าการใช้ห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนในการป้องกันเอชไอวีในภาวะจริงมีผล ในการป้องกันเทียบเท่ากับการป้องกันเอชไอวีด้วยการกินยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อ (หรือเพร็พชนิดกิน) โดยประเมิน จากอัตราการติดเอชไอวีของผู้ที่ใช้การป้องกันแต่ละวิธีเปรียบเทียบกัน
ในแต่ละปีซิมบับเวมีผู้ติดเอชไอวีรายใหม่ประมาณ 31,000 ราย ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เกินสัดส่วนเป็นวัยรุ่นหญิง และหญิงอายุน้อยที่มีอุบัติการณ์การติดเอชไอวี 0.54% (เทียบกับ 0.20% ในกลุ่มชายอายุน้อย)
ซิมบับเวเป็นประเทศแรกของโลกที่ห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนได้รับอนุมัติเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดยที่ ประเทศเคนยา แอฟริกาใต้ ยูกันดา และแซมเบียอนุมัติให้แก่ห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนในเวลาต่อมา นอกจากนั้นแล้ว องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าห่วงครอบช่องคลอดเป็นทางเลือกเพิ่มเติมของการป้องกันเอชไอวีสำหรับผู้หญิงที่มีความ เสี่ยงสูงต่อการติดเอชไอวี ห่วงครอบช่องคลอดที่เป็นห่วงซิลิโคนเมื่อถูกสอดเข้าไปในช่องคลอดจะค่อยๆปล่อยยาต้านไวรัส ดาพิวิรีนออกมาเป็นเวลาหนึ่งเดือน ซึ่งทำให้ห่วงครอบช่องคลอดเป็นทางเลือกแทนการกินยาเม็ดทุกวัน
การวิจัยดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลเด็กของซิมบับเว Population Solutions for Health องค์การ PSI และ USAID/PEPFAR เพื่อขยายทางเลือกของผู้ใช้บริการในการป้องกันเอชไอวีด้วย การดำเนินโครงการสาธิตที่ประเมินความเป็นไปได้และการรับเอาห่วงครอบช่องคลอดไปใช้ในกลุ่มวัยรุ่นหญิงและหญิง อายุน้อย รวมถึงหญิงอายุน้อยที่ขายบริการทางเพศ
ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นหญิงอายุน้อยที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 25 ปีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆแปดเขตของซิมบับเว การ
วิจัยเริ่มรับผู้เข้าร่วมการวิจัยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 หญิงที่เข้าร่วมการวิจัยสามารถเลือกวิธีการป้องกันเอชไอวีสองวิธี คือเพร็พแบบที่ต้องกินทุกวัน หรือห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีน ซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 1,032 คนเลือกใช้ห่วงครอบ
ช่องคลอด และการวิจัยที่ทำการติดตามผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เลือกใช้ห่วงครอบช่องคลอดทุกเดือนเป็นเวลาหกเดือน โดยมี การตรวจหาเอชไอวีทุกครั้งเมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัยไปที่คลินิกเพื่อพบทีมวิจัยตามนัดทุกเดือน
ผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (71%) เป็นโสด (50%) และอาศัยอยู่ในชนบท (74%)
กลุ่มที่ใหญ่ที่สุด (44%) รายงานว่ามีคู่เพศสัมพันธ์ 2-3 คนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมการวิจัยเกือบทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่ชนบทเลือกใช้ห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีน ส่วนผู้เข้าร่วมการวิจัยที่
อาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าครึ่งเลือกใช้ห่วงครอบช่องคลอด การวิเคราะห์ผลแสดงว่าในบรรดาผู้ที่เลือกใช้ห่วงครอบช่องคลอดนั้น 86% ยังคงใช้ต่อเนื่องในเดือนที่สอง ใน
ขณะที่ 76% ของผู้ที่เลือกใช้เพร็พชนิดกินยังคงใช้ต่อไป ในเดือนที่สี่ 64% ของผู้ที่ใช้ห่วงครอบช่องคลอดยังคงใช้อยู่ต่อไป
เทียบกับ 59% ของผู้ใช้เพร็พชนิดกินที่ยังคงใช้เพร็พอีกต่อไป
ตั้งแต่หกเดือนแรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ใช้ห่วงครอบช่องคลอดแปดคน (0.78%) ติดเอชไอวี ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่า อัตรานี้เทียบเท่ากับจำนวนการติดเอชไอวีของผู้ใช้เพร็พชนิดกินในการวิจัยโครงการอื่นๆ แต่ทีมนักวิจัยของโครงการสาธิต ไม่ได้ให้ข้อมูลจากโครงการสาธิตของพวกเขา
จากการวิเคราะห์การติดเอชไอวีตามการมาพบทีมวิจัยตามนัดนั้น ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ใช้ห่วงครอบช่องคลอดหก คนตรวจพบเอชไอวีในเดือนแรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยสองคนตรวจพบเอชไอวีในเดือนที่สอง ผู้เข้าร่วมการวิจัยอีกสองคนตรวจ พบเอชไอวีในเดือนที่สาม และไม่มีผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ตรวจพบเอชไอวีในระหว่างเดือนที่สี่ถึงเดือนที่หกเลย
ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ตรวจพบเอชไอวีในเดือนแรกจำนวนห้าคนจากผู้ที่ตรวจพบเอชไอวีในเดือนแรกนี้จำนวนหก ราย บอกนักวิจัยว่าพวกเขาไม่ได้ถอดห่วงครอบช่องคลอดออกเลย ผู้นำเสนอ (มาวุดซิ – Mavudze) อธิบายว่าเป็นไปได้ว่าผู้ เข้าร่วมการวิจัยกลุ่มนี้อาจจะอยู่ในช่วงวินโดว์ พีเรียด (window period) เมื่อพวกเขาได้รับการตรวจเอชไอวีเมื่อเข้าร่วมการ วิจัยซึ่งหมายความว่าพวกเขามีเอชไอวีอยู่ก่อนแล้ว แต่ระยะเวลายังเร็วเกินไปที่วิธีการตรวจจะตรวจพบไวรัสได้ ส่วนผู้เข้า ร่วมการวิจัยที่ติดเอชไอวีในเดือนแรกรายที่หกนั้นถอดห่วงครอบช่องคลอดออกในวันที่ 24 เพื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน กับคู่เพศสัมพันธ์ของเธอ และมีผลตรวจเป็นบวกในการตรวจเอชไอวีครั้งต่อไป
ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ผลการตรวจเอชไอวีเป็นบวกในเดือนที่สองพลาดการมาพบทีมวิจัยตามนัดหมายไปหนึ่ง อาทิตย์ และผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้กล่าวถึงการถอดห่วงครอบช่องคลอดออกเมื่อครบ 28 วันพอดี ซึ่งเชื่อกันว่านั่นคือเวลาที่ ผู้เข้าร่วมการวิจัยรายนี้ได้รับเอชไอวี ผู้เข้าร่วมการวิจัยอีกรายหนึ่งที่มีผลตรวจเป็นบวกในเดือนที่สามเลื่อนการมาพบทีม วิจัยตามนัดของเธอไปหนึ่งเดือนเต็ม เนื่องจากเธอเดินทางไปยังสถานที่อื่นที่ไม่มีห่วงครอบช่องคลอด และในเดือนที่สาม เธอมีผลตรวจเอชไอวีเป็นบวก
นอกจากนั้นแล้วการวิจัยยังพบว่าผู้หญิงในชนบทที่ชอบห่วงครอบช่องคลอดมีมากกว่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในเมือง และผู้หญิงที่เข้าร่วมการวิจัยจำนวนมากยังคงใช้ห่วงครอบช่องคลอดต่อไปเป็นเวลาหลายเดือน
ผู้วิจัยสรุปว่าเมื่อพิจารณาถึงอัตราการติดเอชไอวีที่เทียบเคียงได้กับอัตราการติดเอชไอวีในกลุ่มหญิงที่ใช้เพร็พ ชนิดกิน การยอมรับห่วงครอบช่องคลอดที่สูงขึ้น และอัตราของการใช้อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความจำเป็นของการขยายการ ใช้ห่วงครอบช่องคลอดในซิมบับเวให้มากขึ้นไปอีก
ผู้ใช้ห่วงครอบช่องคลอดส่วนใหญ่ยังรายงานว่าการใส่ห่วงครอบช่องคลอดด้วยตัวเองเป็นเรื่องง่ายและการดูแล ตนเองก็เป็นสิ่งที่ทำได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์นี้สำหรับพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด
ดร. ทาคุนดา โซลา (Dr. Takunda Sola) จากกระทรวงสาธารณสุขของซิมบับเว กล่าวว่าประเทศซิมบับเวกำลัง ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการในคลินิกกึ่งเอกชนและโดยองค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้บริการแก่หญิงอายุน้อย การวิจัยเชิงปฏิบัติ การนี้กำลังจะเริ่มดำเนินการวิจัยในสถานบริการสำหรับสาธารณชนซึ่งต่อไปจะมีการขยายบริการให้กว้างขึ้นหลังจากนั้น
รัฐบาลซิมบับเวจะทำการประเมินการยอมรับ ประสิทธิภาพ และต้นทุนสำหรับการนำเอาห่วงครอบช่องคลอดไป ขยายผลใช้ ตัวห่วงครอบช่องคลอดเองอาจมีราคาอยู่ระหว่าง $12 ถึง $25 แต่นั่นไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่ที่ถูกโยกย้ายมารับหน้าที่ใหม่จากหน้าที่ความรับผิดชอบเดิม
ผู้นำเสนอไม่ได้เสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการติดเอชไอวีในกลุ่มหญิงที่เลือกใช้เพร็พชนิดกินเพื่อป้องกันเอชไอวีของ โครงการเอง อัตราการติดเอชไอวีในหญิงที่ใช้เพร็พชนิดกินที่ใช้เปรียบเทียบเป็นข้อมูลที่เกิดจากการวิจัยโครงการอื่นๆซึ่ง เป็นการเปรียบเทียบทางอ้อมที่อาจมีผลต่อคุณภาพหรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลบ้าง
อย่างไรก็ตามห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนเป็นเครื่องมือป้องกันเอชไอวีที่ออกฤทธิ์นานและที่ผู้หญิงสามารถ ควบคุมการใช้ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องไปขอรับบริการจากเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ ทางเลือกในการป้องกันที่มีเพิ่มมากขึ้นจะ ทำให้คนที่ใช้วิธีการป้องกันเอชไอวีต่างๆที่มีอยู่เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังบทเรียนจากการคุมกำเนิดที่การมีทางเลือกของวิธีการ คุมกำเนิดเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวิธีมีความสัมพันธ์กับจำนวนคนที่ทำการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นประมาณ 4-8%[2]
ห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนได้รับอนุมัติจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency) เมื่อ ปีพศ. 2563 แต่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาแสดงท่าทีไม่ส่งเสริมการขออนุมัติใช้ (ห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิ รีน) ในสหรัฐอเมริกาทำให้เครือข่ายการวิจัยที่พัฒนาและทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์ประสิทธิผลในการป้องกันเอชไอวีของห่วง ครอบช่องคลอดดาพิวิรีนในอาฟริกาตัดสินใจถอนการขออนุมัติในสหรัฐอเมริกา ซึ่งการตัดสินใจขององค์การอาหารและ ยาของสหรัฐอเมริกาถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการตัดสินใจที่เป็นอันตรายและมีผลกระทบทางลบต่อผู้หญิงที่ต้องการทาง เลือกที่หลากหลายสำหรับการป้องกันเอชไอวี อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวไปแล้วข้างบน องค์การอนามัยโลกยังคงแนะนำให้ ห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนเป็นทางเลือกในการป้องกันเอชไอวีอีกวิธีหนึ่งสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงต่อเอชไอวี และ ต่อมาห่วงครอบช่องคลอดดาพิวิรีนได้รับอนุมัติในบางประเทศในอาฟริกาดังที่ระบุข้างบน
ข้อมูลจากการนำเสนอในที่ประชุม INTEREST 2023 นี้จะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับประเทศอื่นๆที่ต้องการเพิ่มทาง เลือกในการป้องกันเอชไอวีสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อเอชไอวีในประเทศของตน สำหรับบางประเทศที่เครื่องมือในการ ป้องกันเอชไอวีที่ออกฤทธิ์นาน เช่น ยาฉีดคาร์โบเทกราเวียร์ มีราคาแพงมาก และความเป็นไปได้ที่จะทำให้คาร์โบเทกรา เวียร์มีราคาถูกลงและคุ้มค่าต่อการลงทุนโดยรัฐบาลค่อนข้างต่ำและจะเป็นกระบวนการที่ยาวนานมาก ห่วงครอบช่องคลอด ดาพิวิรีนที่มีผลในป้องกันนานถึง 1 เดือน และผู้ใช้สามารถใช้และควบคุมได้เอง และมีราคาถูกกว่า ย่อมจะเป็นทางเลือกที่ เป็นไปได้จริงกว่าการรอยาฉีดคาร์โบเทกราเวียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าโดยทั่วไปทางเลือกในการ ป้องกันเอชไอวีของหญิงตามเพศกำเนิดมีน้อยกว่าชาย และหญิงจำนวนมากในหลายประเทศไม่สามารถต่อรองให้ผู้ชายใช้ เครื่องมือในการป้องกันเอชไอวีได้อย่างสม่ำเสมอ หรือทุกครั้งที่มีความเสี่ยง
_________________
[1] Dapivirine vaginal ring shows comparable HIV risk rate with oral PrEP โดย Edith Magak เมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 ใน https://www.aidsmap.com/ news/may-2023/dapivirine-vaginal-ring-shows-comparable-hiv-risk-rate-oral-prep
[2] จากการนำเสนอ Where do blabs fit? โดย Dr. Hyman Scott จาก Bridge HIV, San Francisco Department of Public Health และ University of California, San Francisco ในการประชุมประจำปี HVTN Full Group Meeting 2023 เมื่อ 3-5 พฤษภาคม 2566 ที่ Washington, D.C., USA