บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อเอชไอวีมากกว่าผู้ชายทั้งเพราะเหตุผลทางสรีระและเหตุผลทางด้านสังคม-วัฒนธรรม เช่น ช่อง ทางการรับเชื้อที่มากกว่า การเปลี่ยนแปลงของไมโครไบโอม (microbiome หรือชุมชนจุลชีพ) ในช่องคลอดที่เพิ่มความ เสี่ยงต่อเอชไอวีสำหรับผู้หญิง ค่านิยมทางสังคม-วัฒนธรรมที่เป็นอุปสรรคทำให้ผู้หญิงโดยเฉพาะหญิงอายุน้อยเข้าไม่ถึง ข้อมูลและบริการที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อเอชไอวีเมื่อเทียบกับผู้ชาย และทางเลือกเกี่ยวกับวิธีหรือผลิตภัณฑ์ในการป้อง กันเอชไอวีที่มีน้อยกว่าหรือที่มีประสิทธิผลไม่ดีเท่ากับผู้ชาย
การกินยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกันเอชไอวีที่เป็นวิธีการที่ได้ผลดีมากสำหรับผู้ชาย แต่สำหรับผู้หญิงนั้นดูเหมือนว่าผู้ หญิงต้องมีวินัยในการกินยาสูงกว่าผู้ชาย ถึงแม้ว่าผลการวิเคราะห์วินัยในการใช้เพร็พชนิดกินทุกวันและอุบัติการณ์การติด เอชไอวีจากข้อมูลที่รวบรวมจากการวิจัยต่างๆรวมระยะเวลากว่า 8 ปีและรวมผู้หญิงกว่า 6,000 คนแสดงว่าประสิทธิผลของ
เพร็พชนิดกินสำหรับหญิงตามเพศกำเนิดที่กินยามากกว่า 4 วันต่ออาทิตย์นั้นเทียบเท่ากับประสิทธิผลของการกิน 7 วันต่อ อาทิตย์ซึ่งเพิ่มความมั่นใจให้แก่หญิงที่ต้องการป้องกันเอชไอวีด้วยเพร็พชนิดกินว่าไม่จำเป็นที่จะต้องมีวินัยในการกินอย่าง สมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ผลก็แสดงว่าผู้หญิงมากกว่าครึ่งไม่สามารถกินยาได้อย่างสม่ำเสมอ[1]
ดังนั้นทางเลือกในการป้องกันวิธีอื่นที่จะช่วยแก้ปัญหาของวินัยในการกินยาทุกวันได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการประ ชุมครอย (CROI) ของปี 2023 ที่ผ่านไปมีการนำเสนอเกี่ยวกับเพร็พชนิดฉีดที่ออกฤทธิ์นานอาจใช้ฉีดทุก 3 เดือนได้ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงมากรวมทั้งผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่คุมกำเนิดด้วยยาฉีดทุก 3 เดือนด้วย ในเวปไซต์ nam aidsmap มี สรุปการนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยกัส แคนส์ (Gus Cairns) ดังเนื้อหาด้านล่าง[2]
เมื่อพูดถึงเอชไอวีในเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศตรงข้ามแล้ว ผู้หญิงมักจะเสียเปรียบกว่าผู้ชาย จากทั่วโลกผู้หญิงมีแนวโน้มที่ จะมีเอชไอวีและจะได้รับเชื้อตั้งแต่อายุยังน้อยกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีความเปราะบางต่อเอชไอวีกว่าผู้ชายทั้งทางชีวภาพและ ทางสังคม และการวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวีด้วยวิธีชีวเวชศาสตร์สำหรับผู้หญิงมักจะมีผลลัพธ์ที่แย่กว่าผู้ชาย ดังที่ได้ เห็นในการประชุมเกี่ยวกับเรทโทไวรัสและการติดเชื้อฉวยโอกาส (Conference on Retrovirus and Opportunistic Infections) หรือการประชุมครอย (CROI) ครั้งที่ 30 ที่เมืองซีแอตเติล สหรัฐอเมริกาในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
การวิจัยหนึ่งที่นำเสนอในการประชุมครอยเป็นข่าวที่ค่อนข้างดี การวิเคราะห์ผลของการวิจัยเอชพีทีเอ็น 084 (HPTN 084)
ซึ่งแสดงประสิทธิผลที่น่าทึ่งของการฉีดยาคาโบเทกราเวียร์ (cabotegravir) สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อหรือเพร็พ
(PrEP) ในผู้หญิงตามเพศกำเนิดที่พบว่าระดับยายังคงอยู่ในระดับที่เพียงพอเป็นเวลานานในผู้หญิง ซึ่งหมายความว่าการ ฉีดทุกๆสามเดือน ซึ่งตรงกันข้ามกับการฉีดทุกสองเดือนดังที่ทำในการวิจัยอาจยังคงมีประสิทธิผล
การฉีดทุกสามเดือนนอกจากจะสะดวกกว่าแล้วสำหรับผู้หญิง การฉีดยาทุกสามเดือนยังหมายถึงการฉีดเพร็พได้ตาม กำหนดเวลาเดียวกันกับการฉีดยาคุมกำเนิด
ศาสตราจารย์ นพ. มาร์ค มาร์ซินกิ (Professor Mark Marzinke) จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ได้ทำการวิเคราะห์ระดับ ยาในผู้หญิงที่เข้าร่วมการวิจัยเอชพีทีเอ็น 084 ที่พลาดวันนัดฉีดทำให้ได้รับฉีดยาในช่วงเวลาที่นานกว่าที่กำหนดไว้
ความเข้มข้นในการยับยั้ง 90% ของคาโบเทกราเวียร์ (ปริมาณที่เพียงพอสำหรับลดการขยายตัวเพิ่มขึ้นของไวรัสได้ถึง 90% หรือที่เรียกว่า IC90) คือ 0.166 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ศ. มาร์ซินกิ แบ่งระดับยาที่วัดได้ก่อนหน้าการฉีดครั้งต่อไปที่ เป็นการฉีดล่าช้าออกเป็น:
- อย่างน้อยแปดเท่าของ IC90 (1.33 mcg/ml)
- น้อยกว่าแปดเท่าแต่มากกว่าสี่เท่าของ IC90 (0.664 mcg/ml)
- ระหว่างหนึ่งถึงสี่เท่าของ IC90 หรือ
- น้อยกว่า IC90
เนื่องจากการฉีดสองครั้งแรกจะได้รับห่างกันหนึ่งเดือนแทนที่จะเป็นสองเดือน (เพื่อสร้างระดับยาให้อยู่ในสถานะคงที่) การ ฉีดครั้งที่สองที่ล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญหมายถึงการฉีดช้าไปสี่ถึงหกสัปดาห์ เช่น แปดถึงสิบสัปดาห์หลังจากการฉีดครั้งแรก
หลังจากการฉีดเข็มแรก การฉีดครั้งต่อไปจะเป็นทุกๆแปดสัปดาห์ ศ. มาร์ซินกิ รวมการฉีดล่าช้าออกเป็นช้าไป 4-6 สัปดาห์ (เช่น ฉีดเข็มถัดไปเมื่อ 12-14 สัปดาห์หลังฉีดครั้งสุดท้าย) ฉีดช้าไป 6-8 สัปดาห์ และช้ากว่า 8-10 สัปดาห์ (การฉีดเมื่อ 16-18 สัปดาห์ หรือมากกว่าหลังฉีดครั้งสุดท้าย บ่งชี้ว่าเป็นการพลาดการฉีดยาโดยสิ้นเชิง) ระยะห่างของการฉีดยาที่เกิน กว่า 18 สัปดาห์ถือเป็นการหยุดเพร็พ ไม่ว่าจะเป็นการหยุดเพียงชั่วคราวหรือการหยุดอย่างถาวร
รวมทั้งหมดแล้วมีกรณีการฉีดยาล่าช้า 224 กรณีในผู้หญิง 194 คน (บางคนมีการฉีดล่าช้ามากกว่าหนึ่งครั้ง) จากผู้หญิง จำนวนมากกว่า 1,600 คนที่ได้รับยาฉีดคาโบเทกราเวียร์ในการวิจัยแบบสุ่ม
ในผู้หญิงที่ได้รับการฉีดครั้งที่สองล่าช้า ระดับยายังคงอยู่ที่มากกว่าแปดเท่าของความเข้มข้นในการยับยั้ง 90% (IC90) ใน
91% ของผู้หญิง และ 100% ของผู้หญิงมีระดับยามากกว่าสี่เท่าของ IC90
ในผู้หญิงที่การฉีดภายหลังล่าช้า 98% มีระดับสูงกว่า IC90 ถึงสี่เท่าหากฉีดช้าไป 4-6 สัปดาห์ 95% หากฉีดช้าไป 6-8 สัปดาห์
และ 90% หากฉีดช้าไป 8-10 สัปดาห์ สัดส่วนที่มี IC90 มากกว่าแปดเท่าคือ 87%, 84% และ 62% ตามลำดับ มีเพียง 1%, 2%
และ 5% ตามลำดับเท่านั้นที่มีระดับต่ำกว่า IC90
สิ่งนี้บ่งชี้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่จะยังคงมีระดับยาที่เพียงพอต่อการป้องกันถึงแม้ว่าการฉีดล่าช้าจะยาวถึงหกสัปดาห์ (หรือนาน ถึง 14 สัปดาห์หลังจากการฉีดครั้งล่าสุด) ซึ่งบ่งชี้ว่าขนาดยาทุกๆ 12 สัปดาห์ควรจะเพียงพอที่จะรักษาประสิทธิผลในการ ป้องกันไว้ได้
จนถึงขณะนี้มีผู้หญิงเพียงคนเดียวในการวิจัยเอชพีทีเอ็น 084 ซึ่งสุ่มให้ได้รับยาคาโบเทกราเวียร์ที่ติดเอชไอวีแม้จะได้รับ การฉีดยาหลายครั้ง ผู้หญิงคนนี้ได้รับการฉีดยา 9 เข็ม แต่ 2 เข็มได้รับฉีดช้ากว่ากำหนด ในการฉีดยาช้ากว่ากำหนดครั้ง แรก แม้ว่าการทิ้งช่วงระหว่างการฉีดจะนานถึง 15 สัปดาห์ เธอยังคงรักษาระดับยาไว้ที่ประมาณแปดเท่าของ IC90 แต่หลัง จากเว้นไป 16 สัปดาห์หลังฉีดครั้งที่ 8 ผลการตรวจเอชไอวีของเธอเป็นบวกเมื่อเธอมาฉีดครั้งที่ 9 และระดับคาโบเทกรา เวียร์ของเธออยู่ที่ 0.25 ไมโครกรัม/มล. หรือประมาณ 1.5 เท่าของ IC90
ระดับยาคาโบเทกราเวียร์ของผู้หญิงต่างกับผู้ชายหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับการวิจัยเอชพีทีเอ็น 083 (HPTN 083) ซึ่งคัด เลือกชายเกย์ ชายมีเพศสัมพันธ์กับคนทั้งสองเพศ และหญิงแปลงเพศ พบว่ามีเพียงสองปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับยาก่อน การฉีดครั้งต่อไป หนึ่งคือโรคอ้วน: ผู้เข้าร่วมที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 กก./ตร.ม. ซึ่งเป็นเกณฑ์ของโรคอ้วน มี ระดับยาระหว่างการฉีด 2 ครั้งแรกต่ำกว่าระดับยาโดยเฉลี่ย 30% แต่ระดับยาจะลดลงเพียง 5% ระหว่างการฉีดครั้งต่อๆไป
ปัจจัยอื่นคือเพศทางชีวภาพ ระหว่างการฉีด 2 ครั้งแรก ระดับยาในผู้หญิงต่ำกว่าผู้ชาย 20% แต่ระหว่างการฉีดครั้งต่อๆไป ระดับยาในผู้หญิงสูงกว่า 32%
ศ. มาร์ซินกิ กล่าวว่า “สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าแม้ว่าการฉีดยารายไตรมาสอาจจะรักษาประสิทธิภาพในผู้หญิงได้ เราไม่มีหลักฐานที่ จะทำให้เราสามารถพูดแบบเดียวกันสำหรับผู้ชายได้”
_________________
[1] 8+ Year Pooled Analysis: Adherence and HIV Incidence in >6000 Women on F/TDF for PrEP – adherence matters โดย Jeanne Marrazo และคณะฯ ใน https://www.natap.org/2023/CROI/croi_30.htm
[2] Good news for women and PrEP: quarterly dosing may work เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ใน https://www.aidsmap.com/news/feb-2023/good-news- women-and-prep-quarterly-dosing-may-work