เมื่อไรโควิดจะไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินของโลก

บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ

ถึงแม้ว่าหลายประเทศผ่อนคลายมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการยกเลิกหรือชะลอการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้แก่ประชาชนแล้วก็ตาม แต่องค์การอนามัยโลกตัดสินใจว่าวิกฤตการณ์นี้ยังไม่จบสิ้น แต่ในอนาคตอันใกล้นี้คงจะถือได้ว่าการระบาดของโควิด-19 ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินของโลกแล้ว แต่โลกยังไปไม่ถึงจุดนั้นเสียทีเดียว และองค์การอนามัยโลกคิดว่าการระบาดกำลังอยู่ในจุดของการเปลี่ยนแปลง

เมื่อวันที่ 27 มกราคม ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลกจัดประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินเพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ คณะกรรมการฉุกเฉินมีความเห็นว่าการระบาดของโควิด-19 ยังถือได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (public health emergency of international concern หรือ PHEIC) อยู่ แต่การระบาดระดับโลกของโควิด-19 อยู่ในจุดเปลี่ยนเนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซาร์สโควีทู (SARS-CoV-2) ที่สูงขึ้นมีผลทำให้ผลกระทบและขอบเขตของโควิด-19 ลดลง แต่องค์การอนามัยโลกยังกล่าวว่าจำเป็นที่ประเทศต่างๆ ยังคงต้องเฝ้าระวังและเตรียมการต่างๆสำหรับการ เปลี่ยนแปลงด้านการบริหารที่จะรักษาแรงกดดันต่อไวรัสนี้ต่อไปเพื่อการดำรงชีวิตของผู้คนหลังการระบาดระดับโลกนี้

นักวิจัยจำนวนมากเห็นด้วยกับการประเมินขององค์การอนามัยโลก ศาสตราจารย์ นพ. สาลิม อับดูล คาริม (Prof. Salim Abdool Karim) นักระบาดวิทยาที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลประเทศอาฟริกาใต้และผู้อำนวยการของศูนย์สำหรับโครงการ วิจัยด้านเอดส์ในอาฟริกาใต้ (Centre for the AIDS Programme of Research in South Africa หรือ CAPRISA) กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกไม่สามารถพูดได้ว่าภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขสิ้นสุดลงหากว่ายังมีผู้ป่วยหลายล้านคนและมีผู้เสียชีวิตเพราะโควิดหลายพันคนต่อวัน ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทั่วประเทศตั้งแต่เมื่อ รัฐบาลยกเลิกนโยบายปลอดโควิดเมื่อปลายปีที่แล้ว

แต่มีคนจำนวนหนึ่งที่คิดว่าการแพร่ระบาดได้ก้าวไปไกลกว่าเกณฑ์ทางกฎระเบียบที่ใช้ในการกำหนดการระบาดของโรคติดเชื้อให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (หรือ PHEIC ซึ่งออกเสียงว่า ‘เฟคฺ’) การตัดสินใจขององค์การ อนามัยโลกมีขึ้นในวันเดียวกับที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน (President Joe Biden) ประกาศว่าสหรัฐอเมริกาจะยุติการประกาศภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับโควิด-19 ของประเทศในวันที่ 11 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้

คำที่มีน้ำหนักมาก

การกำหนดและการเลิกใช้เฟคฺ (PHEIC) มีความสำคัญในระดับโลกและระดับประเทศเพราะมันจะกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการต่างๆ และเปลี่ยนทิศทางการใช้ทรัพยากรต่างๆ ทั่วทั้งโลก ตัวอย่างเช่น การกำหนดภาวะฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลกบังคับให้ประเทศสมาชิกของหน่วยงานต้องรายงานกรณีการติดเชื้อ เป็นต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศว่าการระบาดเป็นอย่างไรนั้นมีความสำคัญเพราะมันจะส่งสัญญาณให้แก่ประชาคมโลก ซึ่ง ศ. คาริม ยกตัวอย่างว่าการประกาศส่งสัญญาณอะไรไปยังหน่วยงานการบินระหว่างประเทศ? มันส่งสัญญาณอะไรไปยังนักวิจัยบริษัทผู้ผลิตและนักวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนายาใหม่และวัคซีนใหม่?

ดังนั้นนักวิจัยบางคนจึงคิดว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะยกเลิกเฟคฺ เพราะการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขจะอนุญาติให้รัฐบาลและหน่วยงานสาธารณสุขบางแห่งมองไปทางอื่นและหันไปทำสิ่งอื่นๆแทน ศาสตราจารย์ นพ. มาร์ค วูลเฮาส์ (Prof. Mark Woolhouse) นักระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ สหราชอาณาจักรกล่าวว่าโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมาก เพราะประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรโลกยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งหมายถึงผู้คนจำนวนมากที่ยังมีความเปราะบางต่อโควิด-19 อยู่

เหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดา

องค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็นเฟคฺเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม คศ. 2020 สถานะฉุกเฉินนี้ถูกทบทวนทุกสามเดือนในการประชุมของคณะกรรมการฉุกเฉินเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์และให้คำแนะนำแก่องค์กร

ดังนั้นโอกาสครั้งต่อไปที่องค์การอนามัยโลกจะยกเลิกเฟคฺจะเป็นเดือนเมษายนของปีนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่าควรจะสิ้นสุดเฟคฺได้แล้ว การกำหนดเฟคฺนั้นกำหนดโดยกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations หรือ IHRs) ซึ่งเป็นกฏที่มีผลผูกพัน เพราะว่าเป็น “เหตุการณ์พิเศษ” ที่มีความเสี่ยงของโรคติดเชื้อที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก

นพ. เพรเบน เอวิตส์ลันด์ (Dr. Preben Aavitsland) ผู้อำนวยการฝ่ายเÅาระวังของสถาบันสาธารณสุขแห่งนอร์เวย์ในเมือง ออสโลคิดว่าคำจำกัดความนั้นใช้ไม่ได้กับโควิด-19 อีกต่อไปแล้วเพราะโรคนี้ระบาดไปทั่วทุกมุมโลกแล้ว เมื่อไวรัสมีอยู่ มากมายในเมืองไนโรบี (ประเทศเคนย่า) เมืองนาโปลี (ประเทศอิตาลี) เมืองแนชวิลล์ (ประเทศสหรัฐอเมริกา) เมืองนาโก ยา (ประเทศญี่ปุ่น) เมืองนัคปูร์ (ประเทศอินเดีย) และเมืองนานกิง (ประเทศจีน) การเดินทางและการค้าระหว่างประเทศจึงไม่ ก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติม

เนื่องจากคำจำกัดความสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (เฟคฺ) เป็นการจำกัดความที่เฉพาะเจาะจง ดร. เดวี ศรีดาร์ (Dr. Devi Sridhar) นักวิจัยด้านสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ ไม่แน่ใจว่าคณะ กรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลกสรุปได้อย่างไรว่าโควิดยังคงเป็นไปตามเกณฑ์นั้น และเสริมว่าโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกควบคู่ไปกับปัญหาอื่นๆอีกมากมาย แต่เฟคฺก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่เฉพาะเจาะจง

ศาสตราจารย์ นพ. เดวิด เฮย์แมน (Prof. David Heymann) นักระบาดวิทยาจากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการระบาด ของไวรัสซิกา (Zika virus) ในคศ. 2016 กล่าวว่าการตัดสินใจว่าจะถอดสถานะเฟคฺออกจากโควิด-19 จะถูกผลักดันด้วย เหตุผลทางการเมืองรวมกับอัตราการตายและข้อมูลอื่นๆ

ศ. เฮย์แมนเน้นว่าการกำหนดสถานะเฟคฺแก่การะบาดของโควิด-19 เป็นเครื่องมือทางการเมืองซึ่งทำให้รัฐบาลต่างๆ ให้ความสนใจ ด้วยเหตุนี้องค์การอนามัยโลกจะคงภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศของการระบาดโควิดอีกต่อไป

จุดเปลี่ยนแปลง

สถานการณ์นี้มีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะคำว่า “โรคระบาดระดับโลก” (pandemic) เพราะนิยามนี้แตกต่างจากเฟคฺทั้งใน างกฎหมายและในเชิงปฏิบัติ แต่มักจะถูกใช้แทนกันอยู่เสมอเมื่ออธิบายสถานะของการระบาดของโควิด-19

โดยความเป็นจริงแล้วองค์การอนามัยโลกไม่มีพันธกิจหรืออำนาจหน้าที่ในการประกาศการเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของการ ระบาดระดับโลก เนื่องจากไม่เหมือนกับเฟคฺ นิยามนี้ไม่รวมอยู่ในหมวดหมู่ของกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations หรือ IHRs)

องค์การอนามัยโลกเรียกโควิด-19 ว่าเป็นโรคระบาดระดับโลกเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม คศ. 2020 แต่นายทาริก เจสเซ- เรวิก (Tarik Jašarević) โฆษกขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่าการเรียกเช่นนั้นไม่ได้หมายความว่าองค์การอนามัยโลกได้ ประกาศการระบาดระดับโลก แต่การเรียกเช่นนั้นเป็นเพียง “การพรรณาสถานการณ์” เท่านั้น

นพ. เอวิตส์ลันด์ คิดว่าในการกล่าวว่าวิกฤตโควิด-19 อยู่ในจุดเปลี่ยนนั้นดูเหมือนว่าคณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การ อนามัยโลกกำลังเตรียมยุติเฟคฺในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ และส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้นองค์การอนามัยโลกกำลังสนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ให้รวมการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 และการฉีดวัคซีนเข้ากับกิจวัตรประจำของบริการด้าน

สาธารณสุขของแต่ละประเทศ นพ. เอวิตส์ลันด์ คิดว่าในขณะนี้องค์การอนามัยโลกจะเริ่มวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลง และเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมครั้งต่อไปของคณะกรรมการฉุกเฉินในอีกสามเดือนข้างหน้า

การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศของโควิด-19 จะก่อผลกระทบหลายอย่างในระดับประเทศ สำหรับบางคนนั้นอาจหมายถึงการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ที่เคยเป็นบริการที่ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงบริการเกี่ยวกับตรวจโควิด-19 อาจจะหมดไปด้วย

การยกเลิกภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศของโควิด-19 อาจมีผลทำให้ผู้คนชะล่าใจและลดการระวังตัว ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อรวมถึงการฉีดวัคซีนกระตุ้น และอาจทำให้การติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นการยกเลิกฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศของโควิด-19 ควรต้องทำอย่างรอบคอบและค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้ผู้คนเกิดความสับสนและเข้าใจผิด

_________________

When will COVID stop being a global emergency? โดย David Adam เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ใน https://www.nature.com/articles/d41586-023-00294-9