บทบาทของความโอหังในการรับมือกับโควิด-19 ของประเทศต่างๆ

แปลบทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ

การระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) ของโควิด-19 ที่เริ่มเมื่อปลายปีคศ. 2019 ผ่านไปแล้วกว่า 3 ปี ในปัจจุบันหลายประเทศ ถือว่าการระบาดระดับโลกนี้คลี่คลายไปมากแล้วและคนส่วนใหญ่ของประเทศหันกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิมก่อนการระบาด ในช่วงการระบาดใหญ่ทั่วโลกนั้น บางประเทศประสบความสำเร็จในการรับมือกับโควิด แต่บางประเทศล้มเหลวในการ ตอบสนองต่อปัญหาโควิด จากทั่วโลกมีบทเรียนต่างๆมากมายเกี่ยวกับการตอบสนองระดับประเทศต่อโควิด-19 วารสาร Nature มีบทความหลายบทความเกี่ยวกับบทเรียนของการตอบสนองต่อโควิด-19 บทความหนึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ความโอหังของผู้นำประเทศในการรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 โดยนักมานุษยวิทยาการแพทย์ ซึ่งถึงแม้ว่าจะได้รับการ เผยแพร่มากกว่าสองปีมาแล้วแต่ก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญอยู่ ดังรายละเอียดด้านล่าง[1]

ผู้เขียนเกริ่นว่าเนื่องจากความโอหัง (hubris) ของผู้นำประเทศ หลายประเทศที่มองว่าตัวเองมีความโดดเด่นเป็นพิเศษกว่าประเทศอื่นๆ และโรคระบาดโควิดจะไม่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ แต่ประเทศเหล่านั้นไม่สามารถจัดการกับโรคระบาดได้ดีเหมือนกับที่โอ้อวด

ในช่วงต้นของการระบาดใหญ่ ประเทศสหรัฐอเมริกาถูกถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีความพร้อมมากที่สุดในการเผชิญหน้ากับไวรัสเช่นไวรัสซาร์สโควีทู (SARS-CoV-2) ประเทศอื่นๆที่ถูกถือว่ามีความพร้อมสำหรับการระบาดเช่นกันได้แก่ สหราชอาณาจักร บราซิล และชิลี ที่เป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับโดยดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (Global Health Security – GHS) ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเตรียมพร้อมมากที่สุดในโลก แต่เมื่อโรคระบาดเกิดขึ้น การตอบสนองต่อโรคระบาดของประเทศเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นผลงานที่แย่ที่สุด สหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกทั้งในด้านจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 บราซิลมีอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 เป็นอันดับสองของโลก อัตราผู้ป่วยสะสม ต่อหัวของชิลีสูงเป็นอันดับสองในทวีปละตินอเมริกา และสหราชอาณาจักรมีอัตราการเสียชีวิตต่อหัวของโควิด-19 สูงสุดใน กลุ่มประเทศ G7 ทั้งหมด สาเหตุของความล้มเหลวที่น่าตกใจเหล่านี้คืออะไร?

สิ่งหนึ่งที่ประเทศเหล่านี้มีเหมือนกันคือ ‘ความพิเศษ’ ซึ่งเป็นการมองตนเองว่าเป็นคนที่แตกต่างจากคนอื่น และถือว่าประเทศของตนแตกต่างจากประเทศอื่นในทางใดทางหนึ่ง การตอบสนองเกี่ยวกับโควิด-19 ของประเทศเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า

มุมมองที่เชื่อว่าตนเองพิเศษกว่าคนอื่นมีความเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่แย่ลง การวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงนี้สามารถช่วยในการกำหนดนิยามใหม่ของการเตรียมพร้อมและช่วยให้สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับความสำเร็จและความ ล้มเหลวของการระบาดได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

การตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรเป็นหลักฐานล่าสุดว่าประเทศหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องการเดินหน้าไปตามลำพัง ในช่วงเดือนแรกๆของการระบาดใหญ่ นายบอริส จอห์นสัน (Boris Johnson) นายกรัฐมนตรี ของประเทศไม่สนใจต่อคำแนะนำเรื่องการจับมือกัน และยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลของบอริส จอห์นสัน พิจารณาถึงการปล่อยให้ ไวรัสแพร่กระจายต่อไปเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) การกระทำเหล่านี้บ่งบอกถึงความโอหังเกี่ยวกับความ สามารถของประเทศในการต้านทานวิกฤตด้านสาธารณสุข

ในสหรัฐอเมริกานั้นสำนักประธานาธิบดี (หรือทำเนียบขาว) แสดงโลกทัศน์ที่บอกว่าตัวเองเป็นพิเศษกว่าประเทศอื่นหลายๆ ทาง รวมทั้งการถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลกและการอ้างว่าไวรัสจะหายไป “ราวกับปาฏิหารย์” ความมั่นใจที่มากเกินไปในความสามารถของประเทศในการตอบสนองต่อโควิด-19 นั้นเห็นได้ในทุกระดับของสังคม ตั้งแต่การตัดงบ ประมาณสำหรับโครงการเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดระดับโลกไปจนถึงการที่ผู้คนที่ไม่ยอมสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ

จัย โบลโซนาโร (Jair Bolsonaro) ผู้นำประชานิยมของบราซิลเสนอเมื่อเดือนมีนาคม 2563 ว่าชาวบราซิลแข็งแกร่งพอที่จะรอดพ้นจากการติดเชื้อได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีมาตราการบังคับเกี่ยวกับการป้องกัน แต่การตอบสนองระดับชาติของ บราซิลที่วุ่นวายเหมือนกับเป็นการอนุญาติให้โรคระบาดแพร่ระบาดออกไปมากขึ้น

ความเชื่อว่าตัวเองพิเศษกว่าคนอื่นของประเทศชิลีถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงสถาบันประชาธิปไตยที่มั่นคงของประเทศ ระบบตุลาการที่มีประสิทธิภาพ และเศรษฐกิจการตลาดเสรีที่เฟื่องฟู แต่การติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูงขึ้นหลังจากมีการติดเชื้อในชุมชนของคนที่มีรายได้น้อย ถึงแม้ว่าชิลีจะมีระบบการดูแลสุขภาพที่เข้มแข็ง แต่ผลลัพธ์ทางระบาดวิทยาเปิดโปงให้เห็น ระดับความไม่เท่าเทียมกันที่น่าเป็นห่วง ภาพลักษณ์ที่ยกย่องตัวเองของประเทศอาจทำให้ผู้นำประเทศประเมินความเปราะ บางของประเทศต่อไวรัสต่ำเกินไป

การระบาดใหญ่ทำให้เกิดการทดลองตามธรรมชาติเกี่ยวกับผลกระทบทางสาธารณสุขของความโอหัง วิธีหนึ่งสำหรับนัก วิจัยในการวัดและเปรียบเทียบมุมมองโลกที่ไม่เหมือนใครคือการศึกษาทัศนคติของสาธารณชนผ่านการสำรวจและการ สัมภาษณ์ นอกจากนี้ยังสามารถระบุความเป็นพิเศษไม่เหมือนใครได้จากสิ่งที่ผู้นำของประเทศกล่าวต่อสาธารณชน: ข้อความของพวกเขาเน้นความพิเศษของชาติ หรือความเป็นสมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศหรือไม่? นอกจากนี้แล้ว นักวิจัยยังสามารถตรวจสอบการตอบสนองต่อโรคระบาดได้ด้วยการตั้งสมมติฐานว่าประเทศที่คิดว่าตัวเองพิเศษกว่าคนอื่น จะมีโอกาสน้อยที่จะเรียนรู้จากประเทศอื่น ยิ่งไปกว่านั้นหลักฐานเพิ่มเติมอาจมาจากการวิเคราะห์สื่อ: การนำเสนอข่าวต่างๆ เป็นการบรรยายถึงประสบการณ์ของประเทศหนึ่งว่าไม่เหมือนใคร หรือมีความคล้ายคลึงกับประสบการณ์ของที่อื่นหรือไม่? งานดังกล่าวสามารถสำรวจได้ว่าความพิเศษสุดทำนายประสิทธิภาพที่แย่ลงในการควบคุมโรคหรือไม่ และแทนที่จะอาศัย แต่สมมุติฐานที่ไม่มีการพิสูจน์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมดังที่ระบุโดยดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลก นักวิจัยควร พิจารณาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า

การวิเคราะห์จะต้องดูที่ปัจจัยต่างๆที่มีความเป็นไปได้ว่าเป็นปัจจัยผลักดันของผลลัพธ์ต่างของโรคระบาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเลือกใช้แต่สิ่งที่สนับสนุนความเชื่อหรือสมมุติฐานที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์อาจสามารถดึงเอาบทเรียนจากเรื่องราวเกี่ยวกับความสำเร็จที่ไม่มีการศึกษาด้วย ดัชนีความมั่นคงด้านสุขภาพโลกของปีที่แล้ว (2562) จัด อันดับให้เวียดนามอยู่ที่ 50 จากทั้งหมด 195 ประเทศ แต่ ณ วันที่ 6 กันยายน 2563 จำนวนผู้เสียชีวิตของประเทศเวียดนามมี แค่ 35 ราย การวิเคราะห์การตอบสนองของโควิด-19 ของ 36 ประเทศ ซึ่งเผยแพร่เมื่อเดือนที่แล้วโดยองค์กรเกี่ยวกับข่าวที่ ตั้งอยู่ใน วอชิงตัน ดี.ซี. จัดอันดับสำหรับประเทศเซเนกัล — อีกประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับล่าง — เป็นอันดับสอง ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้รับการจัดอันดับที่ 31

เวียดนามไม่เคยด่วนสรุปว่าตนเองจะมีการป้องกันเป็นพิเศษต่อโรค ผู้นำของประเทศไม่เพิกเฉยในการตอบสนองต่อ รายงานเกี่ยวกับโรคปอดบวมแปลกๆที่เกิดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และดำเนินการอย่างเด็ดขาดทันทีเพื่อกักบริเวณ ตรวจ วินิจฉัยการติดเชื้อและติดตามผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อในระยะแรก ประเทศอื่นๆที่มีผลเกินความคาดหมายในการรับมือโรคระบาด ได้แก่ ประเทศคิวบาและประเทศไทย ซึ่ง ณ วันที่ 2 กันยายน 2563 สามารถควบคุมจำนวนผู้เสียชีวิตไว้ที่ระดับเลขเพียงสอง หลัก

ภาพโดย COTTONBRO ON PEXELS ใน Mis information Review

 

ในตำนานกรีก ความโอหังถูกเทพธิดาเนเมซิส (Nemesis) ลงโทษ ในการควบคุมโรคนั้นมุมมองโลกแบบโอหังเสี่ยงต่อ การถูกทำโทษแบบล้างแค้น ความเชื่อมั่นในความสามารถเป็นพิเศษของประเทศมากเกินไปทำให้ขาดการเตรียมพร้อมเป็นอุปสรรคขัดขวางความร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพระดับโลก และจำกัดโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ การระบุตัวแปรที่ขาดหายไปในการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาด หรือวิธีที่ประเทศต่างๆ มองตนเอง ทำให้นักวิชาการสามารถช่วยในการพัฒนาตัวชี้วัดที่แม่นยำยิ่งขึ้นสำหรับความพร้อมของประเทศในการต่อสู้กับโรค

บทความวิชาการอีกบทความหนึ่งกล่าวว่าในช่วงต้นของการระบาดหากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มตอบสนองปัญหาการแพร่ระบาดตั้งแต่เนิ่นๆ (ต้นปีคศ. 2020) แล้วจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ประมาณ 700,000 คน และป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ประมาณ 36,000 คน[2]

บทความดังกล่าวผู้เขียนยกตัวอย่างว่าหลังจากที่องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินของโลกเมื่อวันที่ 31 มกราคม คศ. 2020 และสหรัฐอเมริกาประกาศว่าการระบาดของโควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ แต่รัฐบาลไม่ได้ห้ามการชุมนุมกันของคนจำนวนมากเพื่อฉลองเทศกาลมาร์ดิกรา (Mardi Gras) หรือการชุมนุมกันของนักศึกษาจำนวนมากในช่วงสปริงเบรก (Spring break) ที่เป็นวันหยุดยาวในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิในสหรัฐอเมริกา หรือในสหราชอาณาจักรที่ยังคงมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมจากประเทศสเปนและทีมจากอังกฤษเมื่อวัน 31 มีนาคม ที่มีแฟนฟุตบอลเต็มสนามกีฬารวมทั้งชาวสเปนจำนวนหลายพันคนที่มาชมการแข่งขันและเดินเที่ยวไปทั่วเมือง ทั้งๆที่ประเทศ อิตาลีประเทศเพื่อนบ้านของสเปนได้ตัดสินใจทำการกักกัน (quarantine) คนทั้งประเทศเมื่อสองวันก่อนการแข่งขัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดจำนวนหนึ่งกล่าวว่าการแข่งขันฟุตบอลครั้งนั้นทำให้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหราช อาณาจักรเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

ผู้เขียนระบุว่าในปีแรกของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 สหรัฐอเมริกา บราซิล และสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่ได้รับ ผลกระทบของโควิด-19 ที่รุนแรงมากที่สุดในด้านจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด ทีมผู้เขียนกล่าวว่าปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งใน การแก้ไขปัญหาวิกฤตโควิด-19 คือภาวะผู้นำที่ดีซึ่งรวมถึงการทำตามคำแนะนำของนักวิทยาศาสตร์และสื่อสารกับ ประชาชนเกี่ยวกับข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนและไม่ล่าช้า และโดยการเสริมสร้างและสนับสนุนความตั้งใจและสิ่งจูงใจของมาตราการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นที่สาธารณชนสับสนผู้นำประเทศจะสามารถช่วยให้ ประชาชนที่ยังสับสนหรือไม่มีข้อมูลให้เลิกต่อต้านมาตราการสาธารณสุขต่างๆ ได้

นอกจากจะเป็นช่องทางของการสื่อสารที่ถูกต้องแล้ว ผู้นำประเทศยังมีบทบาทสำคัญในการประสานงาน และเป็นตัวอย่างที่ ดีสำหรับพฤติกรรมต่างๆที่เหมาะสมต่อการป้องกันการแพร่ระบาด

ผู้เขียนระบุว่าการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโควิดในปีแรกของประธานาธิบดีสิบแปดมงกุฏของสหรัฐอเมริกา จัย โบลโซนาโร ของบราซิล และบอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร ไม่เหมือนกันหมดเสียทีเดียว แต่สิ่งที่ทั้งสามคนเหมือน กันคือความหยิ่งจองหองเป็นอย่างมากของแต่ละคนต่อการคุมคามของไวรัส ทั้งสามคนพยายามทำให้การระบาดเป็นเรื่อง เล็กน้อยมากรวมถึงการล้อเลียนภัยที่กำลังเกิดขึ้นด้วย ทั้งสามคนแสดงท่าทีดูถูกวงการวิทยาศาสตร์ที่ได้ระบุว่าโควิดเป็น ภัยคุกคามที่ร้ายแรง และทั้งสามฉวยโอกาสกับภัยพิบัตินี้เพื่อผลักดันประเด็นทางการเมืองของตนเองในการแบ่งแยกสังคม ของประเทศตนเอง

บทความเน้นว่าประธานาธิบดีสิบแปดมงกุฏของสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของผู้นำที่ผลาญศักยภาพของตำแหน่ง ผู้นำประเทศของตนที่จะช่วยลดผลกระทบของการระบาดนี้ให้น้อยที่สุดได้ ผู้เขียนบทความอ้างอิงถึงบทความในวารสาร Nature ซึ่งเป็นวารสารด้านวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าในช่วง 18 เดือนแรกของการระบาดนั้นรัฐบาลทรัมป์ได้ทำ 1) โกหกเกี่ยวกับอันตรายของไวรัสโคโรนาและขัดขวางมาตราการต่างๆที่จะควบคุมการแพร่ระบาด 2) จงใจบิดเบือนข้อมูลตั้งแต่ต้น 3) ล้อเลียนมาตราการการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และการสวมหน้ากากอนามัย 4) ยุยงให้ผู้คนต่อต้านขัดขืนมาตราการ ปิดเมืองที่มีเป้าหมายที่จะหยุดการแพร่เชื้อ และ 5) บีบคั้นและเซ็นเซอร์นักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลที่พยายามศึกษาเกี่ยวกับ ไวรัสโคโรนาและที่จะลดอันตรายของมัน นอกจากนั้นแล้ว Nature ยังกล่าวหาว่าประธานาธิบดีสิบแปดมงกุฏและคณะรัฐบาลของเขาพยายามทำให้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคและองค์การอาหารและยาเป็นเครื่องมือทางการเมืองของพวก เขาโดยการสั่งให้องค์กรทั้งสองให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องต่อสาธารณชนและในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือยาที่ยังไม่ได้รับการ พิสูจน์และอาจมีผลร้ายต่อการรักษาด้วย

ผู้เขียนกล่าวว่าผู้นำองค์กรหรือผู้นำประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะ ติดเชื้อความโอหังมักจะเป็นผู้ที่เพิ่งประสบความสำเร็จที่น่าทึ่งมากหรือท่ีองค์กรของเขาถูกยกระดับจนเป็นที่รู้จักกันอย่างโด่งดังโดยสื่อมวลชนหรือในเวลาหรือสถานการณ์ที่ไม่ แน่นอน

อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ไม่เชื่อว่าผู้นำของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาโรคระบาดโควิด19 จะไม่มีความ โอหัง แต่มีปัจจัยบางอย่างเช่นระบบการเมืองหรือระบบสังคมที่ป้องกันไม่ให้ผู้นำที่มีคุณสมบัติบางอย่างที่บอกว่าเป็นคนโอหังมีผลมากเกินไปต่อการแก้ไขปัญหาในบางเรื่อง

ผู้เขียนเตือนว่าไม่แต่เฉพาะการกระทำท่ีทำด้วยความโอหังเท่านั้นที่นำไปสู่ผลกระทบที่หายนะ เพราะบางครั้งความโอหังที่ไม่ทำอะไรเลยก็นำไปสู่ผลกระทบทางลบที่ร้ายแรงด้วยเพราะความหายนะที่ไม่คาดคิดมาก่อนสามารถบั่นทอนโครงสร้าง อำนาจเดิมที่มีอยู่ได้ ดังนั้นผู้นำที่หยิ่งจองหองอาจตัดสินใจว่าการรักษาอำนาจเดิมของตนเองมีความสำคัญกว่าการแก้ไข ปัญหาของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จึงตัดสินใจที่จะปฏิเสธว่าเกิดปัญหาขึ้นและเพิกเฉยไม่ให้ความสนใจกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือใช้ สื่อสังคมในการส่งเสริมความเชื่อที่ขัดกับความเป็นจริงแทน

ผู้เขียนทั้งสองฝากข้อคิดว่าผู้คนสร้างวีรบุรุษและยกย่องยกระดับพวกเขาให้อยู่ในสภาพที่ไม่สมจริง ผู้คนมอบศักยภาพและ ลักษณะที่เสมือนกับวีรบุรุษให้แก่คนที่มีชื่อเสียงโด่งดังซึ่งทำให้พวกเขามีอำนาจที่จะนำและจูงใจผู้คนทั้งในเรื่องที่ดีและที่ไม่ ดี ดังนั้นความโอหังในตัวมันเองนั้นถึงแม้ว่าจะสถิตอยู่ในผู้นำแต่มันเกิดขึ้นได้เพราะคนที่ตาม

_________________

[1] Study the role of hubris in nations’ COVID-19 response โดย Martha Lincoln เมื่อ 15 กันยายน 2563 https://www.nature.com/articles/ d41586-020-02596-8

[2] The mask of the red death: Leadership, hubris, and the COVID-19 crisis โดย Jaume Villanueva และ Harry J Sapienza ใน https:// journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/23409444211008906