ประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันฝีดาษลิง

บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ

ผลการวิจัยโครงการใหม่เกี่ยวกับวัคซีนป้องกันฝีดาษลิงก่อให้เกิดความกังวลว่าวัคซีนที่ใช้กันอยู่มีประสิทธิผลพอตามความหวังหรือไม่? รายงานผลของการวิจัยวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษในการป้องกันฝีดาษลิงได้รับการเผยแพร่ในเวปไซต์ medRxiv ซึ่ง[1]เป็นรายงานที่เผยแพร่ก่อนการทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญของวงการ (หรือ preprint) ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงว่า วัคซีนจีนนีโอส   (Jynneos)   ที่เป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นสำหรับไข้ทรพิษทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อฝีดาษลิงในระดับที่ต่ำและไม่สามารถต่อต้านไวรัสฝีดาษลิงได้ดีเท่าที่ควร ผลดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลต่อการนำเอาวัคซีนนี้ไปใช้สำหรับป้องกันการ ระบาดของฝีดาษลิง

ในเวปไซต์ STAT มีข่าวที่สรุปผลของการวิจัยดังกล่าวรวมทั้งความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อการนำเอาวัคซีนจีนนีโอสไปใช้ในการควบคุมการระบาดของฝีดาษลิงในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ[2]

งานวิจัยโดยศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยอีรามัส (Eramus University Medical Center) ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นการวิจัยขนาดเล็กที่มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเพียง 18 คนแสดงว่าการฉีดวัคซีนจีนนีโอสสองเข็มทำให้เกิดแอนติบอดีสำหรับ ไวรัสฝีดาษลิงใระะดับที่ค่อนข้างต่ำและแอนติบอดีดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสฝีดาษลิงที่ไม่ดี

ถึงแม้ว่านักวิจัยจะตั้งข้อสังเกตว่าสิ่งที่เรียกว่าความสัมพันธ์ในการป้องกัน (correlates of protection)   – หรือสิ่งที่รู้ กันว่าจำเป็นในด้านประสิทธิผลของระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันไวรัสฝีดาษลิง –  ยังไม่เป็นที่รู้จัก ถึงกระนั้นก็ตามหลักฐาน ของแอนติบอดีในการป้องกันที่ต่ำทำให้เกิดคำถามว่าการฉีดวัคซีนสองโด๊สจะสร้างการป้องกันได้มากเพียงใด   วัคซีนดัง กล่าวผลิตโดยบริษัทวัคซีนจากประเทศเดนมาร์กที่มีชื่อว่าบาวาเรียน นอร์ดิก (Bavarian Nordic)

นักวิจัยจากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยอีรามัสเขียนในรายงานผลการวิจัยว่าในขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าระดับแอนติบอดีในการป้องกันที่มีระดับต่ำนี้มีผลอย่างไรต่อการป้องกันโรคและการแพร่เชื้อ แต่หนึ่งในผู้เขียนอาวุโสของ รายงานผลการวิจัยกล่าวว่าสิ่งที่แน่นอนคือผู้ที่ได้รับฉีดวัคซีนนี้ต้องระมัดระวังไม่ด่วนสรุปว่าพวกเขาจะได้รับการป้องกันจาก การติดเชื้อ

พญ. มาเรียน โคปมันส์ (Dr. Marion Koopmans) ผู้อำนวยการของคณะวิทยาศาสตร์ไวรัส (viroscience) ของ มหาวิทยาลัยอีรามัส เตือนว่าไม่ควรคาดหวังว่าวัคซีนนี้จะสามารถทำให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบเต็มที่ (sterilizing immunity) ซึ่ง หมายถึงภูมิคุ้มกันที่จะสามารถกีดกั้นการติดเชื้อได้ทั้งหมด

พญ.  โคปมันส์ เสริมว่าการควบคุมการแพร่ระบาดจะต้องใช้ชุดเครื่องมือสำหรับลดการแพร่เชื้อซึ่งรวมถึงการแยก ผู้ป่วยออกจากผู้อื่น การติดตามและกักบริเวณผู้ที่ติดเชื้อ และการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ที่สัมผัสกับไวรัสแล้วหรือมีความเสี่ยงสูง ต่อการสัมผัสเชื้อ

ดร. พญ. อิงเกอร์ เดมอน (Dr. Inger Damon) หัวหน้าแผนกเชื้อโรคและพยาธิวิทยาที่มีผลกระทบสูง (Division of high-consequence pathogens and pathology) ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าการศึกษาว่าวัคซีน

ให้ความคุ้มครองแค่ไหนเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าคนที่สัมผัสกับไวรัสอาจเกิดการติดเชื้อได้จากการที่ เนื้อเยื่อสัมผัสกับแผลที่ติดเชื้อ เนื่องจากเนื้อเยื่อนั้นบอบบางกว่าผิวหนังจึงอาจเป็นไปได้ที่จะช่วยให้ไวรัสในปริมาณที่มาก แพร่เชื้อไปสู่คนที่สัมผัสกับมันได้

พญ. เดมอน กล่าวกับผู้สื่อข่าวของ STAT ว่าการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแผลที่เกิดจากโรคฝีดาษลิงเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และเราต้องสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาในการช่วยเหลือชุมชนที่มีความเสี่ยงให้เข้าใจว่าความรู้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ของเรายังจำกัดอยู่มาก และเสริมว่าพญ. โคปมันส์ได้แชร์ข้อมูลเหล่านี้กับศูนย์ควบคุมและป้องการโรคของสหรัฐอเมริกาแล้วเมื่อต้นเดือนกันยายนนี้

พญ. เดมอน อธิบายว่าเป้าหมายสำคัญของการศึกษานี้คือการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของโรคและการตอบ สนองของภูมิคุ้มกันต่อโรคกับเส้นทางการติดเชื้อต่างๆที่เราเชื่อว่าเรารู้อยู่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและจำเป็นที่จะ ต้องพยายามทำงานร่วมมือกัน มีการประสานงานร่วมมือกันเพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมในการหยุดการแพร่ระบาด ของโรค การสื่อสารด้านสุขภาพที่ดีและสารเกี่ยวกับการลดอันตรายที่มีประสิทธิภาพจะต้องเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้

จากผลต่างๆของการศึกษาของมหาวิทยาลัยอีรามัสสิ่งหนึ่งที่การศึกษานี้บอกคือการฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวดูเหมือนว่าจะเป็นการป้องกันที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทีมวิจัยเขียนว่า “การฉีดวัคซีนเข็มที่สองมีความสำคัญต่อการบรรลุถึงระดับ ของแอนติบอดีที่ตรวจพบได้ เนื่องจากบุคคลที่ได้รับฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวแทบจะไม่เกิดการตอบสนองของแอนติบอดีในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 หลังการฉีดวัคซีนเลย”   ข้อความดังกล่าวทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการชลอการฉีดวัคซีนเข็มที่สองออก ไปก่อนเพื่อเพิ่มจำนวนคนที่ได้รับฉีดวัคซีนเข็มแรกก่อนว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมหรือไม่?

การศึกษายังสะท้อนความไม่แน่ใจเกี่ยวกับการตัดสินใจล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอื่นๆที่จะยืด ปริมาณวัคซีนที่มีอยู่ออกไปด้วยการฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังซึ่งจะใช้วัคซีนในปริมาณเพียงหนึ่งในห้าของโด๊สปกติเท่าน้ัน การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังที่ใช้ขนาดวัคซีนที่น้อยกว่าแต่สามารถกระตุ้นให้เกิดการป้องกันได้ถูกแสดงว่าเป็นวิธีการใช้ วัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการระบาดของโรคอื่นและด้วยวัคซีนประเภทอื่น

การตัดสินใจใช้วัคซีนอย่างประหยัดโด๊สนี้ (ซึ่งจะทำให้คนจำนวนถึงห้าคนได้รับฉีดวัคซีนจากปริมาณของวัคซีนที่ ปกติใช้สำหรับเพียงหนึ่งคน) มาจากการวิจัยโครงการขนาดเล็กเพียงหนึ่งโครงการเป็นหลักซี่งการวิจัยนั้นเปรียบเทียบการ ตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีนอย่างประหยัดที่ฉีดเข้าชั้นผิวหนังจำนวนสองครั้งกับการฉีดวัคซีนเข้าใต้ ผิวหนังในโด๊สปกติจำนวนสองครั้งเช่นกัน การฉีดวัคซีนทั้งสองแบบดูเหมือนว่ามีผลเปรียบเทียบกันได้

แต่พญ. โคปมันส์ และเพื่อนร่วมงานรู้เกี่ยวกับผลลัพธ์ของการศึกษาวัคซีนไข้หวัดนกของมหาวิทยาลัยอีรามัสที่ทดสอบวัคซีนไข้หวัดนกที่ใช้ฉีดในปริมาณน้อยกว่าโด๊สปกติ วัคซีนไข้หวัดนกดังกล่าวมีแกนหลักเหมือนกับวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทบาวาเรียน นอร์ดิก

วัคซีนจีนนีโอสใช้ไวรัสแวคซิเนีย (vaccinia virus – ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษ) ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งเรียกว่า   “เอ็มวีเอ”   (MVA)   ซึ่งเป็นไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง   (attenuated   virus)   เช่นที่เคยใช้ทำเป็นวัคซีนสำหรับ ป้องกันไข้ทรพิษ (ที่ปัจจุบันไข้ทรพิษเป็นโรคระบาดที่ถูกกำจัดไปหมดแล้ว) เพื่อสอนให้ระบบภูมิคุ้มกันให้คอยระวังไวรัส ฝีดาษลิงซึ่งเป็นไวรัสที่เกี่ยวข้องกันกับไวรัสไข้ทรพิษ

วัคซีนป้องกันไข้หวัด (H5N1) ที่ถูกใช้ทดลองมีไวรัสเอ็มวีเอเป็นแกนหลัก รายงานผลของการวิจัยดังกล่าวแสดง ว่าการฉีดวัคซีนอย่างประหยัดโด๊สสองเข็มกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีที่ต่ำกว่าการฉีดวัคซีนแบบเต็มโด๊ส

ทีมวิจัยเขียนในรายงานว่าการวิจัยวัคซีนไข้หวัดนกแสดงว่าการฉีดวัคซีนอย่างประหยัดโด๊ส (dose-sparing) มีผล ทางลบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน

แต่ พญ. โคปมันส์ เตือนว่าการวิจัยวัคซีนไข้หวัดนกดังกล่าวใช้การฉีดวัคซีนแบบประหยัดโด๊สที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ไม่ใช่การฉีดเข้าชั้นผิวหนัง   และเสริมว่าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยอีรามัสกำลังวางแผนที่จะทดสอบว่าการฉีดวัคซีนจีนนีโอส เข้าชั้นผิวหนังจะมีผลดีกว่าหรือไม่ และทีมวิจัยกำลังรอการอนุมัติอยู่

เมื่อผู้สื่อข่าว STAT ถามว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรคิดใหม่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนจีนนีโอสแบบประหยัดโด๊สหรือ ไม่ พญ. โคปมันส์ ตอบว่าการฉีดเช่นนั้นควรต้องผ่านการทดสอบก่อน

ดร. นพ. ไมเคิล ออสเตอร์ฮอม (Dr. Michael Osterholm) ผู้อำนวยการของศูนย์การวิจัยโรคติดต่อและนโยบาย ของมหาวิทยาลัยมินนิโซตามีความเห็นคล้ายกัน เขาคิดว่าการตัดสินใจเปลี่ยนการฉีดวัคซีนเป็นแบบเศษส่วน (fractional dosing) เกิดขึ้นเร็วเกินไปและอ้างอิงจากข้อมูลที่น้อยเกินไป และให้ข้อคิดว่าในช่วงวิกฤตด้านสาธารณสุข บางครั้งเราก็ต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ข้อมูลจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอีรามัสเป็นข้อมูลประเภทที่เขาคิดว่าทุกคนต้องถอยออกมาและถามตัวเองว่าสิ่งนี้หมายความว่าอย่างไรสำหรับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในขณะนี้?

ดร. ออสเตอร์ฮอม ตระหนักว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีเครื่องมืออื่นๆให้เลือกมาก แต่ในขณะดียวกันหากว่า เครื่องมือที่มีใช้อยู่นี้ไม่เพียงพอต่องานที่จะต้องทำ   เราก็ต้องพิจารณาว่าเราจำเป็นที่จะต้องกลับไปฉีดวัคซีนแบบเต็มโด๊ส หรือไม่? เพราะเขาและผู้เชี่ยวชาญอื่นๆกังวลว่าคนที่ได้ฉีดวัคซีนนี้ไปแล้วจะสรุปว่าพวกเขามีการป้องกันในระดับที่สามารถ ป้องกันการติดเชื้อฝีดาษลิงได้แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เช่นนั้น

เนื่องจากผลของการวิจัยวัคซีนจีนนีโอสโดยมหาวิทยาลัยอีรามัสนี้เป็นเพียงผลเบื้องต้นที่ยังไม่ผ่านการทบทวน โดยผู้เชี่ยวชาญทีมวิจัยจึงเตือนว่าผลที่รายงานยังไม่ควรถือว่าเป็นแนวทางปฏิบัติทางคลินิก

 

____________

[1] https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2022.08.31.22279414v1

[2] Study raises concerns about the effectiveness of the monkeypox vaccine โดย Helen Branswell เมื่อ 2 กันยายน 2565 ใน https:// www.statnews.com/2022/09/02/study-raises-concerns-about-the-effectiveness-of-the-monkeypox-vaccine/