
บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
“ความตาย ความทุกข์ทรมาณไม่ใช่ความล้มเหลวของเทคโนโลยี่หรือความรู้ แต่เป็นความล้มเหลวของเจตจํานง” โดย เกร๊ก กอนซาเวส (Gregg Gonsalves)
เมื่อผมเป็นหนุ่มผมเฝ้าดูโรคระบาดหนึ่งที่กวาดล้างชีวิตคนหลายสิบคนที่ผมรู้จักและรักโดยพรากพวกเขาไปในขณะที่ผู้คน อีกมากมายดำเนินชีวิตอย่างเพลิดเพลินไปตามปกติเท่านั้น การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ที่เริ่มต้นในทศวรรษ 1980 เหมือน กับที่ วิโต รุสโซ (Vito Russo) นักเคลื่อนไหวที่ล่วงลับกล่าวไว้ว่า “เหมือนกับมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสงครามซึ่งกำลังเกิดขึ้นกับ คนที่อยู่ในสนามเพลาะเท่านั้น”
สี่สิบปีต่อมา ผมในฐานะนักระบาดวิทยาต้องเป็นพยานอีกครั้งในการเฝ้ามองการระบาดของไวรัสที่ทำร้ายชุมชนชายเกย์ ของผม โรคฝีดาษลิงในมนุษย์ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นโรคที่เกิดเฉพาะถิ่นในภูมิภาคอาฟริกาตะวันตกและอาฟริกากลาง แต่ใน ปัจจุบันมีผู้ป่วยมากกว่า 50,000 รายที่มีการรายงานในเกือบ 100 ประเทศตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เช่นเดียวกับการแพร่ระบาดของโรคเอดส์การตอบสนองที่เฉื่อยชาจากรัฐบาลและ สถาบันระหว่างประเทศบวกกับความรังเกียจผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกันและการทำงานผิดพลาดของระบบราชการ เป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามต่างๆที่จะควบคุมการแพร่ระบาด
บ่อยครั้งมากที่มนุษยชาติมีความสามารถในการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อ แต่การไม่ทำเช่นนั้นเป็นทางเลือกทางการเมือง ผมและคนอื่นๆใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการเรียกร้องสำหรับการเข้าถึงการตรวจโรคฝีดาษลิงที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งในสหรัฐอเมริกา ถูกรวมศูนย์ไว้ที่แผนกสาธารณสุขของแต่ละรัฐ จนกระทั่งในที่สุดศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคได้อนุญาตให้ธุรกิจเอกชน ทำการตรวจได้ ในขณะที่เกย์หลายร้อยคนต่อแถวรอรับฉีดวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพบาวาเรียน นอร์ดิก (Bavarian Nordic) ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเฮลเลอรัป ประเทศเดนมาร์ก สำนักงานพัฒนาและวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ระดับสูง (Biomedical Advanced Research and Development Authority) มีวัคซีนดังกล่าวจำนวน 300,000 โด๊สที่รัฐบาล สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของและเก็บไว้ในโคเปนเฮเกน ในเดือนสิงหาคมรัฐบาลสหรัฐอเมริกาตัดสินใจ — แทนที่จะเร่งดำเนิน การขยายการผลิตวัคซีนทันที — แบ่งวัคซีนหนึ่งโด๊สออกเป็นห้าส่วนสำหรับฉีดเข้าชั้นผิวหนัง การตัดสินใจดังกล่าวไม่ได้ เกิดขึ้นโดยไม่มีการโต้แย้ง
ในขณะเดียวกัน หัวหน้าขององค์การอนามัยโลกต้องกลับการตัดสินใจของคณะกรรมการที่ปรึกษาขององค์กรที่กำลังต่อล้อ ต่อเถียงกันเองเพื่อประกาศให้โรคฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก
ในปีคศ. 2018 ผมได้พูดว่า “โรคติดเชื้อจะอยู่กับเราเสมอ แต่การระบาดระดับใหญ่ของโรคติดเชื้อเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น” เพราะผมครุ่นคิดเกี่ยวกับการระบาดของอีโบลาซึ่งในขณะนั้นกำลังแพร่ระบาดในอาฟริกาตะวันตก การแพร่ระบาดของ อหิวาตกโรคในเฮติที่เริ่มจากกองกำลังรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติในปีคศ. 2010 และการแพร่ระบาดของ โรคเอดส์ การตอบสนองต่อโรคเอดส์ อีโบลา อหิวาตกโรค ฝีดาษลิง และโรคอื่นๆอีกหลายโรคที่ถูกละเลย ซึ่งรวมถึงโรคที่ เป็นฆาตกรรายสำคัญ เช่น วัณโรค ไม่ได้เป็นเพียงความประมาทเลินเล่อ แต่มันเป็นนโยบายสาธารณะที่โอบรับความทุกข์ ทรมานและความตาย แม้แต่ภาษาของเราก็ยังแสดงถึงการหลบเลี่ยง วลีที่ว่า ‘โรคที่ถูกละเลย’ ก็ยังหลีกเลี่ยงคำถามว่า: ละเลยโดยใคร?
เพียงแค่ดูตัวอย่างของสหรัฐอเมริกาที่ยอมจำนนต่อโควิด-19 การที่มีคน 400–500 คนที่เสียชีวิตในแต่ละวัน แต่ผู้ที่มีอำนาจ ตัดสินใจว่ามีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่สำคัญพอ[และปล่อยให้ตายได้] ตามที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าว ว่าเราเบื่อกับโรคระบาดขนาดใหญ่นี้แล้ว อย่างไรก็ตามเราไม่ได้ใส่ใจมากนักกับการฆ่าคนจำนวนมากเช่นนี้ ซึ่งเรา สามารถทำได้มากกว่านี้แต่ตัดสินใจที่จะไม่ทำ
สหรัฐอเมริกาจัดสรรงบประมาณสำหรับสาธารณสุขค่อนข้างน้อย — น้อยกว่า 2 เซ็นต์สำหรับทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ต้องจ่ายไป เพื่อดูแลสุขภาพ — และปล่อยให้เวชศาสตร์คลินิกเก็บตกชิ้นส่วนเล็กๆน้อยๆเมื่อคนต้องเข้าโรงพยาบาล สหรัฐอเมริกาจึง ต้องรับกับภัยพิบัติต่างๆเนื่องจากไม่ยอมลงทุนสำหรับการคุ้มครองทางสังคม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะมีการใช้จ่ายด้านการ ดูแลสุขภาพเป็นจำนวนมาก แต่สหรัฐอเมริกาก็ยังอยู่ในอันดับที่ 40 เมื่อจัดลำดับประเทศต่างๆตามช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ (life expectancy) รองจากประเทศที่ยากจนกว่าหลายๆประเทศ เนื่องจากสุขภาพถูกกำหนดโดยปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่ พวกเราในประเทศหากเลือกได้จะไม่ยอมรับมากกว่า และถึงแม้ว่าเราจะเพิกเฉยต่อฝีดาษลิงในอาฟริกามาเป็นเวลาหลาย สิบปีแล้ว ไวรัสนี้ ร่วมทั้งไวรัสซาร์สโควีทู (SARS-CoV-2) และไวรัสเอชไอวีแสดงให้เห็นว่าจุลินทรีย์มีวิธีการที่ทำให้โลกมี ขนาดเล็กมากจนไม่มีที่ให้หลบซ่อนได้อย่างไร
ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ ในฐานะแพทย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข เราทำงานตามหน้าที่ของเราในห้องทดลอง ของเรา ข้างเตียงผู้ป่วย ที่แล็ปท็อปของเรา เราเรียนรู้มากมายเกี่ยวกับโรค และได้พัฒนาวัคซีนและการรักษาสำหรับผู้ป่วย ที่มาที่คลินิกของเรา แต่บางทีเราจำเป็นต้องทำมากกว่านี้
บางคนอาจรู้สึกหงุดหงิดกับความคิดที่ว่านักวิจัยจำเป็นต้องเป็นนักรณรงค์ด้วย แต่ประวัติศาสตร์ด้านสาธารณสุขและการ แพทย์แสดงให้เห็นว่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบางอย่างของเราไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี ความสำเร็จเหล่านั้นเกิดขึ้นเมื่อเรา ผลักดันเพื่อสิ่งที่ถูกต้อง: การรณรงค์ด้านสุขอนามัยของศตวรรษที่สิบเก้า การต่อสู้เพื่อโครงการดูแลสุขภาพระดับประเทศ ทั่วยุโรปในศตวรรษที่ 20 โครงการทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ 1930 และ 1960 ในสหรัฐอเมริกาที่ขยายความ ความมั่นคงทางสังคมของเรา การต่อสู้เพื่อการเข้าถึงยาสำหรับรักษาเอดส์ในอาฟริกาในศตวรรษที่ 21 ความสำเร็จเหล่านี้ ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณเรา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำสิ่งที่สำคัญหลายอย่างที่ทำให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น และทำให้พวกเขามีอายุยืนยาวขึ้น
สอง-สามเดือนที่ผ่านมาและหลายปีที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่ท้าทาย เราควรร่วมมือกันแก้ปัญหา การแสวงหาการดูแลสุขภาพ สำหรับทุกคนเพื่อให้ได้มาซึ่งการคุ้มครองทางสังคมที่จะทำให้สิ่งพื้นฐานในชีวิตเป็นมากกว่าความหรูหรา และเพื่อให้ บริการแก่ชุมชนชายขอบและชุมชนที่ถูกทอดทิ้งที่ยังเป็นสิ่งที่ไม่เสร็จสมบูรณ์ แม้ว่าหลายคนต่อสู้เพื่อเป้าหมายเหล่านี้มา เป็นเวลาหลายปีแล้วก็ตาม ในความเป็นจริงในหลายๆแห่งถือว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่หลายคนคิดว่าเป็น ‘เศรษฐศาสตร์ที่รอบคอบ’ และ ‘ธรรมาภิบาลที่ดี’
ความคิดที่ว่าการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางการแพทย์เป็นสิ่งที่มนุษยชาติจำเป็นจะต้องมีเพื่อความปลอดภัย หรือที่ว่าการ เตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่สามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องแก้ไขจุดอ่อนที่เป็นรากฐานที่สำคัญในวิถีชีวิตของเรา จะทำให้เราผิดหวังมากกว่าเดิม เพราะมันจะทำให้เราเปราะบางซ้ำอีกเมื่อมีไวรัสตัวต่อไปที่แพร่กระจายไปทั่วโลกและต่อ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เป็นเวลาที่นานเกินไปแล้วที่เราเต็มใจที่จะเสียสละผู้คนจำนวนหนึ่งเพื่อ ปกป้องสภาวะเดิมที่เป็นอยู่ ไวรัสบางชนิดอาจรุนแรงถึงตายได้แต่พวกมันต้องการความช่วยเหลือจากเราเพื่อทำให้เกิด ความหายนะ
เกร๊ก กอนซาเวส เป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพโลก นักระบาดวิทยา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่โรงเรียน สาธารณสุขของมหาวิทยาลัยเยล และรองศาสตราจารย์นิติศาสตร์ของโรงเรียนนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเยล สมัยเรียนมหาวิทยาลัยเขาเรียนด้านอักษรศาสตร์ (วรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน และภาษารัสเซียและวรรณคดีรัสเซีย) แต่เรียนไม่จบ เขาเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ด้านเอดส์กับกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่รวม ตัวกันเรียกว่าแอคท์ อัพ (ACT UP – AIDS Coalition to Unleash Power หรือเครือข่ายพันธมิตรเอดส์เพื่อปลดปล่อยพลัง) ของเมืองนิวยอร์คเมื่อปี 1990 และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการด้านการรักษาและข้อมูล (Treatment and Data Committee) เขาได้รับการวินิจฉัยว่าติดเอชไอวีในปี 1995
สมาชิกของคณะกรรมการด้านการรักษาและข้อมูลต้องสอนตัวเองเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆรวมทั้งแพทยศาสตร์ (และอาการที่เกี่ยวกับโรคเอดส์ต่างๆ) เภสัชศาสตร์และการวิจัยทางคลินิกเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นต่อวิทยาศาสตร์ และเพื่อที่จะสามารถเจรจาเรียกร้องกับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยได้อย่างมีเหตุผลและในประเด็นที่สามารถทำได้จริง สมาชิกหลายคนรวมตัวกันเป็นกลุ่มการศึกษาที่พบกันทุกอาทิตย์เพี่อศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆร่วมกันซึ่งต่อมา สมาชิกของคณะกรรมการด้านการรักษาและข้อมูลหลายคนกลับไปเรียนแพทยศาสตร์และกลายเป็นแพทย์หรือนักวิจัยเอง
ในช่วงที่เป็นสมาชิกของแอคท์ อัพ เกร๊ก กอนซาเวส ได้เขียนรายงานเกี่ยวกับการวิจัยด้านเอชไอวีหลายฉบับรวมทั้ง รายงานที่วิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์การวิจัยด้านเอชไอวีของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) สหรัฐอเมริกาที่ส่งผลทำให้รัฐสภาของสหรัฐอเมริกาต้องปฏิรูปโครงการด้านเอดส์ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ
หลังจากแอคท์ อัพ เขาและเพื่อนร่วมงานจากคณะกรรมการด้านการรักษาและข้อมูลร่วมกันก่อตั้งกลุ่มปฏิบัติการเพื่อการ รักษา (Treatment Action Group หรือ TAG) ในปี 1992 ซึ่งเป็นกลุ่มทำงานที่เน้นด้านวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยและการรักษา เอชไอวี/เอดส์
นอกจากการรณรงค์เพื่อการเข้าถึงการรักษาในสหรัฐอเมริกาแล้ว เขาได้ทำงานรณรงค์เกี่ยวกับการเข้าถึงการรักษาด้วยยา ต้านไวรัสเอชไอวีในประเทศอาฟริกาใต้เป็นเวลาหลายปี
หลังจากกลับจากอาฟริกาใต้ เกร๊ก กอนซาเวส เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเยลด้านสิ่งแวดล้อมและชีวศาสตร์ และจบด้วย ปริญญาเอกด้านระบาดวิทยาที่เกี่ยวกับจุลินทรีย์
หลังจากที่จบปริญญาเอกแล้ว เขาเป็นหนึ่งของผู้ริเริ่มก่อตั้งภาคีเพื่อความยุติธรรมของสุขภาพโลก (Global Health Justice Partnership) ของมหาวิทยาลัยเยล
นอกจากงานสอนแล้ว เขาเขียนบทความแสดงความคิดเห็นเป็นประจำในหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆเช่น The New York Times, The Washington Post และ Foreing Policy
เกร็ก กอนซาเวศ และ มาร์ค ฮาร์ริงตัน (Mark Harrington) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มปฏิบัติการเพื่อการรักษา (TAG) เป็นนัก เคลื่อนไหวด้านเอดส์เพียงสองคนที่ได้รับรางวัลทุนแมคอาเธอร์ (MacArthur Fellowship) หรือที่เรียกกันว่าทุนสำหรับ อัจฉริยะ (Genius Grant)
________________________
Monkeypox, COVID-19, AIDS: have we progressed so little? โดย Gregg Gonsalves เมื่อ 13 กันยายน 2565 ใน https://www.nature.com/articles/d41586-022-02917-z

