ในประเทศไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สุขภาพของคนข้ามเพศได้กลายเป็นจุดสนใจในการแก้ปัญหาเอชไอวีของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาชุดบริการสุขภาพสำหรับคนข้ามเพศอย่างครบวงจร เนื่องจากกลุ่มคนข้ามเพศต้องเผชิญกับอุปสรรคการเข้าถึงบริการสุขภาพ หลายคนถูกตีตราและเลือกปฏิบัติเมื่อเข้ารับบริการตามโรงพยาบาลทั่วไป ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2558 ศูนย์สุขภาพชุมชนแทนเจอรีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “คลินิกแทนเจอรีน” ได้รับการจัดตั้งขึ้น เพื่อยุติอุปสรรคดังกล่าวและสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มคนข้ามเพศ คลินิกแทนเจอรีน จึงกลายเป็นคลินิกเฉพาะทางสำหรับคนข้ามเพศแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ปัจจุบัน คลินิกแทนเจอรีนได้ให้บริการรักษาเฉพาะทางแก่คนข้ามเพศไปแล้วกว่า 3,500 ราย โดยมีจำนวนผู้แวะเวียนเข้ามาใช้บริการมากกว่า 10,400 ครั้ง มีผู้รับบริการกว่า 3,160 ราย ได้รับบริการเอชไอวี โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีความเชี่ยวชาญและเป็นคนข้ามเพศเช่นเดียวกัน โดย 94% ของผู้ที่ตรวจพบเชื้อเอชไอวีได้รับการนำเข้าสู่ระบบการรักษาภายในวันเดียวกับที่ตร วจพบเชื้อเอชไอวี ตลอดหลายปีที่ผ่านมา คลินิกแทนเจอรีน เดินหน้าหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้คนข้ามเพศสามารถเข้าถึงการให้บริการด้านเอชไอวีได้มากที่สุด โดยหนึ่งในนั้น คือ การใช้อินฟลูเอนเซอร์บนสื่อโซเชียลมาช่วยสร้างแรงจูงใจและความเชื่อมั่นแก่กลุ่มเป้ าหมาย ทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงสุขภาพของตนเองและเริ่มที่จะเข้ามาใช้บริการด้านเอชไอ วีมากขึ้น ผล คือ มีคนข้ามเพศกว่า 70% เข้าถึงบริการของเราผ่านทางอินฟลูเอนเซอร์ และมีตัวเลขผู้ที่เข้ามาตรวจคัดกรองเอชไอวีสูงถึง 96%

ในปี พ.ศ. 2560 คลินิกแทนเจอรีนได้ขยายรูปแบบการให้บริการไปยังศูนย์สุขภาพชุมชนอื่นๆ ในกรุงเทพฯ พัทยา และเชียงใหม่ เพื่อให้ชุมชนคนข้ามเพศทั่วประเทศไทยสามารถเข้าถึงการบริการด้านเอชไอวี เราให้การสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อจัดตั้งคลินิกเฉพาะทางของชุมชนและแพ็คเกจก ารให้บริการสุขภาพ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของชุมชน เก็บรวบรวบข้อมูล เพิ่มขีดความสามารถ และเตรียมตัวก่อนเริ่มปฏิบัติจริง นอกจากนี้เรายังคอยปรับปรุงคุณภาพการให้บริการเพื่อให้ได้มาตรฐานสูงสุดพร้อมกั บสนับสนุนความต้องการของศูนย์สุขภาพชุมชน จนถึงขณะนี้ คลินิกแทนเจอรีนได้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ศูนย์สุขภาพชุมชน 8 แห่งในประเทศไทย ซึ่งมีคนข้ามเพศเกือบ 1,000 รายได้รับการบริการ

เนื่องด้วย รูปแบบการให้บริการของคลินิกแทนเจอรีนได้รับความสนใจอย่างยิ่งทั้งในประเทศแล ะต่างประเทศ IHRI จึงเห็นถึงความจำเป็นในการจัดตั้ง “แทนเจอรีนอะคาเดมี” เพื่อเป็นเวทีสนับสนุนด้านวิชาการในระดับภูมิภาค ที่มีการพัฒนาเครื่องมือ หลักสูตรการอบรม และทรัพยากรที่ให้การสนับสนุนรูปแบบบริการสุขภาพแก่คนข้ามเพศ แทนเจอรีนอะคาเดมีช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรต่างๆ ในการจัดตั้งคลินิกสุขภาพสำหรับคนข้ามเพศที่มีชุดบริการที่ครอบคลุม

ในปี พ.ศ. 2561 คลินิกแทนเจอรีนให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่โครงการ USAID PATH Healthy Market ในประเทศเวียดนาม เพื่อจัดตั้งคลินิกสำหรับคนข้ามเพศในเมืองโฮจิมินห์ และฮานอย ทีมงานได้จัดโปรแกรมฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ชุมชน โดยถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่ การรักษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ตรงกับเพศภาวะโดยใช้ฮ อร์โมน การบริการด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด การประเมินและสนับสนุนสภาพจิตใจแก่ผู้รับบริการ โดยคลินิกแทนเจอรีนยังคอยสนับสนุนในการติดตามผลเพื่อให้แน่ใจว่าคนข้ามเพศจะได้รับการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมากที่สุด

ในระดับภูมิภาค

รูปแบบการจัดบริการสุขภาพของคลินิกแทนเจอรีน กลายเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ ในการจัดตั้งสถานบริการสุขภาพในรูปแบบเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือ Victoria by LoveYourself ศูนย์สุขภาพชุมชนที่เป็นคลินิกเฉพาะทางสำหรับคนข้ามเพศแห่งแรกของประเทศฟิลิ ปปินส์ ที่ได้นำรูปแบบการให้บริการของเราไปใช้ โดยทางคลินิกได้เสนอบริการที่เกี่ยวข้องกับการข้ามเพศ เช่น บริการสุขภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ตรงกับเพศภาวะ พร้อมกันนั้น ยังจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความตระหนักและให้ความรู้เกี่ยวกับคนข้ามเพศให้แก่ชุมชน

เนื่องด้วย รูปแบบการให้บริการของคลินิกแทนเจอรีนได้รับความสนใจอย่างยิ่งทั้งในประเทศแล ะต่างประเทศ IHRI จึงเห็นถึงความจำเป็นในการจัดตั้ง “แทนเจอรีนอะคาเดมี” เพื่อเป็นเวทีสนับสนุนด้านวิชาการในระดับภูมิภาค ที่มีการพัฒนาเครื่องมือ หลักสูตรการอบรม และทรัพยากรที่ให้การสนับสนุนรูปแบบบริการสุขภาพแก่คนข้ามเพศ แทนเจอรีนอะคาเดมีช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรต่างๆ ในการจัดตั้งคลินิกสุขภาพสำหรับคนข้ามเพศที่มีชุดบริการที่ครอบคลุม

ในปี พ.ศ. 2561 คลินิกแทนเจอรีนให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่โครงการ USAID PATH Healthy Market ในประเทศเวียดนาม เพื่อจัดตั้งคลินิกสำหรับคนข้ามเพศในเมืองโฮจิมินห์ และฮานอย ทีมงานได้จัดโปรแกรมฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ชุมชน โดยถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่ การรักษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ให้ตรงกับเพศภาวะโดยใช้ฮ อร์โมน การบริการด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด การประเมินและสนับสนุนสภาพจิตใจแก่ผู้รับบริการ โดยคลินิกแทนเจอรีนยังคอยสนับสนุนในการติดตามผลเพื่อให้แน่ใจว่าคนข้ามเพศจะได้รับการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมากที่สุด

การวิจัยสุขภาพของคนข้ามเพศ

เพื่อเป็นการเร่งยุติปัญหาเอชไอวี ได้มีความพยายามที่จะขยายผลงานวิจัยเรื่องการใช้เพร็พในกลุ่มคนข้ามเพศ เมื่อปี พ.ศ. 2561 ทางแทนเจอรีนได้ดำเนินงานวิจัยชื่อ iFACT

เพื่อศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์กันของการใช้เพร็พควบคู่กับการใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ และ การใช้ยาต้านไวรัสควบคู่กับการใช้ฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ ผลพบว่า การใช้เพร็พในหญิงข้ามเพศไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระดับของฮอร์โมนในการข้ามเพศให้ ลดลงแต่อย่างใด

ดังนั้น หญิงข้ามเพศสามารถกินเพร็พเพื่อป้องกันเอชไอวีควบคู่ไปกับการใช้ฮอร์โมนได้ แต่อย่างไรก็ตาม เราพบว่าการใช้ฮอร์โมนเพื่อการช้ามเพศควบคู่กับยาต้านไวรัสเอชไอวี อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของตัวยาต้านและฮอร์โมนลดลงได้ ในปี พ.ศ. 2563 นี้เอง เราได้พัฒนาออกแบบงานวิจัยสำหรับคนข้ามเพศเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ โดยมุ่งไปที่การประเมินปฏิกิริยาระหว่างยาในด้านเภสัชจลนศาสตร์ ในทำนองเดียวกันกับ iFACT

สถาบันเพื่อสุขภาพคนข้ามเพศแทนเจอรีน หรือ “แทนเจอรีนอะคาเดมี”

การพัฒนาการรับบริการด้านเอชไอวีในชุมชนคนข้ามเพศเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้ นในไม่กี่ปีที่ผ่านมา เอกสารและเครื่องมือทางวิชาการที่เกี่ยวข้องมากมายได้รับการพัฒนา ซึ่งรวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติด้านการป้องกันเอชไอวีขององค์กรอนามัยโลก ( WHO Consolidated guidelines on HIV) แนวทางการบำบัดฟื้นฟูชุมชนกลุ่มเป้าหมาย (treatment and care for key communities) แนวทางการดำเนินโครงการเกี่ยวกับเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของคนข้ามเ พศ (TRANSIT) และแผนงานสุขภาพคนข้ามเพศ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (the Asia- Pacific Regional Trans Health Blueprint)

โดยสถาบันทางการแพทย์และศูนย์สุขภาพชุมชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีความสนใจเป็นอย่างมากในการนำโมเดลของแทนเจอรีนไปใช้ในสถานบริการสุขภ าพของตนเอง ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการIHRI จึงได้ขับเคลื่อนโมเดลของแทนเจอรีนเข้าสู่ระดับสากลด้วย “แทนเจอรีนอะคาเดมี” เวทีให้บริการทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้ระดับภูมิภาคเพื่อการพัฒนารูปแบบบริ การสุขภาพของคนข้ามเพศให้กับองค์กรที่ต้องการนำโมเดลของเราไปใช้ โดยแทนเจอรีนอะคาเดมีจะให้การสนับสนุนด้านวิชาการและแนวทางการเพิ่มขีดควา มสามารถผ่าน 3 แผนการดำเนินงานหลักดังต่อไปนี้

จัดหลักสูตรการฝึกงานเป็นระยะเวลา 1 ถึง 3 สัปดาห์ โดยจะเป็นรูปแบบการฝึกปฏิบัติงานไปพร้อมกับการทำงานจริง หลักสูตรประกอบไปด้วย วิชาบังคับ และวิชาเลือกที่ปรับให้เหมาะกับความสนใจของผู้เข้าร่วมหลักสูตร

มีแบบทดสอบก่อนและหลัง (Pre-Test/Post-Test) เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจและขีดความสามารถของผู้เข้าร่วมหลักสูตร และกำหนดวิชาเลือก ได้แก่ การตรวจคัดกรองด้วยการส่องดูทวารหนักแบบความละเอียดสูง (high-resolution anoscopy) การตรวจช่องคลอดใหม่ (neo-vaginoscopy) การพัฒนาสื่อการสื่อสารที่ตรงเป้าหมาย (targeted communication materials) การนำข้อมูลมาปรับปรุงการให้บริการ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และวิชาอื่นๆ ตามความต้องการ

ทางด้านการสอนจะประกอบไปด้วย การบรรยาย การจัดประชุม case conferences การสังเกตการณ์ในสถานที่จริง การมอบหมายงานและฝึกฝนตามหัวข้อและทักษะ ทั้งหมดดำเนินการฝึกสอนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ผู้จัดการคลินิก ผู้ให้การปรึกษา และเนวิเกเตอร์

หลักสูตรการฝึกงานนี้เหมาะสำหรับ เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน แพทย์ พยาบาล ผู้ให้การปรึกษา และนักสังคมสงเคราะห์ โดยจะมีประกาศนียบัตรรับรองการฝึกงานหลังจากสำเร็จหลักสูตร

วิชาบังคับมีดังต่อไปนี้:

แทนเจอรีนอะคาเดมีการลงพื้นที่ไปยังองค์กรต่างๆ เพื่อให้การสนับสนุนด้านวิชาการในการจัดชุดบริการและจัดตั้งคลินิกสำหรับคนข้ามเ พศ โดยจะปรับรูปแบบการให้บริการออกเป็น 3 รูปแบบเพื่อให้เข้ากับศูนย์สุขภาพชุมชนที่แตกต่างกันในแต่ละแห่ง

โดยรูปแบบดังกล่าวได้แก่
1) Sisters as a standalone trans health clinic;
2) Mplus as a hybrid model in MSM health clinic; and
3) Tangerine as an integrated trans health service clinic embedded in a public health/hospital facility.

แผนการดำเนินงานนี้ยังรวมถึงการประเมินงาน การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ การให้คำปรึกษา การจัดตั้งชุดบริการ การเก็บรวบรวมข้อมูล dry runs of service flow การปรับปรุงคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ โดยจะมีการสนับสนุนด้านวิชาการทั้งแบบครั้งเดียว และแบบต่อเนื่อง ตามความต้องการของแต่ละองค์กร

นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ได้ศึกษาดูการทำงานของ KPLHS โดยมีข้อกำหนดเบื้องต้น คือ ทางองค์กรจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 1 ราย มาศึกษาดูงานและต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรของเราก่อน จึงจะสามารถแจ้งความประสงค์ขอรับการสนับสนุนทางด้านวิชาการจากแผนการดำเ นินงานนี้ได้

นอกเหนือจากการสนับสนุนทางด้านวิชาการแล้ว แทนเจอรีนอะคาเดมียังมีพื้นที่การเรียนรู้ทางออนไลน์ที่เปิดให้ผู้ใช้งานเข้าร่วมเรียนค อร์สต่างๆ ได้แบบออนไลน์ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่

ระดับประกาศนียบัตร: คอร์สเรียนออนไลน์ระดับสูง โดยจะมีการออกประกาศนียบัตรรับรองเมื่อเรียนจบ และสามารถต่ออายุได้ทุก 2 ปี ด้วยคอร์สเรียนแบบทบทวน ทั้งนี้ผู็เรียนจำเป็นต้องลงทะเบียนเพื่อที่จะสามารถเข้าเรียนออนไลน์ได้

ระดับพื้นฐาน: คอร์สเรียนสำหรับบุคคลทั่วไปที่เปิดให้ผู้ที่มีความสนใจสามารถเข้ามาเรียนได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนและไม่มีประกาศนียบัตรมอบให้  

แหล่งความรู้และคอร์สการเรียนรู้เรื่องสุขภาพของคนข้ามเพศด้วยตัวเอง

1) คู่มือการให้บริการสุขภาพคนข้ามเพศประเทศไทย ฉบับภาษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 (2563)

2) คู่มือการให้บริการสุขภาพคนข้ามเพศประเทศไทย ฉบับภาษาอังกฤษ พิมพ์ครั้งที่ 1 (2564)

3) สุขภาพคนข้ามเพศ 101, คอร์สการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (2564)