บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
การวิจัยขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเพศชายที่มีเอชไอวีมากกว่า 20,000 คนในสหรัฐอเมริกาแสดงว่ายาต้านไวรัสเอชไอวีทีดีเอฟ (TDF – tenofovir disoproxil fumarate) อาจช่วยป้องกันการป่วยโควิดที่มีอาการ หรือการป่วยเป็นโควิดที่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล และ/หรือที่รุนแรงจนต้องได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก (intensive care) [1]
การวิจัยดังกล่าวนำโดยนักศึกษาปริญญาเอก กุลลิน ลี (Guilin Li) จากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ร่วมกับกระทรวงการทหารผ่านศึก (Veterans Administration – VA) ของสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการรักษาที่เกี่ยวกับโควิดในอดีตทหารที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ยาทีดีเอฟ (TDF) หรือยาแทฟ (TAF – tenofovir alafenamide ซึ่งเป็นยาสูตรใหม่ของ TDF) หรือยาอะบาคาเวียร์ (abacavir) ที่เป็นยาต้านไวรัสกลุ่ม nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NRTI) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย หรือผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาใดใดที่ระบุไปแล้วเลย
การวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยากลุ่ม NRTI อีก 2 ชนิด ผู้ที่กินยาทีดีเอฟมีโอกาสที่จะเป็นโควิด-19 ที่ออกอาการตำ่กว่าผู้ที่กินยาต้านไวรัสอื่น 35% และมีความเสี่ยงต่อการป่วยอาการหนักจนได้รับการรักษาในโรงพยาบาลต่ำกว่า 57% และความเสี่ยงของการได้รับการรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยหนักลดลง 43% – แม้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายจะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมการวิจัยเพียงคนเดียวที่รับยาทีดีเอฟที่ต้องได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก
ความเป็นมา
การวิจัยก่อนหน้านี้หลายโครงการแสดงหลักฐานเบื้องต้นว่ายาทีดีเอฟอาจมีผลต่อโควิด ในเดือนมิถุนายน 2020 ผลของการวิจัยในประเทศสเปนแสดงว่าอัตราการติดเชื้อโควิด-19 และการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ที่ได้รับยาทีดีเอฟนั้นต่ำกว่าผู้ที่กินยากลุ่ม NRTI อื่นประมาณครึ่งหนึ่ง
การวิจัยอีกโครงการหนึ่งจากอาฟริกาใต้ที่เผยแพร่ผลตามหลังโครงการของสเปนไม่นานเป็นการวิจัยโครงการแรกที่พบว่าผู้มีเอชไอวีมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการติดเชื้อการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตจากโควิดสูงกว่าผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี นอกจากนั้นแล้วการวิจัยโครงการนี้ยังพบว่าความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิดในผู้มีเชื้อเอชไอวีลดลง 58% หากกินยาทีดีเอฟ
ผลของยาทีดีเอฟไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ที่มีเอชไอวีเท่านั้น การวิจัยโครงการหนึ่งจากสเปนเช่นกันและเปิดเผยผลในเดือน มิถุนายน คศ. 2021 (พศ. 2564) เกี่ยวกับผู้ที่กินยาทีดีเอฟสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังพบว่าการเป็นโควิดที่รุนแรงในผู้ที่ใช้ ทีดีเอฟนั้นต่ำกว่าผู้ป่วยโควิดที่ได้รับการรักษาตับอักเสบบีด้วยยาตับอักเสบบีเอนเทคาเวียร์ (entecavir) ซึ่งเป็นยาสำหรับตับอักเสบบีอีกชนิดหนึ่ง และระยะเวลาพักรักษาโควิดในโรงพยาบาลของผู้ที่กินทีดีเอฟต่ำกว่าถึงสามเท่า
หลักฐานของผลของทีดีเอฟจากการวิจัยเหล่านี้หนักแน่นพอประมาณเนื่องจากการวิจัยเหล่านั้นศึกษาเฉพาะกรณีในช่วงสองสามเดือนแรกของการระบาดของโควิด และเนื่องจากจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยจากสเปนทั้งสองโครงการเป็นจำนวนที่ค่อนข้างน้อย ใน กรณีของการวิจัยในอาฟริกาใต้นั้นถึงแม้ว่าจำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัยจะมากแต่อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อยเนื่องจากผู้เข้าร่วม การวิจัยเป็นกลุ่มคนที่อายุน้อย
ผู้เขียนข่าวใน nam aidsmap ตั้งข้อสังเกตว่าความสัมพันธ์ระหว่างยาทีดีเอฟกับความเสี่ยงต่อโควิดที่ต่ำกว่าไม่พบในการวิจัยทุกโครงการ และอาจเป็นไปได้ว่าอุบัติการณ์และความรุนแรงของอาการโควิด-19 ที่ลดลงในผู้ที่ใช้ทีดีเอฟอาจเป็นเพราะผู้ที่มี ปัญหาไตซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงปัจจัยหนึ่งสำหรับโควิดมีแนวโน้มที่จะได้รับการสั่งจ่ายทีดีเอฟน้อยกว่า แต่ผลการวิจัยโครงการใหญ่นี้ เพิ่มน้ำหนักให้กับการทำการวิจัยแบบสุ่มและควบคุมขนาดใหญ่ต่อไปในอนาคตเพื่อดูว่าผลการป้องกันที่พบนั้นเป็นจริงหรือไม่
ผู้เข้าร่วมการวิจัยและการติดเชื้อร่วม ระบบสุขภาพของกระทรวงการทหารผ่านศึกนั้นให้บริการแต่เฉพาะทหารประจำการหรืออดีตทหารของสหรัฐอเมริกาเท่านั้นและ เป็นระบบสุขภาพเดียวของสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการฟรีที่จุดให้บริการคล้ายกับระบบบริการสุขภาพถ้วนหน้า (universal healthcare) ของประเทศรายได้สูงประเทศต่างๆ จุดแข็งของการวิจัยโครงการนี้คือเป็นการวิจัยขนาดใหญ่ที่รวมผู้เข้าร่วมการวิจัย เพศชายจำนวน 20,494 คนในการวิเคราะห์ผลครั้งสุดท้าย และเป็นการวิจัยที่รวมข้อมูลในช่วงเวลาที่ยาวที่สุด (กุมภาพันธ์ 2020
ถึงตุลาคม 2021) ผู้เข้าร่วมการวิจัยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยกลุ่มประชากรโครงการหนึ่งที่กำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับ ทหารผ่านศึกในวัยชรา (Veterans Aging Cohort Study)
กลุ่มการศึกษานี้มีจำนวนผู้ที่มีเอชไอวีทั้งหมด 31,516 คนในช่วงเริ่มต้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2020 และผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์การวิจัยและ ถูกคัดออกในช่วงการเก็บข้อมูลพื้นฐานรวมถึงผู้ที่ไม่ได้กินยาต้านไวรัสเอชไอวี หรือผู้ที่มีปริมาณไวรัสมากกว่า 200 ในปีก่อนหน้านั้น และผู้ที่เคยมีจำนวนซีดีสี่ (CD4) ต่ำกว่า 50
นอกจากนั้นแล้วผู้หญิงก็ถูกคัดออกเช่นกันถึงแม้ว่าจะมีผู้หญิงที่มีเอชไอวี 1,136 คน (3.6%)ในกลุ่มทหารผ่านศึกวัยชรา แต่จำนวนนี้น้อยเกินไปที่จะให้ผลลัพธ์ที่จะมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส อย่างไรก็ตามนัก วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ความความอ่อนไหว (sensitivity analysis – การวิเคราะห์เพื่อดูการตอบสนองที่ไว) ว่าการรวมผู้หญิงจะทำให้เห็นความแตกต่างในสิ่งที่ค้นพบหรือไม่ และผลของการวิเคราะห์แสดงว่าไม่เป็นเช่นนั้น
ผู้เข้าร่วมการวิจัยชาย 12,707 คน (62%) ใช้ยาต้านไวรัสแทฟ (TAF) อยู่ ผู้เข้าร่วมการวิจัย 3,805 คน (19%) กินยาอะบาคาเวียร์ (abacavir) ผู้เข้าร่วมการวิจัย 933 คน (5%) กินยาทีดีเอฟ และอีก 3,049 คน (15%) กินยาสูตรอื่น ๆ รวมถึงสูตรที่ไม่รวมยากลุ่ม NRTI ด้วย ผู้เข้าร่วมการวิจัยเพศชายทุกคนที่กินยากลุ่ม NRTI ทั้งสามกินยาเอ็มไตรซิทาบีน (emtricitabine หรือ FTC) หรือลามิวู ดีน (lamivudine – 3TC) ด้วย แต่นักวิจัยคิดว่ายาทั้งสองไม่น่าจะส่งผลต่อผลลัพธ์ที่ได้ และมีผู้เข้าร่วมการวิจัยในสัดส่วนที่น้อยมาก ที่ใช้ยาทีดีเอฟซึ่งแสดงว่าแทฟ (TAF) กลายเป็นยาแทนที่ของยาทีนอฟโฟเวียร์รุ่นเก่าในสหรัฐอเมริกาไปแล้วซึ่งแตกต่างจากใน ยุโรป
โดยรวมแล้วกลุ่มผู้เข้าร่วมที่กินยาต้านไวรัสที่ต่างกันนี้มีความคล้ายคลึงกันในด้านอายุ เชื้อชาติ การสูบบุหรี่ จำนวนซีดีสี่ น้ำหนัก ตัว และความดันโลหิต ความคล้ายคลึงกันเหล่านี้แสดงว่าปัจจัยเหล่านี้ไม่น่าจะมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์เกี่ยวกับโควิด ผู้เข้าร่วมการ วิจัยมีอายุเฉลี่ย 59 ปีจึงถือว่าเป็นกลุ่มชราภาพ และส่วนมาก (47%) เป็นคนผิวดำ
ผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมดยังมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของสุขภาพโดยทั่วไป บันทึกของกระทรวงการทหารผ่านศึกระบุโรคร่วม ทั้งหมด 22 รายการตั้งแต่โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอด และมะเร็ง ไปจนถึงการติดยาและแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่และภาวะ สมองเสื่อม และสัดส่วนของผู้ชายที่มีอาการเหล่านี้มีความเหมือนกันทางสถิติระหว่างสูตรยาต้านไวรัสเอชไอวีทั้งหมดโดยมีข้อ ยกเว้นสองประการ
โรคไตอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผลลัพธ์?
ความแตกต่างข้อแรกคือโรคเบาหวานซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยประมาณ 11-12% เป็นเบาหวาน ยกเว้นผู้ที่กินยาทีดีเอฟ ซึ่งเพียง 8% ของผู้ที่กินยาทีดีเอฟเป็นเบาหวาน ความแตกต่างที่อาจมีนัยสำคัญมากกว่าคืออัตราของโรคไตเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาอะบาคาเวียร์เป็นโรคไตเรื้อรัง 18% ผู้ เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาแทฟ 8% เป็นโรคไตเรื้อรัง และผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟเพียง 4.5% เป็นโรคไตเรื้อรัง สัดส่วนของผู้ เข้าร่วมการวิจัยที่การทำงานของไตผิดปกติ (ซึ่งในการวิจัยนี้กำหนดว่ามีอัตราการกรองของไตโดยประมาณน้อยกว่า 60 มิลลิลิตร ต่อนาที) เท่ากับ 28% ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาอะบาคาเวียร์ 18% ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาแทฟ แต่เพียง 9% ของผู้เข้าร่วม การวิจัยที่กินยาทีดีเอฟเป็นโรคไตเรื้อรัง
สิ่งที่พบนี้สมเหตุสมผลเพราะผลข้างเคียงที่รู้จักกันดีที่สุดของยาทีดีเอฟคือยานี้มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของไตบกพร่อง ดัง นั้นแพทย์จึงมักจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาทีดีเอฟหากว่าคนไข้มีอาการเกี่ยวกับไต และจะใช้ยาแทฟแทนหรือหลีกเลี่ยงไม่ใช้ยาทีนอฟโฟเวียร์โดยสิ้นเชิง (โรคกระดูกพรุนซึ่งเป็นผลข้างเคียงเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับยาทีดีเอฟเช่นกันก็พบน้อยมากในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟ (1.1%) ซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาแทฟเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า (2.5%) หรือ และเช่นเดียวกันกับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาอะบาคาเวียร์ (3.0%) แม้ว่าตัวเลขเหล่านี้จะต่ำเกินไปที่จะมีนัยสำคัญทางสถิติ)
เนื่องจากความเป็นไปได้ที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟจะเป็นโรคไตเรื้อรังนั้นต่ำ และโรคไตเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่แย่ลงสำหรับโควิด จึงอาจอธิบายความแตกต่างที่เห็นได้ส่วนหนึ่งโรคไตเรื้อรังที่มีอัตราการกรองของไต (eGFR) ที่ต่ำกว่า 60 เพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลอีกอย่างน้อย 25% และการเป็นโควิดที่มีอาการรุนแรงนั้นสัมพันธ์กับอาการไตผิดปกติที่เกิดตามมา การวิจัยหลายโครงการพบว่ามากกว่า 30% ของผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลด้วยโควิดมีอาการไตผิดปกติด้วย ดังนั้นการเป็นโรคไตเรื้อรังอยู่แล้วอาจทำให้คนมีโอกาสเป็นโควิดที่รุนแรงมากขึ้น และโรคไตเรื้อรังที่เกิดจากโควิดก็อาจทำให้อาการโรคไตที่มีอยู่แย่ลงไปอีกได้ ความเป็นไปได้ทั้งสองจะพบได้บ่อยในผู้ชายที่เป็นโรคไตเรื้อรังอยู่ก่อนแล้วซึ่งคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับการรักษาด้วยยาแทฟหรืออะบาคาเวียร์อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับทั้งผลลัพธ์ของโควิดที่แย่ลงและโรคไตเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง ไม่พบบ่อยนักในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟ และในขณะที่โรคไตเรื้อรังอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ในผู้ที่ป่วยมากจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่อัตราการติดโควิดที่ตำ่ลงในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟเป็นเรื่องที่อธิบายอย่างง่ายๆไม่ได้
ผลลัพธ์
อัตราของผลลัพธ์ของโควิดรวมถึงความเสี่ยงของการเป็นโควิดที่ออกอาการ การป่วยเนื่องจากโควิดที่มีอาการหนักจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และการป่วยเนื่องจากโควิดที่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก ตัวอัตราเหล่า นี้ถูกปรับตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์พฤติกรรม และทางคลินิกหลายประการ รวมถึงโรคไตเรื้อรังและโรคเบาหวาน
อัตราการเป็นโควิดที่ออกอาการในช่วง 18 เดือนอยู่ที่ 7.4% ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ได้รับยาแทฟ และ 7.5% ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ กินยาอะบาคาเวียร์ ส่วนผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟอยู่ที่ 4.9% ซึ่งหมายความว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟมีโอกาส เป็นโควิดที่ออกอาการน้อยกว่า 35%
ความเสี่ยงของการป่วยหนักจนต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่ากับ 2% สำหรับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาแทฟ และ 2.2% ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาอะบาคาเวียร์ แต่มีเพียง 0.9% ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟ TDF ซึ่งเท่ากับความเสี่ยงลดลง 57%
เมื่อพูดถึงการป่วยเนื่องจากโควิดที่มีอาการรุนแรงจนต้องได้รับการรักษาในแผนกผู้ป่วยหนักซึ่งอัตราที่พบต่ำเกินไปที่จะมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงนี้ลดลง 43% ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟ (0.3%) เมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาแทฟหรือยาอะบาคาเวียร์ (0.5%) และต่ำกว่า 60% สำหรับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาสูตรอื่นๆ (0.7%)
สำหรับการเสียชีวิตจากผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาทีดีเอฟ 933 คน มีเพียงคนเดียวที่เสียชีวิตสืบเนื่องจากโควิดทำให้การเปรียบเทียบทางสถิติไม่สามารถทำได้ในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาแทฟ 12,707 คนมีผู้เสียชีวิต 12 คน คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 1 คนต่อ 1,059 คน ดังนั้นเราสามารถพูดได้ว่าอย่างน้อยอัตราการเสียชีวิตไม่สูงกว่าในผู้ที่กินยาทีดีเอฟ ส่วนผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินยาอะบา คาเวียร์นั้นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ 1 รายต่อผู้ป่วย 317 ราย ซึ่งดูเหมือนว่าจะมากกว่ากลุ่มอื่น อัตราการเสียชีวิตจากสาเหตุทั้งหมดในระหว่างการวิจัยไม่มีกลุ่มที่กินยาใดที่มีอัตราการเสียชีวิตด้วยเหตุต่างๆสูงกว่ากลุ่มอื่น
นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าอาจมี ‘ปัจจัยก่อกวน’ อื่นๆที่ไม่ได้คำนึงถึงและอาจมีผลต่อผลลัพธ์ แต่รายการปัจจัยที่เกี่ยวกับเอชไอวีและโรคร่วมอื่นของการวิจัยค่อนข้างครอบคลุม ทีมวิจัยกล่าวว่า “ข้อมูลมากมายในบันทึกสุขภาพทางอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงการ ทหารผ่านศึกช่วยให้เราสามารถประเมินโรคร่วมต่างๆที่ไม่ค่อยพบในกลุ่มคนที่ใช้ทีดีเอฟ/เอฟทีซี (TDF/FTC) ที่อาจเกี่ยวข้องกับ การวินิจฉัยโควิด-19 ได้ การปรับการประเมินมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อผลของการประมาณการ”
คำถามหนึ่งที่ยังไม่มีคำตอบจากการวิจัยนี้คือ: หากว่าผลของยาทีดีเอฟเป็นจริง ผลดังกล่าวจะมีผลในเชิงป้องกันหรือรักษาหรือ ไม่? กล่าวอีกนัยหนึ่งคือคนจะต้องกินยาทีดีเอฟล่วงหน้าไประยะหนึ่งก่อนที่จะลดความเสี่ยงในการติดโควิดและการเจ็บป่วยที่ รุนแรงและหากเป็นเช่นนั้นเราต้องกินยาก่อนนานแค่ไหน? หรือเราสามารถให้ใครก็ได้โดยไม่คำนึงถึงสถานะเอชไอวีกินยาทีดีเอฟ เมื่อตรวจพบว่าเป็นโควิด หรือได้ติดต่อสัมผัสกับคนที่เป็นโควิดแล้ว และการกินยาทีดีเอฟจะมีผลทันทีหรือไม่?
อีกคำถามอีกประการหนึ่งคือผลประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนของยาทีดีเอฟจะมีผลกับผู้หญิงและคนหนุ่มสาวด้วยหรือไม่?
สุดท้ายหากผลของทีดีเอฟเป็นจริงมันทำงานอย่างไร? เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาดของโควิดว่าในทางทฤษฎียาต้านไวรัสรวมถึงยาต้านไวรัสเอชไอวีกลุ่ม NRTIs อาจมีอะไรบางอย่างที่ต่อต้านไวรัสซาร์สโควีทู (SARS-COV-2) ที่เป็นสาเหตุของโควิด ความแตกต่างระหว่างทีดีเอฟกับแทฟคือ แทฟถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นฟอสเฟตของทีโนโฟเวียร์ (tenofovir) เพื่อ ดูดซึมเข้าไปในเซลล์ได้เร็วกว่า ส่วนทีดีเอฟเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ช้ากว่าและจะคงอยู่ในเลือดในระดับที่สูงกว่าได้นานขึ้น แม้ว่าระดับยาในเลือดที่สูงนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อความเสียหายของไต เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วยาทีนอฟโฟเวียร์ถูกเปลี่ยนแปลงและขับถ่ายออกทางไตมากกว่าตับ แต่นั้นอาจจะเป็นระดับที่จำเป็นในการสร้างผลต่อต้านโควิดที่สำคัญก็ได้
เราจะไม่รู้คำตอบเหล่านี้จนกว่าจะทำการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มและควบคุมเพื่อเปรียบเทียบผลของยาทีดีเอฟกับยาอื่นต่อผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับโควิด การวิจัยแบบสุ่มและควบคุมโครงการหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสเปนแต่การวิจัยนั้นไม่ สามารถสรุปผลอย่างแน่นอนได้ ดังนั้นเนื่องจากหลักฐานต่างๆที่เพิ่มมากขึ้นที่บ่งชี้ว่าทีดีเอฟมีผลที่ดีสำหรับใช้เป็นยาสำหรับโควิด ดังนั้นจึงมีสาเหตุที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มและควบคุมขนาดใหญ่เพื่อพิสูจน์ให้แน่นอน
_______________________
[1] ‘Old style’ tenofovir really may protect against COVID, large US study finds โดย Gus Cairns เมื่อ 3 ตุลาคม 2565 ใน https://www.aidsmap.com/news/oct-2022/old-style-tenofovir-really-may-protect-against-covid-large-us-study-finds