![โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ STIs](https://ihri.org/wp-content/uploads/elementor/thumbs/STIs-qwcno92utsmbv566ozu9n4vvuv0o9s9jmpv1fhry00.png)
![](https://ihri.org/wp-content/uploads/2020/09/OurWorks-PrEP_02.png)
![](https://ihri.org/wp-content/uploads/2020/09/OurWorks-PrEP_03.png)
งานของเรา
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
Point-of-Care (PoC) STIs
![](https://ihri.org/wp-content/uploads/2020/09/OurWorks-PrEP_05.png)
![](https://ihri.org/wp-content/uploads/2020/09/OurWorks-PrEP_04.png)
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของรูปแบบการให้บริการแบบ KPLHS เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2019 IHRI ได้เปิดตัว Point-of-Care (POC) โครงการที่ศึกษาความเป็นไปได้ของการตรวจหาหนองในและหนองในเทียม ณ จุดดูแลผู้ป่วย (POC) โดยได้ดำเนินการในศูนย์สุขภาพชุมชน 4 แห่งที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ชลบุรี และเชียงใหม่ โครงการนี้มุ่งเป้าที่จะรับผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็น MSM และ TGW 2,000 คน รวมถึงผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี และ ผู้ที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี ทั้งรับเพร็พ และไม่รับเพร็พ โครงการนี้ยังเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่สุขภาพชุมชนในการให้บริการคัดกรองและจัดการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และศักยภาพด้านการวิจัย นอกจากนี้ การจ่ายยากินสำหรับการรักษาหนองในเทียมที่ศูนย์สุขภาพชุมชนยังช่วยลดช่องว่างระหว่างการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนอีกด้วย ผู้รับบริการที่มีผลตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ผิดปกติ จะได้รับการส่งต่อไปยังการรักษาในวันรุ่งขึ้น เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไปยังคู่นอนหรือผู้อื่น ความท้าทายหนึ่งของการรับผู้เข้าร่วมโครงการในใครงการนี้การที่จะต้องเปิดเผยอวัยวะเพศให้แก่เจ้าหน้าที่สุขภาพชุมชน ซึ่งยังไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในวัฒนธรรมไทย ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดที่จะให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเก็บสิ่งส่งตรวจได้ด้วยตนเองภายใต้โครงการนี้ด้วย
โครงการนี้ได้รับการทดสอบที่ศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้ง และ ศูนย์สุขภาพสวิง ที่กทม. สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ 200 คนแรก
เพื่อประเมินการใช้กลยุทธ์ในการนำสิ่งส่งตรวจจาก 3 ช่องทาง จากผู้เข้าร่วมโครงการ 1 คนมารวมกัน (Pooling strategy)
เพื่อตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเป็นการทดสอบความสามารถของเครื่องตรวจและเครื่องวิเคราะห์
การทดลองจะใช้การตรวจแบบมาตรฐานนั้นเกิดขึ้นที่ห้องปฏิบัติการโดยตรวจสิ่งส่งตรวจจาก 3 ช่องทาง แยกกัน โดยใช้เครื่อง
Abbott RealTime
จากนั้นจะมีการเปรียบเทียบกับการให้เจ้าหน้าที่สุขภาพชุมชนที่ผ่านการอบรมนำสิ่งส่งตรวจมาตรวจแยกกันและแบบรวมกับ
โดยใช้เครื่อง Cepheid GeneXpert ที่ศูนย์สุขภาพชุมชน การนำสิ่งส่งตรวจมารวมกันในการทดลองนี้ ได้มาจากปัสสาวะ
สารคัดหลั่งจากช่องคอ และสารคัดหลั่งจากทวารหนัก จากผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคน การนำสิ่งส่งตรวจมารวมกัน
จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า การนำสิ่งส่งตรวจจาก 3 ช่องทางมาตรวจแยกกัน
และยังเลี่ยงความผิดพลาดการตรวจวินิจฉัยหนองใน หนองในเทียม
ซึ่งเกิดได้จากการเลือกสิ่งส่งตรวจจากช่องทางเดียวมาตรวจคัดกรอง ช่วงการทดสอบของโครงการนี้ได้เสร็จสิ้นเมื่อเดือนตุลาคม
2562 และผลวิเคราะห์ได้บ่งชี้ว่าการตรวจหนองใน หนองในเทียม และปริมาณไวรัสเอชไอวี โดยเจ้าหน้าที่ชุมชนที่ใช้เครื่อง
GeneXpert ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนนั้นสามารถทำได้จริง และผลการทดสอบก็ยังออกมาอย่างยอดเยี่ยม
เมื่อเทียบการตรวจแบบมาตรฐาน ปัจจุบัน โครงการอยู่ในระหว่างรับผู้เข้าร่วมโครงการจนถึงเดือนมีนาคม 2564
อ้างอิง:
Hiransuthikul A, Janamnuaysook R, Sungsing T, Jantarapakde J, Trachunthong D, Mills S, Vannakit R, Phanuphak P, Phanuphak N. High burden of chlamydia and gonorrhoea in pharyngeal, rectal and urethral sites among Thai transgender women: implications for anatomical site selection for the screening of STI. Sex Transm Infect 2019.
Hiransuthikul A, Sungsing T, Jantarapakde J, Trachunthong D, Mills S, Vannakit R, Phanuphak P, Phanuphak N. Correlations of chlamydia and gonorrhoea among pharyngeal, rectal and urethral sites among Thai men who have sex with men: multicentre community-led test and treat cohort in Thailand. BMJ open 2019; 9(6): e028162.
Hiransuthikul A, Pattanachaiwit S, Teeratakulpisarn N, Chamnan P, Pathipvanich P, Thongpaen S, Pengnonyang S, Trachunthong D, Nonenoy S, Lertpiriyasuwat C, Phanuphak P, Phanuphak N. High subsequent and recurrent sexually transmitted infection prevalence among newly diagnosed HIV-positive Thai men who have sex with men and transgender women in the Test and Treat cohort. Int J STD AIDS 2019; 30(2): 140-6.
STI_Zoli001 study
การเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตทั่วโลกที่เกิดจากการติดเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) มีความสำคัญและมีส่วนช่วยให้มีการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน เชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) ได้มีวิวัฒนาการพัฒนาความต้านทานต่อยาปฏิชีวนะทั้งหมดที่ใช้ในการรักษาตามปกติ โดยใช้กลไกดื้อต่อยาต้านจุลชีพประเภทแบคทีเรียที่รู้จักกัน การค้นพบทางเลือกการรักษาแบบใหม่สำหรับรักษาโรคหนองในที่มีปัญหาดื้อยาหลายขนานถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของแผนปฏิ บัติการระดับโลกขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เพื่อการควบคุมการแพร่กระจายและผลกระทบจากการดื้อยาต้านจุลชีพของเชื้อหนองใน (gonococcal Antimicrobial Resistance: gonococcal AMR) IHRI ได้รับการสนับสนุนจาก Global Antibiotic Research and Development Partnership (GARDP)
เพื่อทำการศึกษาวิจัย ซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมที่จะเริ่มการศึกษาในช่วงต้นปี 2564 เป็นการศึกษาในระยะที่ 3 เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยายาโซลิโฟลดาซิน (Zoliflodacin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานครั้งเดียวเพื่อรักษาโรคหนองใน วางแผนรับจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยสูงสุด 1,092 คน จากประเทศเนเธอแลนด์ ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศไทย
และประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยจะรับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยประมาณ 500 คน สำหรับ IHRI จะรับผู้เข้าร่วมโครงการ วิจัยประมาณ 180 คน
FIND
IHRI กับ FIND ร่วมกันดำเนินโครงการเก็บข้อมูลทางการตลาดต่อการใช้ชุดตรวจ ณ จุดดูแลผู้ป่วยสำหรับหนองใน เพื่อส่งเสริมความต้องการใช้ชุดตรวจ และบ่งชี้อุปสรรคของการนำเข้าชุดตรวจที่มาทำการตลาดในประเทศไทย โดย FIND เป็นองค์ไม่แสวงหากำไรที่ทำงานในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของชุดตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งโดยปกติผลิตภัณฑ์ชุดตรวจชนิดใหม่ มักจะประสบความท้าทายในการนำเข้าเพื่อทำการตลาดในแต่ละประเทศ ดังนั้นการดำเนินการเก็บข้อมูลทางการตลาดของประเทศที่เป็นเป้าหมายจึงมีความสำ คัญมาก และประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการตลาดสำหรับชุดตรวจหนองใน จึงได้ดำเนินโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เข้าใจในบริบทของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในปร ะเทศไทย นำไปสู่การเลือกชุดตรวจที่มีความเหมาะสมเพื่อนำมาทำแผนการตลาด และวางแผนกลยุทธ์ในการนำชุดตรวจดังกล่าวมาใช้ในอนาคต
Bexsero Vaccine study
แม้จะมีการวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนมาหลายทศวรรษแล้ว ก็ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันเชื้อโกโนคอคคัส (gonococcus: GC) ในคนได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามมีแนวทางการพัฒนาวัคซีนขึ้นใหม่สำหรับป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น หรือโรคติดเชื้อมินนิงโกคอคคัส ซีโรกรุ๊ปบี (Neisseria meningitidis serogroup B) ซึ่งได้แสดงหลักฐานการป้องกันเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) ได้ วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาเบ็กซ์เซโร (Bexsero) คือเพื่อศึกษาการให้วัคซีนแบบฉีด 2 ครั้ง เพื่อป้องกันภาวะไขสันหลังอักเสบ (การติดเชื้อไปที่ไขสันหลัง และสมอง มีสาเหตุมาจากเชื้อไนซ์ซีเรีย เมนิงไจทิดิสประเภทบี (Neisseria meningitidis type B) ซึ่งอาจจะสามารถป้องกันการติดเชื้อไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) ได้ การศึกษานี้จะรับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเป็นผู้ชายและผู้หญิงจำนวนประมาณ 2,200 คน อายุระหว่าง 18 – 50 ปี จากคลินิก 4 แห่งในประเทศสหรัฐอเมริกา และ 2 แห่ง จากประเทศไทย สำหรับ IHRI ได้มีส่วนร่วมในการทำการศึกษาครั้งนี้ โดยจะรับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวนประมาณ 500 คน
To date, N. gonorrhoeae has developed resistance to all antibiotics used for routine therapy by a wide variety of bacterial antimicrobial resistance mechanisms. The continued emergence of multidrug resistant (MDR) and most recently, extensively drug-resistant (XDR) strains has driven governments and health institutions to increase investment in biomedical countermeasures to mitigate the threat.
Despite decades of vaccine research, no vaccines against gonorrhea have been successful in preventing human disease. However, novel approaches to vaccine development for Neisseria meningitidis serogroup B have shown evidence of protection against N. gonorrhoeae. Specifically, the use of outer membrane vesicle (OMV) vaccines to serogroup B meningococcal strains has been associated with reduced rates of incident gonococcal infection in ecologic studies.
Bexsero, the GSK vaccine against serogroup B N. meningitidis (rMenB+OMV NZ) is an OMV vaccine that contains protein antigens commonly expressed on the surface of both meningococcus and gonococcus, inducing bactericidal antibodies that mediate killing of the majority of epidemiologically relevant serogroup B N. meningitidis strains; therefore, it may also have the potential to prevent gonorrhea infection.
This study aims to evaluate the efficacy of the U.S. FDA licensed vaccine rMenB+OMV NZ (Bexsero) in preventing N. gonorrhoeae infection through a randomized controlled trial (RCT) in participants disproportionately impacted by gonococcal infection relative to the general population (defined below). Participants will be randomized in a 1:1 ratio to receive two IM doses (0, 2 months) of Bexsero vaccine or placebo. This study will be conducted in early 2021 – a Phase II randomized, observer-blind, placebo-controlled study, to assess efficacy of meningococcal Group B vaccine rMenB+OMV NZ (Bexsero) in preventing gonococcal infection.
![](https://ihri.org/wp-content/uploads/2020/09/OurWorks-PrEP_09.png)
![](https://ihri.org/wp-content/uploads/2020/09/OurWorks-PrEP_10.png)
![](https://ihri.org/wp-content/uploads/2020/09/OurWorks-PrEP_11.png)