ภาพรวม

ประเทศไทยได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านเพร็พอย่างแท้จริงของภูมิภาคเอเชียแ ละแปซิฟิก ในการเปิดตัวบริการเพร็พสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง หากแต่ว่า ปัจจุบันความต้องการเพร็พในประเทศไทยยังอยู่ในระดับคงที่ แต่ช่องว่างระหว่างผู้ที่ควรได้รับเพร็พและผู้ที่ได้เข้าถึงบริการเพร็พจริงๆ ยังมีอยู่มาก ทำให้มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการเพิ่มบริการเพร็พเพื่อให้ผู้ที่ต้องการสามารถเ ข้าถึงได้ IHRI จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ได้ยกระดับความพร้อม และขยายขอบเขตของการบริการยาเพร็พในไทยให้กว้างขึ้น

โครงการ ‘เพร็พพระองค์โสมฯ’

โครงการ ‘เพร็พพระองค์โสมฯ’ หรือ ‘Princess PrEP’ เป็นโครงการสาธิตของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยที่จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ในโอกาสทรงเจริญพระชันษา 60 ปี ด้วยความร่วมมือจากโครงการ LINKAGES Thailand กระทรวงสาธารณสุข และองค์การเภสัชกรรม โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนลดการติดเอดส์สภากาชาดไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ และหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ภายใต้แผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ (PEPFAR)

โครงการเพร็พพระองค์โสมฯ’ ให้บริการจ่ายเพร็พฟรีใน 6 จังหวัดที่มีความชุกของเอชไอวีสูงในกลุ่มที่เป็นประชากรหลัก ซึ่งได้แก่ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง พนักงานบริการหญิง และผู้ใช้สารเสพติด 

โดยการตรวจคัดกรองเอชไอวีภายใน 1 วัน (Same-day HIV testing) และบริการยาเพร็พ ปฏิบัติงานโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมและเป็นกลุ่มประชากร หลักเช่นเดียวกัน จาก 4 องค์กรชุมชนในพื้นที่หลัก 8 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สุขภาพของสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (RSAT) ในกรุงเทพฯ อุบลราชธานี และสงขลา ศูนย์สุขภาพของมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) ในกรุงเทพฯ และชลบุรี ศูนย์สุขภาพแคร์แมทในเชียงใหม่ และศูนย์สุขภาพของมูลนิธิเอ็มพลัส (Mplus) ในเชียงรายและเชียงใหม่

โครงการนี้มีระยะเวลา 3 ปี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มุ่งมั่นสร้างหลักฐานงานวิจัยเพื่อผลักดันให้รัฐบาลออกนโยบายด้านเพร็พอย่างเป็นรู ปธรรม โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชุมให้บริการเพร็พแก่ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งต่อมาเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ประเทศไทยได้รวมบริการเพร็พเข้าไปในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และกลายเป็นประเทศแรกของเอเชียที่ขยายขอบเขตการบริการเพร็พได้อย่างกว้างข วาง แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการทำให้เพร็พมีราคาถูกลงเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับเพร็พตามเป้าหมายของ ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังคงห่างไกลจากเป้าที่วางไว้

อ้างอิง:

Ramautarsing RA, Meksena R, Sungsing T, Chinbunchorn T, Sangprasert T, Fungfoosri O, Meekrua D, Sumalu S, Pasansai T, Bunainso W, Wongsri T, Mainoy N, Colby D, Avery M, Mills S, Vannakit R, Phanuphak P, Phanuphak N. Evaluation of a pre-exposure prophylaxis programme for men who have sex with men and transgender women in Thailand: learning through the HIV prevention cascade lens. J Int AIDS Soc 2020; 23 Suppl 3: e25540.

Phanuphak N, Sungsing T, Jantarapakde J, et al. Princess PrEP program: the first key population-led model to deliver pre-exposure prophylaxis to key populations by key populations in Thailand. Sex Health. 2018; 15(6): 542-55.

HPTN083

IHRI คือหนึ่งใน 1 ใน 3 สถาบันวิจัยชั้นนำในประเทศไทยที่เข้าร่วมวิจัยโครงการ HPTN 083 ซึ่งเป็นโครงการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ ที่ได้เงินสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) โดยทำการศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า การใช้ยาต้านไวรัสคาโบทิกราเวียร์ชนิดฉีด ที่ออกฤทธิ์ยาวนานจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไ ม่ และอาจเป็นเรื่องง่ายมากกว่าการทานเพร็พรายวันของกลุ่มเสี่ยงในทางปฏิบัติด้วย โดยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 IHRI ได้คว้ารางวัล Best Community Engagement Award ในการประชุมประจำปีของเครือข่ายวิจัยการป้องกันเอชไอวีของกระทรวงสาธารณสุ ข สหรัฐอเมริกา ที่จัดขึ้นในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในฐานะที่สามารถทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสองได้อย่างแท้จริง ตลอดจนการสร้างแคมเปญรณรงค์ที่ทำให้โครงการ HPTN 083 เป็นที่รู้จัก

ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 โครงการได้ประกาศผลการวิจัย พบว่า สูตรการใช้การฉีดยาคาโบทิกราเวียร์ที่ออกฤทธิ์ยาวนานจำนวน 1 ครั้งทุก 8 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพในการป้องกันเอชไอวีในกลุ่มเสี่ยงที่ดีกว่าการทานยาเพร็พ ทีดีเอฟ/เอฟทีซี (TDF/FTC) แบบรายวัน โดยได้มีการรายงานผลการวิจัย ณ ที่ประชุมนานาชาติเรื่องเอดส์ครั้งที่ 23 (AIDS 2020 – 23 rd International AIDS Conference)

การวิจัยนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และหญิงข้ามเพศ จากอาร์เจนตินา บราซิล เปรู แอฟริกาใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม จำนวนทั้งหมด 4,570 ราย ซึ่ง 2 ใน 3 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีหญิงข้ามเพศจำนวน 12%

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในโครงการรวม 52 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อฯในกลุ่มยากินทีดีเอฟ/เอฟทีซีจำนวน 39 ราย (คิดเป็นอุบัติการณ์การติดเชื้อใหม่ 1.22%) และพบผู้ติดเชื้อฯ ในกลุ่มฉีดยาคาโบทิกราเวียร์ จำนวน 13 ราย (คิดเป็นอุบัติการณ์ 0.41%) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า ยาฉีดคาโบทิกราเวียร์สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กั บชายและสาวประเภทสองได้มากกว่า ยากินทีดีเอฟ/เอฟทีซี กว่า 3 เท่า หรือ 69% อย่างไรก็ตาม ทั้งยาฉีดคาโบทิกราเวียร์และยากินยากินทีดีเอฟ/เอฟทีซี นับได้ว่ามีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้สูงมาก และยังมีความปลอดภัยสูงมากเช่นเดียวกัน

เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลลัพธ์: https://www.hptn.org/news-and-events/press-releases/long-acting-injectable-cabotegravir-highly-effective-prevention-hiv

STANDUP TEEN

ตั้งเป้าขยายการครอบคลุมของบริการเพร็พไปยังกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และหญิงข้ามเพศที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เนื่องด้วยในปัจจุบัน มีอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีอยู่ในกลุ่มช่วงอายุนี้ค่อนข้างสูง อีกทั้ง การเข้าถึงบริการเพร็พยังอยู่ในระดับที่ต่ำ โดย STANDUP TEEN
มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความเป็นไปได้ที่ ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้รับเพร็พ และการคงอยู่ของเพร็พในกลุ่มเยาวชน ช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี ที่เป็นกลุ่มวัยรุ่นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และวัยรุ่นหญิงข้ามเพศ จำนวน 600 รายใน 3 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และเชียงใหม่ นอกจากนี้ IHRI ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อประเมินการยอมรับและการใช้ได้จริงของชุดตรวจนี้ในกลุ่มที่รับเพร็พ IHRI ยังได้ใช้นวัตกรรมต่างๆ
เพื่อเป็นการเพิ่มการใช้ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวีด้วยตนเองและการรับเพร็พโดยการ ให้บริการทางออนไลน์ และส่งชุดตรวจและเพร็พถึงที่บ้าน

พื้นที่การวิจัยของโครงการ STANDUP TEEN