เกี่ยวกับเรา
ภาพรวม
IHRI เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี เป็นผู้นำด้านงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรวมถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร และมุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรผ่านกระบวนการบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เพื่อให้บุคลากรขององค์กรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและการมีส่วนร่วมของชุมชม อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ระดับภูมิภาคด้านการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า
วิสัยทัศน์
ภารกิจ
ดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวี และประเด็นสุขภาพอื่น ๆ
ยกระดับขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่สุขภาพชุมชน และส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพอื่น ๆ
เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยเกี่ยวกับเอชไอวี
ส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ก่อตั้งหน่วยพรีเวนชั่น ด้วยการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความพยายามในการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจา กแม่สู่ลูก และเข้าร่วม MTCT-Plus ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นไปที่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง มีการสนับสนุนทางโภชนาการ และการบริการด้านจิตสังคม ตลอดจนการให้ความรู้แก่ครอบครัวผู้ติดเชื้อโดยทีมดูแลสหสาขาวิชาชีพ MTCT- Plus เป็นโครงการแรกในประเทศไทย ที่รวมนักสังคมสงเคราะห์และอาสาสมัครไว้ในทีมทำงานด้านการดูแลสุขภาพ
หน่วยวิจัยเซิร์ช ได้รับการก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กับโครงการวิจัยเอชไอวีกองทัพสหรัฐฯ (MHRP) เพื่อดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกี่ยวเนื่องจากการ ติดเชื้อเอชไอวี (neuro-HIV) และการติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน (acute HIV) โดยยังเป็นแห่งแรกที่มีการจัดทำข้อมูล Normative neuropsychological performance ในประชากรไทย
ด้ายการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลี ยในโครงการความร่วมมือด้านเอชไอวี (AusAID Australian HIV/AIDS Partnerships Initiative: AHAPI) หน่วยพรีเวนชั่นได้ริเริ่มโครงการศูนย์วิจัยโภชนาการโรคเอดส์ ไทย- ออสเตรเลีย หรือโครงการ TACHIN (Thailand-Australia Collaboration in HIV Nutrition) ในความร่วมมือกันระหว่าง Albion Street Centre แห่งออสเตรเลีย และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อยกระดับการดูแลผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี (PLHIV) ในประเทศไทย ด้วยการแก้ไขปัญหาทางโภชนาการในผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีอย่างครอบคลุม
ในปีเดียวกัน มีการกลับมาระบาดของเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศ สัมพันธ์กับชาย หน่วยพรีเวนชั่นจึงได้ใช้เงินทุนจากโครงการ MSM Initiative ของมูลนิธิเพื่อการวิจัยโรคเอดส์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (amfAR) ในการจัดตั้ง Men’s Health Clinic เพื่อให้บริการเฉพาะสำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยผู้ป่วยสามารถตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมะเร็งปากทวารหนัก (Anal Pap Smear) ไปจนถึงการตรวจด้วยการส่องดูทวารหนัก (anoscopy) เพื่อหา anal precancers
โครงการวิจัยเอชไอวีกองทัพสหรัฐฯ (MHRP) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (US NIH) ได้สนับสนุนการจัดตั้งโครงการ “SEARCH 010/RV254” เพื่อศึกษาถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน โดยได้ผู้เข้าร่วมโครงการมาจากผู้เข้ารับบริการที่คลีนิคนิรนาม สภากาชาดไทย ด้วยความมือกับ MHRP นี้ ส่งผลให้สิ่งส่งตรวจของผู้รับบริการที่ไม่มีเชื้อเอชไอวีได้รับการตรวจคัดกรองที่ AFRIMs ภายในวันเดียวกัน ด้วยวิธีตรวจแบบ NAT เพื่อหาผู้ติดเชื้อระยะเฉียบพลันชนิดหายาก ในช่วงเวลา 10 ปีของการดำเนินโครงการ มีการตรวจคัดกรองสิ่งส่งตรวจไปแล้วมากกว่า 400,000 ราย และพบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลันมากกว่า 800 ราย ซึ่ง 80% ในกลุ่มดังกล่าวได้เข้าโครงการ SEARCH 010/RV254 และได้รับการรักษาทันที ทั้งนี้ ทีมวิจัยใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการติดตามผลของผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มแรกและได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัย 35 แห่งทั่วโลก เพื่อศึกษาตัวอย่างและจัดเก็บข้อมูล มีการตีพิมพ์งานศึกษาของโครงการไปแล้วมากกว่า 60 ฉบับ จนถึงปี พ.ศ. 2557 โครงการ SEARCH 010/RV254 เป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่ให้การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลันทันที
ด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในกลยุทธ์ ‘การรักษาเสมือนการป้องกัน’ (treatment as prevention) หน่วยพรีเวนชั่นได้ริเริ่ม โครงการตรวจเร็ว รักษาเร็ว (Test & Treat Study) ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศ ด้วยความร่วมมือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของกลยุทธ์นี้ ซึ่งยังได้รับเงินทุนสนับสนุนองค์กรทั้งในและนอกประเทศ อาทิเช่น องค์การเภสัชกรรม (อภ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์การอนามัยโลก AIDS Fonds จากเนเธอแลนด์ และมูลนิธิ amfAR
เดือนพฤษภาคม: แม้ว่าโครงการ Test & Treat Study จะประสบความสำเร็จ แต่จำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 โดยเฉลี่ยในกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวียังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ หน่วยพรีเวนชั่นจึงได้เดินหน้าโครงการที่ใหญ่ขึ้น นั้นก็คือ ‘Community-led Test & Treat’ ด้วยการสนับสนุนจาก FHI 360 และ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ผ่านโครงการ LINKAGES โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรูปแบบ ‘การบริการสุขภาพที่นำโดยชุมชนประชากรหลัก’ หรือ KP-CLHS ซึ่งเป็นกลยุทธ์การบริการที่ครอบคลุมตั้งแต่ การค้นหาและเข้าถึงประชากรเป้าหมาย การนำกลุ่มประชากรเป้าหมายเข้าสู่บริการตรวจ การให้การปรึกษาและตรวจหาการติดเชื้อ การส่งต่อผู้ที่ติดเชื้อเข้าสู่บริการดูแลรักษาด้วยยาต้าน การสนับสนุนและให้ชุดป้องกันการติดเชื้อ ไปจนถึงการติดตามกลับมาตรวจซ้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทั้งหมดนำโดยศูนย์สุขภาพชุมชนในกรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ และสงขลา
เดือนตุลาคม: แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีแห่งชาติ (The National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention) ได้แนะนำให้การใช้ยา ‘เพร็พ’ เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการป้องกันเอชไอวีในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
จากผลการดำเนินงานของโดรงการ Community-led Test & Treat เราได้เห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งต่อโครงการต่างๆ ด้านเอชไอวีและโครงการสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในกลุ่มคนข้ามเพศ ดังนั้น Dr. Frits van Griensven ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการป้องกันเอชไอวี จึงได้มีการหารือกับ USAID เพื่อจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนแทนเจอรีน (Tangerine Community Health Center) ที่เปิดให้บริการด้านสุขภาพแก่บุคคลข้ามเพศโดยเฉพาะ
ในปีเดียวกันหน่วยวิจัยเซิร์ชได้ทำการศึกษา “เอชไอวีสู่ภาวะสงบนิ่ง” (HIV remission) หรือ “รักษาจนหายขาด” (HIV cure) ครั้งแรกกับผู้เข้าร่วมโครงการ SEARCH 010/RV254 ที่มีการเก็บดีเอ็นเอของเชื้อเอชไอวีและได้รับการรักษาตั้งแต่ช่วงระยะเฉียบพลันไปจ นถึงไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้อีก จนได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ที่เหมาะสมในการศึกษา HIV remission โดยใช้ ATI (analytic treatment interruption) ซึ่งถือเป็นเป็นเคสที่หายากในโลก และทำให้ต่อมามีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ATI ออกมาอีก 4 โครงการโดยได้รับการสนับสนุนจาก US NIH และบริษัทยา
การให้การสนับสนุนทางวิชาการ ด้าน ‘การบริการสุขภาพที่นำโดยกลุ่มประชากรหลัก’ (Key Population-Led Health Services/KPLHS) ในระดับชาตินั้น ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และองค์กรชุมชน 3 แห่งได้แก่ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (RSAT) มูลนิธิเอ็มพลัส (Mplus) และมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING) ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจาก USAID โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นไปที่การจัดให้ KPLHS เป็นหนึ่งในสาธารณสุขของประเทศ ที่จัดหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองระดับประเทศ มีระบบการประเมินและออกประกาศนียบัตรรับรอง มีกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมระบบการจัดสรรเงินทุน
ขณะที่หน่วยวิจัยเซิร์ชเริ่มต้นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาในการ ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความเป็นพลวัตที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมโครงการที่เ ต็มใจเข้าร่วมโครงการศึกษา ATI และกระบวนการทางเลือกเชิงรุกที่ทำให้เราได้ข้อมูลแบบเชิงลึก
เดือนมิถุนายน – กระทรวงสาธารณสุขประกาศรับรองกฎหมาย ว่าด้วยการให้บริการเอชไอวีโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุท ธศาสตร์ชาติในการยุติปัญหาเอชไอวี โดยเป็นผลมาจากความร่วมมือกับหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) แผนการฉุกเฉินของประธานาธิบดีสหรัฐเพื่อบรรเทาปัญหาเอดส์ (PEPFAR) FHI 360 กระทรวงสาธารณสุข และสภาเทคนิคการแพทย์ เป็นต้น
เดือนมีนาคม – หน่วยพรีเวนชั่นและหน่วยวิจัยเซิร์ช ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI)” อย่างเป็นทางการ เพื่อขยายขอบเขตการทำงานเกี่ยวกับเอชไอวี และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กว้างขึ้นกว่าเดิม
ที่ตั้ง
สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี
ชั้น 11, ห้อง 1109-1116, อาคารจามจุรีสแควร์
319 ถ. พญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330