pr-ep-0240

งานของเรา

การรักษาเอชไอวี

SDART

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังพยายามส่งเสริมการเข้าถึงการรักษาเอชไอวี ให้ได้ตามเป้าหมายมาตการ 90-90-90 ของ UNAIDS ภายในปี พ.ศ. 2563 แต่จำนวนผู้รับการรักษายังเป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะยังมีจำนวนของผู้ที่รู้สถานะการติดเชื้อแล้วเข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพี ยง 74% การที่ต้องมาโรงพยาบาลหลายครั้ง การย้ายสิทธิ์ไปยังโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนภายใต้ระบบประกันสุขภาพ ต่างก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการทำให้เกิดช่องว่างนี้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ได้จัดให้มีบริการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในเดียวกับที่ตรวจพบเชื้อ (Same-Day ART) เพื่อลดระยะเวลาของการรอรักษา โดยที่ผ่านมา มีผู้ได้รับการรักษาเอชไอวีผ่านการเข้ารับบริการ Same-Day ART ไปแล้ว 4,082 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มี 93.8% ที่ได้รับการตรวจปริมาณไวรัส และพบว่า ยาต้านไวรัสได้กดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดให้ต่ำลง จนตรวจไม่พบเชื้ออีกต่อไป หลังจากผ่านการรักษามาเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งจะไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่นได้

ในการประชุมเอดส์ปี พ.ศ. 2561 ที่อัมสเตอร์ดัม ได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของเราว่า ผู้ที่ได้รับบริการ Same-Day ART มีแนวโน้มจะได้เริ่มการรักษาทันทีถึง 3.9 เท่า และมีแนวโน้มที่จะกดเชื้อไวรัสจนตรวจไม่พบได้ 2.2 เท่า ด้วยผลลัพธ์นี้ เราจึงได้ขยายบริการ Same-Day ART ไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ อีก 10 แห่งใน 5 จังหวัดของไทย

จากข้อมูลของโรงพยาบาลเครือข่ายของเรา และ คลีนิคนิรนาม สภากาชาดไทย ชี้ให้เห็นว่า การใช้แค่ผลตรวจคัดกรองอาการเจ็บป่วย และผลเอ็กซเรย์ทรวงอก จะทำให้เริ่มยาต้านไวรัสได้ทันที ซึ่งรวดเร็วกว่าการรอผลตรวจระดับซีดี 4 จากห้องปฏิบัติการ

U=U

“U=U” หรือ “ไม่เจอ = ไม่แพร่” (Undetectable = Untransmittable ) เป็นผลการวิจัยเชิงประจักษ์ที่ทำให้เรามั่นใจว่า ผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี เมื่อได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง จนสามารถกดปริมาณไวรัสในเลือดลงได้ จนตรวจไม่พบเชื้อ (Undetectable) และจะไม่สามารถถ่ายทอดเชื้อให้ผู้อื่นได้ (Untransmittable)

IHRI ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมเอดส์สากล (IAS) UNAIDS และกระทรวงสาธารณสุขในการสื่อสารเรื่อง U=U ออกไปยังสาธารณะ เนื่องจากปัจจุบัน จำนวนการตรวจ Viral load ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้ต้องยกระดับแผนการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีเข้ารับการตรวจ Viral load อย่างต่อเนื่อง

DSD

การจัดบริการรับยาต้านไวรัสโดยคำนึงถึงผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวคิดที่ให้บริการจ่ายยาต้านไวรัสตามบริบทผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ ซึ่งมุ่งหวังให้การคงอยู่ในระบบของการรักษาดีขึ้น และลดภาระของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการสุขภาพ เพื่อให้เวลากับผู้ที่อาจจะต้องการการดูแลมากกว่า แนวคิดนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการ 90-90-90 ของ UNAIDS

ปัจจุบัน มีรูปแบบการจ่ายยาต้านไวรัสที่หลากหลายในประเทศไทย เพื่อให้ตอบสนองความต้องการและความสะดวกของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการมารับยาที่ศูนย์สุขภาพ หรือการส่งยาไปที่บ้าน

ผลการดำเนินงานพบว่าผู้อยู่ร่วมกับเชื้อที่มีอาการคงที่ได้รับยาต้านไวรัสเป็นเวลา 6 สัปดาห์จาก 5 โรงพยาบาลเครือข่ายของเรากว่า 94.8% เลือกรับยาต้านไวรัสผ่านบริการ DSD โดยแบ่งเป็น 71% จากโรงพยาบาล 10.1% จากศูนย์สุขภาพชุมชน และ 13.7% ที่รับยาต้านจากไปรษณีย์