ภาพรวม

หน่วยงานเซิร์ช ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 โดยมุ่งเน้นที่งานวิจัยและการอบรมด้านเอชไอวี เอดส์ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จนถึงพ.ศ. 2563 จากนั้นเปลี่ยนเป็นสถาบัน IHRI ร่วมกับ โครงการวิจัยเอชไอวีกองทัพสหรัฐฯ (MHRP) ซึ่งทางหน่วยงานเซิร์ชได้ดำเนินงานภายใต้ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จนถึงพ.ศ. 2563 ก่อนที่จะมาเข้าร่วมกับสถาบัน IHRI

หน่วยงานเซิร์ชมีความสนใจงานที่เกี่ยวกับเอชไอวี เอดส์ และโรคติดต่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ด้าน และได้มีการร่วมทำงานวิจัยมากมาย รวมถึงการเป็นศูนย์อบรมด้านเอชไอวี เอดส์ ในทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก ได้แก่:

1. เอดส์และระบบประสาท
2. การติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน
3. การรักษาเอชไอวีให้หายขาด
4. การพัฒนาด้านภูมิคุ้มกัน ไวรัส และวัคซีน เอชไอวี
5. สุขภาพทางเพศในผู้หญิงและผู้ชาย
6. การติดเชื้อฉวยโอกาสและการติดเชื้อร่วม

พันธกิจของหน่วยงานเซิร์ช คือ การทำความเข้าใจปัจจัยของความสัมพันธ์ของไวรัสและร่างกายที่ไวรัสอาศัยอยู่ ในช่วงระยะของการติดเชื้อเอชไอวี และกลไกที่ทำให้การติดเชื้อคงอยู่ การที่เข้าใจปัจจัยเหล่านี้ จะทำให้เราสามารถหากลยุทธ์ด้านภูมิคุ้มกันที่สามารถตอบโต้การติดเชื้อเอชไอวีได้ และนำไปสู่การควบคุมหรือกำจัดไวรัส โดยไม่ต้องพึ่งยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต

งานวิจัยที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ

SEARCH 010 หรือ RV254 เป็นการศึกษาการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องแบบไปข้างหน้า เพื่อศึกษาถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน ซึ่งทำการคัดกรองอาสาสมัครจากผู้ที่เข้ามาขอรับการตรวจเอชไอวี ในแต่ละปีประมาณ 40,000 คน ซึ่งพบว่ามี 50 ถึง 100 คน ที่เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลันนั้นทำได้อย่างรวดเร็ว (ภายใน 1 วัน) ทำให้ผู้วิจัยมีโอกาสทำความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อได้ทันที ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสเฉพาะในการศึกษาเชื้อไวรัสและการทำงานของเซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในช่วงเริ่มต้นของการติดเชื้อ อาสาสมัครในโครงการจะได้รับการประเมินทางระบบประสาทและจิตประสาทร่วมกับการถ่ายภาพเอกเรย์สมอง (Brain imaging) สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่ให้ความยินยอมจะได้รับการตรวจเลือด ต่อมน้ำเหลือง เนื้อเยื่อในลำไส้ และน้ำไขสันหลัง โดยการตรวจวิเคราะห์ทางไวรัสและภูมิคุ้มกัน

ปัจจุบัน โครงการนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการที่ติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลันและเริ่มยาต้านไวรัสภายใน 1-2 วัน ทั้งสิ้น 655 คน การศึกษาในครั้งนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าในการเพิ่มความสนใจด้านการรักษาเอชไอวีให้หายขาด มีโครงการวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาวิจัยความเป็นไปได้เกี่ยวกับการควบคุมเชื้อเอชไอวีให้สงบ มีการผสมผสานระหว่างการหยุดพักยาต้านเอชไอวีร่วมกับการให้วัคซีนเพื่อการรักษาเอชไอวี มีการใช้แอนติบอดี้ที่ยับยั้งเชื้อได้อย่างกว้างขวาง และการใช้ยาที่มีเป้าหมายที่แหล่งสะสมเชื้อเอชไอวี ผ่านผู้เข้าร่วมโครงการของ SEARCH 010/RV254 ซึ่ง ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โครงการวิจัย SEARCH 010/RV254 มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารมากกว่า 70 ฉบับจนถึงปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2563 มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร 17 ฉบับ และยังมีผลงานออกมาเรื่อยๆ

 Among the 27 publications from 2019/2020 are a report in Nature Medicine by Colby et al. about the first HIV therapeutic vaccine study among this cohort (doi: 10.1038/s41591-020-0774-y); a publication in Lancet HIV by Crowell et al. on the safety and efficacy of VRC01 broadly neutralising antibodies in adults with acutely treated HIV (doi: 10.1016/s2352-3018(19)30053-0); and a manuscript by Leyre et al. published in Science Translational Medicine about abundant HIV-infected cells in blood and tissues being rapidly cleared upon ART initiation during acute HIV infection (doi: 10.1126/scitranslmed.aav3491).

เป็นการศึกษาระยะยาวที่รับผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี 200 คน และผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะเรื้อรัง 200 คน มาเป็นกลุ่มควบคุม เพื่อสำรวจทางไวรัสวิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาในกระแสเลือด ลำไส้ส่วนตรง ทวารหนัก ต่อมน้ำเหลือง สารคัดหลั่งจากอวัยะสืบพันธุ์ และ ระบบประสาทส่วนกลาง งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบผลลัพท์จากการตรวจไวรัส การตรวจ immunophenotyping การย้อมพิเศษทาง immunohistochemistry กับ ผลของการติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน จากการศึกษา SEARCH010/RV254 ซึ่งโครงการยังอยู่ในระหว่างการเปิดรับผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งขณะนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่มีเชื้อเอชไอวี 80 คน และ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะเรื้อรัง 77 คน

เป็นโครงการติดตามอาสาสมัครที่สิ้นสุดจากโครงการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์ ซึ่งจะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดหลังจากหยุดยาต้านไวรัสเอชไอวี หรือมีกลยุทธ์ในการควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับต่ำ การหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในหลายโครงการของการรักษาเอชไอวีเพื่อทดสอบสมมุติฐานที่ว่านวัตกรรมทางการรักษาเอชไอวีนั้นทำให้ร่างกายสามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีให้อยู่ในระดับต่ำโดยที่ไม่ต้องรับประทานยาต้านไวรัสเป็นระยะเวลานาน กลยุทธ์ต่างๆ ในการรักษาแบบใหม่ที่ได้ดำเนินการที่หน่วยวิจัยเซิร์ช ซึ่งจำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับการหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์ ได้แก่ การรักษาด้วยวัคซีน สารภูมิคุ้มกันชนิดโมโนโคลนอล หรือสูตรยาใหม่ และการผสมผสานของการรักษารูปแบบเหล่านี้ โครงการวิจัยนี้จะมีการติดตามระยะยาว เพื่อดูความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์ และผลกระทบของการหยุดการรักษาต่อแหล่งสะสมของเชื้อเอชไอวี โครงการนี้เริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2559 และยังเปิดรับอาสาสมัครอยู่

โครงการวิจัย SEARCH027/RV436 นำโดย ศาตราจารย์เกล แฮนเดอร์ซัน ของมหาวิทยาลัยนอร์ท คาโรไลน่า ซึ่งเป็นอีกทีมวิจัยหนึ่งที่ทำการศึกษาวิจัยเชิงพฤติกรรมในอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย SEARCH010/RV254 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวัง ความตั้งใจ การตัดสินใจ และความพึงพอใจของอาสาสมัครในการตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการวิจัย SEARCH010/RV254 เกี่ยวกับโครงการวิจัยที่ศึกษาเรื่องการควบคุมเชื้อเอชไอวี (functional cure) อาสาสมัครในโครงการวิจัย SEARCH010/RV254 จำนวน 250 คน ได้ทำ แบบสำรวจเกี่ยวกับความเข้าใจ ความคาดหวัง และความตั้งใจที่มีต่อโครงการวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ อาสาสมัครที่ได้ถูกเสนอให้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการควบคุมเชื้อเอชไอวีได้ถูกสัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงเหตุผลในการตัดสินใจที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมในโครงการวิจัยและความพึงพอใจในการตัดสินใจของพวกเขา

ผลการวิจัยเบื้องต้นได้ถูกนำเสนอครั้งแรกในงานประชุมทางวิชาการ Bangkok International Symposium on HIV Medicine ครั้งที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมกราคม 2560 ผลการวิจัยระบุว่าการเข้าร่วมในโครงการวิจัย SEARCH010/RV254 อาสาสมัครรู้สึกว่ามีความเข้าใจในข้อมูลโครงการวิจัยที่ทีมผู้วิจัยอธิบายและได้รับข้อมูลที่เพียงพอ นอกจากนี้ผลจากการสัมภาษณ์อาสาสมัครที่ได้ถูกเสนอให้เข้าร่วมในโครงการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมเชื้อเอชไอวี พบว่า อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการให้ข้อมูลไม่แตกต่างกัน คืออาสาสมัครทั้งสองกลุ่มมีความเข้าใจในข้อมูลของโครงการวิจัยที่เหมือนกันแต่ให้น้ำหนักต่อข้อมูลนั้นแตกต่างกัน โดยอาสาสมัครมีความเห็นว่าโครงการวิจัยการหยุดการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีนั้นมีทั้งความเสี่ยงและผลประโยชน์ แต่อาสาสมัครก็รู้สึกว่ามีความปลอดภัย เนื่องจากโครงการวิจัยมีการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด การที่อาสาสมัครตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการวิจัยนี้ อาสาสมัครคาดหวังว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงวิทยาศาสตร์และอยากให้ผลนั้นสะท้อนกลับมาเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง อาสาสมัครรู้สึกว่าการทำกระบวนการทางเลือกของโครงการวิจัยนั้นมีความยุ่งยาก

ถึงอย่างไรก็ตามโดยส่วนใหญ่ของอาสาสมัครที่ตัดสินใจเข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการวิจัยนี้ รู้สึกพอใจกับการตัดสินใจของตัวเองและเมื่อเวลาผ่านไปก็จะยังคงตัดสินใจแบบเดิม

ตั้งแต่นั้นมาก็มีการเผยแพร่เอกสาร 2 ฉบับที่อธิบายผลลัพธ์เหล่านี้:

  1. Henderson GE, Waltz M, Meagher K, Cadigan RJ, Jupimai T, Isaacson S, Ormsby NQ, Colby DJ, Kroon E, Phanuphak N, Ananworanich J, Peay HL. Going off antiretroviral treatment in a closely monitored HIV “cure” trial: longitudinal assessments of acutely diagnosed trial participants and decliners. Journal of the International AIDS Society. 2019;22(3):e25260. Epub 2019/03/15. doi: 10.1002/jia2.25260. PubMed PMID: 30869203; PMCID: PMC6416664.
  1. Henderson GE, Peay HL, Kroon E, Cadigan RJ, Meagher K, Jupimai T, Gilbertson A, Fisher J, Ormsby NQ, Chomchey N, Phanuphak N, Ananworanich J, Rennie S. Ethics of treatment interruption trials in HIV cure research: addressing the conundrum of risk/benefit assessment. J Med Ethics. 2018 Apr;44(4):270-276. doi:10.1136/medethics-2017-104433. Epub 2017 Nov 10. PubMed [citation] PMID: 29127137

โครงการวิจัยต่างๆ ที่สิ้นสุดแล้ว

เป็นโครงการวิจัยแบบสุ่มกลุ่ม มีกลุ่มควบคุมชนิดปกปิดสองทางเพื่อดูความปลอดภัยและประสิทธิผลในการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนติบอดีวีอาร์ซีโอวัน (VRC-01) ที่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อเอชไอวี-1 และควบคุมการติดเชื้อเอชไอวีระหว่างหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์ อาสาสมัครที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในระยะเฉียบพลันมาอย่างน้อย 2 ปี และมีปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในระดับต่ำ (<50 copies/mL) อย่างน้อย 48 สัปดาห์ จะหยุดการรักษาเอชไอวีในขณะที่ได้รับสารละลาย VRC-01 ทางหลอดเลือดดำทุกๆ 3 สัปดาห์ เป็นเวลา 24 สัปดาห์ ระหว่างที่หยุดการรักษา อาสาสมัครจะได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะติดตามปริมาณไวรัสเอชไอวี ระบบภูมิคุ้มกัน และอาการแสดงทางคลินิกของเชื้อเอชไอวีที่กลับมาเพิ่มจำนวน อาสาสมัครจะกลับมาเริ่มยาต้านไวรัสอีกครั้งเมื่อพบว่าปริมาณเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือถ้าอาสาสมัครมีอาการแสดงทางคลินิกหรือข้อบ่งชี้ทางระบบภูมิคุ้มกันที่แสดงว่าปริมาณเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น โครงการวิจัยนี้เริ่มรับอาสามัครในเดือนสิงหาคม 2559 จำนวน 18 คน และสิ้นสุดโครงการวิจัยในช่วงกลางปี พ.ศ. 2560

ผลการวิจัยของโครงการนี้ได้ถูกนำเสนอที่ งานประชุม International AIDS Society (IAS) ครั้งที่ 9 (ในปี พ.ศ. 2560 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Lancet HIV ซึ่งพบว่าหลังจากที่หยุดยาต้านไวรัสทุกตัว อาสาสมัครที่ได้รับสาร VRC-01 นั้น ใช้เวลาในการตรวจพบปริมาณเชื้อเอชไอวี (>20 copies/ml) ช้ากว่าผู้ที่ได้รับสารลอกเลียนแบบ; 26 vs. 14 วัน (p=0.51) และกลุ่มที่ได้รับสาร VRC-01 ใช้เวลาในการกดเชื้อให้อยู่ในระดับต่ำหลังจากกลับมาเริ่มรับประทานยาต้านไวรัสน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับสารลอกเลียนแบบ: 21 vs. 28 วัน (p=0.83) ถึงแม้ว่าอาสาสมัครทุกรายที่มีปริมาณไวรัสกลับมาเพิ่มขึ้นและต้องกลับมาเริ่มยาต้านไวรัสอีกครั้ง แต่มีอาสาสมัคร 1 คน ที่สามารถหยุดยาต้านไวรัสและมีปริมาณเชื้อไวรัสในระดับต่ำเป็นเวลา 44 สัปดาห์

โดยทั่วไปการได้รับสาร VRC-01 มีความปลอดภัยและอาสาสมัครทนต่อผลข้างเคียงของสาร VRC01 ได้ดี อย่างไรก็ตาม มีอาสาสมัคร 1 คน เกิดอาการแพ้ต่อแอนติบอดี้ ซึ่งได้รับการรักษาจนหาย แต่มีความจำเป็นให้งดรับสาร VRC-01 ในครั้งถัดไป โดยสรุปของโครงการนี้คือ สาร VRC-01 จะทำให้ไวรัสเอชไอวีใช้เวลาในการกลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่ในร่างกายช้าลง หลังจากหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์ แต่การให้สาร VRC-01 เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอในการควบคุมการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส โครงการวิจัยในอนาคตอาจจะทดสอบการรักษาโดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดี้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ

โครงการวิจัย SEARCH 022/RV411 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกดเชื้อไวรัสหลังหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์ ในผู้อาสาสมัครที่เริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสในช่วงที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลัน (Fiebig 1) ซึ่งตรวจพบปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดแต่ยังไม่พบแอนติบอดี้ต่อเชื้อเอชไอวี ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยนี้เป็นผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัสมาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และมีปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดต่ำมากจนตรวจไม่พบ (HIV viral load 400 cells/mm3 และไม่มีอาการแสดงทางคลินิกของการติดเชื้อเอชไอวี ในโครงการวิจัยนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย 8 ราย หยุดยาต้านไวรัสทุกชนิดและได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อดูเชื้อเอชไอวีที่กลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นในเลือด การลดลองของจำนวน CD4 หรืออาการทางคลินิกต่างๆ

ผลของการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการหยุดการรักษาอย่างมีการวิเคราะห์นั้นมีความปลอดภัย และยอมรับได้ในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่เริ่มยาต้านไวรัสในระยะเฉียบพลัน แม้ว่าผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยทุกรายจะมีเชื้อเอชไอวีกลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นในเลือด แต่ไม่มีใครมีอาการทางคลินิก โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ร้ายแรง เกิดการดื้อยาใหม่ หรือการรักษาล้มเหลวหลังจากกลับมาเริ่มยาต้านไวรัสอีกครั้งหนึ่ง

ผลการศึกษาของโครงการวิจัยได้นำเสนอในที่ประชุม Conference on Retroviruses and Opportunistic Infections (CROI) เมื่อปี 2017 และได้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Nature Medicine

Colby D, Trautmann L, Pinyakorn S, Leyre L, Pagliuzza A, Kroon E, Rolland M, Takata H, Buranapraditkun S, Intasan J, Chomchey N, Muir R, Haddad EK, Tovanabutra S, Ubolyam S, Bolton DL, Fullmer BA, Gorelick R, Fox L, Crowell T, Trichavaroj R, O’ Connell R, Chomont N, Kim JH, Michael NL, Robb ML, Phanuphak N, Ananworanich J, on behalf of the RV411 study group. Rapid HIV RNA rebound after antiretroviral treatment interruption in persons durably suppressed in Fiebig I acute HIV infection. Nat Med. 2018 Jun 11. doi: 10.1038/s41591-018-0026-6. PMID:29892063.

SEARCH023/RV405 เป็นการศึกษาแบบสุ่มกลุ่ม มีกลุ่มควบคุม ปกปิดสองทางของวัคซีนในอาสาสมัครซึ่งได้เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในช่วงการติดเชื้อเอชไอวีระยะเฉียบพลัน โดยมีสมมุติฐานว่า วัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเพื่อควบคุมเชื้อไวรัสเอชไอวีหลังจากหยุดยาต้านไวรัส

การศึกษาวิจัยนี้มีอาสาสมัคร 26 คน ที่ได้รับยาต้านไวรัสและมีปริมาณเชื้อเอชไอวีในระดับต่ำเป็นเวลาอย่างน้อย 1ปี จะได้รับการฉีดวัคซีนหรือสารเลียนแบบทั้งสิ้น 4 เข็มในช่วงเวลา 48 สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นการฉีดวัคซีน อะดีโนไวรัส ไทป์ 26 เวคเตอร์ ปูพื้น 2 เข็ม และกระตุ้นด้วยฉีดวัคซีนโมดิไฟด์ วัคซิเนียแอนคารา 2 เข็ม หลังจากได้รับวัคซีนครบแล้ว 12 สัปดาห์ อาสาสมัครจะเข้าสู่การหยุดการรักษาด้วยยาต้านไวรัส อาสาสมัครจะถูกเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดทั้งทางด้านไวรัส ภูมิคุ้มกัน และอาการแสดงทางคลินิกของไวรัสที่เริ่มมีการเพิ่มจำนวน หากตรวจพบเชื้อเอชไอวีหรือพบว่ามีผลข้างเคียงใดๆ จากวัคซีน อาสาสมัครต้องกลับมาเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสอีกครั้ง

งานวิจัยนี้ได้เริ่มรับอาสาสมัครเมื่อตุลาคม 2016 มีอาสาสมัครทั้งหมด 26 คนที่ได้รับวัคซีนหรือสารเลียนแบบครบ 4 ครั้ง และไม่พบการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงทั้งในช่วงการให้วัคซีนหรือช่วงการหยุดการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผลสรุปที่ได้คือวัคซีนที่ใช้ศึกษานี้ปลอดภัยและสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดี อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนพบว่าไวรัสกลับมาเพิ่มจำนวนช้ากว่าอาสาสมัครที่ได้รับสารเลียนแบบ

งานวิจัยนี้ได้เปิดเผยครั้งแรกที่งานประชุม IAS Towards an HIV Cure initiative ปี 2562 หลังจากนั้นได้ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Nature Medicine

Donn Colby, Michal Sarnecki, Dan H. Barouch, Somporn Tipsuk, Daniel J. Stieh, Eugène Kroon, Alexandra Schuetz5, Jintana Intasan, Carlo Sacdalan, Suteeraporn Pinyakorn, Pornsuk Grandin, Hongshuo Song, Sodsai Tovanabutra, Zhanna Shubin, Dohoon Kim, Dominic Paquin-Proulx, Michael A. Eller, Rasmi Thomas, Mark de Souza, Lindsay Wieczorek, Victoria R. Polonis, Amélie Pagliuzza, Nicolas Chomont, Lauren Peter, Joseph P. Nkolola, Johan Vingerhoets, Carla Truyers, Maria G. Pau, Hanneke Schuitemaker, Nittaya Phanuphak, Nelson Michael, Merlin L. Robb, Frank Tomaka, Jintanat Ananworanich, and the HTX1001/RV405 Study Team. Safety and Immunogenicity of Ad26, MVA vaccines in acutely treated HIV and effect on viral rebound after ART interruption. Nat Med, 23 March 2020; volume 26: 498–501.

เป็นการศึกษาย่อยของโครงการวิจัย SEARCH 010/RV254 เพื่อศึกษาผลของการรักษาที่เกิดจากให้ยาเทลมิซาแทนเพิ่มเติมจากยาต้านไวรัสเอชไอวี ในอาสาสมัครที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลันจำนวน 21 คน ยาเทลมิซาแทน เป็นยากลุ่ม angiotensin receptor blocker (ARB) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต่อต้านผังผืด การศึกษานี้เป็นการเปรียบเทียบกลุ่มที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีร่วมกับยาเทลมิซาแทนจำนวน 14 คน กับกลุ่มที่ได้รับยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จำนวน 7 คน เพื่อที่จะดูว่าการเพิ่มยาเทลมิซาแทนนั้นจะช่วยลดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่สมองได้หรือไม่ และจำกัดการสร้างและการคงอยู่ของแหล่งสะสมของเชื้อเอชไอวีในสมอง นอกจากนี้ในกลุ่มอาสาสมัครที่ยินยอมทำการตัดชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลือบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นกระบวนการทางเลือก โครงการวิจัยจะศึกษาว่า การได้รับยาเทลมิซาแทนร่วมกับการให้ยาต้านไวรัสนั้น ทำให้เกิดผังผืดของเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองน้อยกว่าผู้ที่ได้รับยาต้านไวรัสเพียงอย่างเดียวหรือไม่ การศึกษานี้ผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยแต่ละรายใช้เวลา 72 สัปดาห์ ซึ่งเริ่มโครงการในเดือนมกราคม 2558 และเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2561 หลังจากสิ้นสุดโครงการวิจัย SEARCH018/RV408 อาสาสมัครทุกรายยังคงอยู่ในโครงการวิจัย SEARCH 010/RV254 และกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมตีพิมพ์