งานของเรา
ปัญหาโรคอุบัติใหม่
การใช้สารเสพติด
- ATS & Chemsex
ปัจจุบันพบว่ามีการใช้สารกระตุ้นประเภทแอมเฟตามีน (amphetamine-type stimulants – ATS) ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศจำนวนมาก ซึ่งนับว่าเป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี ทาง IHRI ได้ดำเนินโครงการ ATS study เพื่อศึกษารูปแบบของสารกระตุ้นประเภทแอมเฟตามีน และสารเสพติดชนิดอื่นๆ บวกกับความสัมพันธ์ของการใช้ยาต้านไวรัส หรือ ยาเพร็พ และอุบัติการณ์การเกิดเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและหญิงข้ามเพศ
การศึกษาจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีการฉีดเมทแอมเฟตามีน 7% และมีการใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีน 27.1% ในกลุ่มผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ซึ่งสูงกว่าผู้ไม่มีเชื้อเอชไอวีอยู่ 14.6% โดยการใช้สารเสพติดชนิดอื่นๆ เช่น ยาสูบหรือแอลกอฮอล์ และการทำกิจกรรมทางเพศ เช่น ขายบริการทางเพศ หรือเซ็กส์หมู่ ล้วนแล้วแต่ข้องเกี่ยวกับการใช้แอมเฟตามีน จึงเห็นสมควรให้มีการตรวจคัดกรองผู้ใช้สารดังกล่าวโดยละเอียด
โครงการได้มีการใช้แบบคัดกรอง ASSIST (Alcohol, Smoking, and Substance Involvement Screening Test) ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานระดับโลกที่ใช้ในการคัดกรองการใช้สารเสพติด และประเมินระดับความเสี่ยงของผู้ใช้สารเสพติด โดยคะแนนการทดสอบแบ่งเป็น ความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลางไปจนถึงผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสามารถใช้การบำบัดแบบสั้น ได้ (BI) IHRI ได้นำแบบคัดกรอง ASSIST และการบำบัดแบบสั้นมาใช้กับรูปแบบการให้บริการ KPLHS โดยผลการดำเนินงานตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2562 มีผู้ได้รับการการคัดกรอง ASSIST ในศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 3,282 คน พบว่ามีผู้ใช้สารเสพติด 71% ในกลุ่มนี้มีผู้ใช้แอมเฟตามีน 10% และ 44% เคยฉีดแอมเฟตามีนเข้าร่างกายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ความสำเร็จของโครงการ ATS study ทำให้ IHRI ได้รับรางวัลด้านการจัดการปัญหาผู้ใช้สารเสพติดในกลุ่มประชากรหลักที่โดดเด่น ณ งานประชุม International Conference of Public Health Science ครั้งที่ 19 ที่จัดขึ้นที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
IHRI ได้ก้าวไปข้างหน้าในฐานะผู้นำด้านการจัดการปัญหาโรคอุบัติใหม่ในกลุ่ม Chemsex โดยกำลังดำเนินโครงการใหม่ที่ชื่อว่า "Project-X" เพื่อระบุปัจจัยของการมี Chemsex และรูปแบบการใช้สารเสพติดในกลุ่มวัยรุ่นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
- ไวรัสตับอักเสบซี (HCV)
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการระบาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายอย่างมา จากการติดตามผู้เข้าร่วมโครงการ SEARCH010/RV254 คิดเป็น 2,477 คน-ปี พบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี 66 ราย (26.6 ต่อ 1,000 คน-ปี) โดยมีอุบัติการณ์การติดเชื้อ 1,000 คน-ปี เพิ่มขึ้นจาก 11.4 ในปี พ.ศ. 2557 (จากการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น) ไปถึง 48.7 ในปี พ.ศ. 2562
ผลการศึกษาของโครงการ ATS Study พบว่า มีความชุกของไวรัสตับอับเสบซีสูงในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่อยู่ร่วมกับเชื้อเ อชไอวี โดย 14.3% ใช้สารเสพติตประเภทแอมเฟตามีน และ 8.6% ไม่ได้ใช้สารเสพติด ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อไวรัสตับอับเสบซีกำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กั บชายที่ใช้แอมเฟตามีน และผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเช่นเดียวกันที่อยู่ในพื้น ที่กรุงเทพฯ โดยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักที่เสี่ยงต่อการมีโรคติดต่ อทางเพศสัมพันธ์สูง และการมีกิจกรรมทางเพศที่รุนแรงและเป็นเวลานาน พร้อมกับมีการใช้สารเสพติด ทำให้จำเป็นต้องมีการใช้แนวทางการดำเนินการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction) การคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี และยารักษาโรคไวรัสตับอับเสบซีเรื้อรัง (direct-acting antivirals – DAAs) เพื่อมาจัดการปัญหาโรคอุบัติใหม่นี้
ทั้งนี้ ยังมีการคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบซีในกลุ่มประชากรหลักไม่เพียงพอ IHRI จึงได้รวมแบบคัดกรองทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการได้ ที่ศูนย์สุขภาพชุมชน เพื่อที่จะมุ่งไปที่การขจัดการแพร่กระจายของโรคและลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไวรัส ตับอักเสบซี
โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
- AIN in AHI
ข้อมูลส่วนใหญ่พบว่า โรคติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus - HPV) มักจะพบในเพศหญิง ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศในผู้ชายด้วย แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการระบาดของเชื้อเอชพีวีและโรคที่เกี่ยวข้อง แต่การให้วัคซีนเอชพีวียังไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากมีราคาที่สูง อีกทั้งยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชพีวีและมะเร็งทวารหนักในกลุ่ มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลัน IHRI จึงได้ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ทางระบาดวิทยาระหว่างเชื้อเอชไอวีกับเ ชื้อเอชพีวี และมะเร็งทวารหนัก รวมถึงพยายามคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่จะสามารถยับยังการติดเชื้อของเอชพีวีได้
มะเร็งทวารหนักมักเป็นเกิดจากการติดเชื้อเอชพีวีที่เรื้อรัง โดยทั่วไปแล้วเชื้อเอชพีวีจะหายไปเองโดยธรรมชาติ แต่ด้วยสถานการณ์บางอย่างอาจทำให้เชื้อเอชพีวียังคงอยู่เรื้อรัง และพัฒนาให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้หากปล่อยไว้โดยไม่รับการตรวจ การประเมินการณ์ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีเชื้อเอชไอวี มีการเกิดของมะเร็งทวารหนักที่เข้าขั้นวิกฤต IHRI จึงได้เริ่มทำการศึกษาความชุกและอุบัติการณ์การเกิดรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็งปา กทวารหนักในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ติดเชื้อเอชไอวี ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีเชื้อเอชวีไอวีในระยะเฉียบ พลันและอยู่ระหว่างรับยาต้านไวรัส (AIN in AHI)
จนถึงตอนนี้ IHRI มีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 96 ราย ที่เข้าร่วมโครงการศึกษานี้ในระยะเวลา 36 เดือน โดยคาดว่าผลการศึกษาจะเสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 เพื่อที่จะได้หลักฐานที่ช่วยให้เข้าใจถึงผลกระทบที่ว่าการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีโ ดยเร็วและการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยเร็วอาจมีผลทำให้เกิดเชื้อเอชพีวีที่คงอยู่เนิ่ นนานและพัฒนาให้เกิดรอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็งปากทวารหนัก
สุขภาพจิต
- Chimera
จากสถิติของการวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่ามีความชุกของการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ในกลุ่มหญิงข้ามเพศ โชคร้ายที่ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในกลุ่มหญิงข้ามเพศในไทยยังไม่ทราบแน่ชัด ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2562 คลินิกแทนเจอรีนได้นำแบบสอบถามสุขภาพจิตของตนเองมาใช้เพื่อประเมินภาวะซึมเ ศร้าของผู้รับบริการ ในช่วงระหว่างดำเนินการพบว่า หญิงข้ามเพศเกินกว่าครึ่งมีภาวะซึมเศร้า เพื่อที่จะรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตที่สัมพันธ์กับเอชไอวี IHRI จึงได้เข้าร่วมในโครงการ Chimera (โครงการพัฒนาศักยภาพสำหรับการวิจัยเอชไอวีและสุขภาพจิตในเอเชีย) เพื่อเป็นผู้นำการวิจัยการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตและเอชไอวีแห่งแรกของภูมิภาค เพื่อที่จะขับเคลื่อนนโยบายทางสาธารณสุข พัฒนาการบริการทางคลินิกและเสริมสร้างผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วย
โดยมีชุมชนเป็นแกนนำ
- การตีตราและการเลือกปฏิบัติ
นับตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จนทำให้องค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาดอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 จนถึงตอนนี้พบว่า มีผู้ติดเชื้อโควิค-19 มากกว่า 50 ล้านรายทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.3 ล้านราย ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 3,000 ราย โดยมีการเปิดเผยว่าชุมชนบางแห่งในไทยปฏิเสธที่จะให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วกลับมาในชุมชน พวกเขาถูกเพื่อนบ้านขับไล่ออกจากบ้านของตัวเอง ชาวบ้านบางรายออกมาประท้วงโรงพยาบาลให้แยกผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว กับผู้ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบโควิด-19 ให้ออกไปจากพื้นที่ชุมชนของตัวเอง
การตีตราและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนเหล่านี้ชัดเจน และอาจส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพจิตใจ อีกทั้งผู้ที่อาจมีอาการบ่งชี้ของโควิด-19 อาจไม่กล้าเข้ารับการตรวจ เพราะกลัวจะถูกตีตราและไม่ได้รับความปลอดภัย ปัจจัยนี้จึงกลายเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการคัดกรองและรักษา ป้องกันโรค IHRI จึงได้เปิดตัวโครงการใหม่ ที่ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และประเมินแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจะใช้การรณรงค์สร้างความตระหนักและให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนในชุมชน
- Serology
ในช่วง COVID-19 ระบาดนั้นพบการรายงานว่า ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมีการแสดงออกของโรค COVID-19 ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น ๆ อาจเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อสามารถตอบสนองต่อโรคดังกล่าวได้น้อยกว่า ทำให้ความรุนแรงของโรคจึงน้อยกว่า รวมถึงได้มีการดำเนินการศึกษาเพื่อที่จะพิสูจน์สมมุติฐานของประสิทธิภาพของยาในกลุ่ม protease inhibitors ที่ใช้ในการรักษาเอชไอวี ว่าสามารถรักษา COVID-19 ได้หรือไม่ และกำลังเป็นที่สนใจว่ายา TDF และ FTC ที่ปัจจุบันใช้เป็นยาเพร็พ ในการป้องกันการติดเชื้อก่อนการสัมผัสนั้น มีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกัน COVID-19 จริงหรือไม่ เพื่อเป็นการทดสอบสมมุติฐานดังกล่าว IHRI จึงได้ดำเนินการศึกษารูปแบบของภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ในกลุ่มประชากรไทยที่กินและไม่กินยาต้านเอชไอวี เพื่อการป้องกันการติดเชื้อก่อนการสัมผัส หรือเพื่อการรักษาเอชไอวี โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากทาง amfAR TREAT Asia ภายใต้ IeDEA Asia-Pacific network ในโครงการนี้จะเป็นการนำพลาสมาที่เหลืออยู่จากโครงการต่าง ๆ ภายใต้ IHRI หน่วยวิจัยเซิร์ช และคลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย มาทำการทดสอบหาโปรตีนชนิดต่าง ๆ ของไวรัสโคโรน่า โดยทำการทดสอบที่ Vaccine Research Center ของ U.S. National Institutes of Health สหรัฐอเมริกา
เพื่อศึกษารูปแบบของภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS- CoV-2 ช่วงก่อนการระบาด และหลังการระบาดของประเทศไทย ในกลุ่มประชากรไทยที่กินเพร็พ หรือยาต้านเอชไอวี และเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรที่ไม่ได้กินยาต้านเอชไอวี หรือยาเพร็พ คาดว่าจะได้รับผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการในช่วงต้นปี 2564