บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ในสหรัฐอเมริกามีคนประมาณ 158 ล้านคนที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม ซึ่งรวมถึงคน มากกว่า 124 ล้านคนที่ได้รับฉีดวัคซีนไปแล้วทั้งสองเข็ม (จาก The New York Times เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564) และ คนส่วนมากเชื่อว่าวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้คนที่ได้วัคซีนไปแล้วป่วยเป็นโควิด-19 แต่สำหรับบางคนนั้นวัคซีนไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโควิด-19 ตามที่คาด ซึ่งสำหรับคนที่ป่วยเป็นโควิด-19 หลังจากที่ได้ฉีดวัคซีนไปแล้วนั้นการติดเชื้อ ย่อมเป็นสิ่งที่ต่างจากที่คาดไว้ก่อนว่าวัคซีนที่ได้มีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันการป่วยเป็นโควิด-19 และการป่วย เป็นโควิด-19 หลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้วย่อมก่อให้เกิดความผิดหวังเป็นอย่างมากสำหรับหลายคน
การติดเชื้อและป่วยเป็นโควิด-19 หลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนไปแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ไม่พบมากนักและยังเป็นเรื่องที่คน ไม่คาดอีกด้วยทำให้สำหรับบางรายนั้นการวินิจฉัยการป่วยในเบื้องต้นมักจะผิดและกว่าที่จะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องว่าป่วย เป็นโควิด-19 อาการป่วยได้กำเริบไปมากจนทำให้บางคนเสียชีวิต
กรณีการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบสองเข็มแล้วรายหนึ่งที่ได้รับรายงานเป็นชายวัย 80 ปีที่ยัง ทำงานอยู่ (จิตแพทย์) ที่มีอาการป่วยหลังจากที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ไปแล้วมากกว่า 1 เดือน อาการที่ป่วยรวมถึง ปวดตามที่ต่างๆและรู้สึกอ่อนเพลียเหมือนกับเป็นหวัด หลังจากแพทย์ประจำตัวของเขาดูอาการแล้ว เขาถูกส่งต่อไปยัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจที่ดูแลเขาอยู่ก่อนแล้ว แพทย์ทั้งสองคนคิดว่าอาการของเขาเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจที่เขาเป็นอยู่ เดิม แต่อาการของเขากลับแย่ลงคืออ่อนเพลียมากจนแทบจะลุกจากเตียงไม่ได้ แต่แพทย์หัวใจของเขายืนยันกับเขาว่า อาการอ่อนเพลียนั้นอาจจะเนื่องมาจากอาการหัวใจเต้นผิดปกติที่เขากำลังเป็นอยู่และยาที่เขากินอยู่นั้นต้องอาศัยเวลาบ้าง ก่อนที่จะมีผล เมื่อห้าวันหลังจากท่ีเขาเริ่มมีอาการลูกชายของเขาพาเขาไปแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนี่งซึ่งตรวจ พบว่าเขาเป็นโควิด-19 และแพทย์แผนกฉุกเฉินต้องส่งเขาไปรักษาตัวต่อที่แผนกผู้ป่วยหนักเมื่อ 1 อาทิตย์ถัดไป หลังจากที่ ได้รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยหนักได้หนึ่งอาทิตย์เขาก็เสียชีวิตจากโควิด-19[1]
ลูกสาวของชายคนนี้บอกกับผู้เขียนข่าวใน medscape ว่าหลังจากที่พาพ่อไปโรงพยาบาลแล้วเธอต้องการรู้ว่าทำไมพ่อของเธอจึงป่วยได้ทั้งๆที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบแล้วซึ่งแพทย์ที่เกี่ยวข้องบอกกับเธอว่าอาจเป็นเพราะเขาติด เชื้อไวรัสผันแปร (variant) ที่อาจจะแพร่เชื้อได้ดีกว่าหรือที่ก่อให้เกิดอาการป่วยที่รุนแรงกว่าและเธอคิดว่าอาจจะเป็นไวรัสผันแปรที่พบมากในประเทศอาฟริกาใต้
ในการค้นหาคำตอบนั้นเธอทำร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อของโรงพยาบาลเพื่อที่จะเก็บตัวอย่างสิ่งส่ง ตรวจทางการแพทย์จากพี่ชายของเธอและเลขาของสำนักงานของคลินิกที่พ่อเธอทำงานอยู่เพราะทั้งสองได้รับการตรวจพบ ว่าติดเชื้อที่ทำให้คนป่วยเป็นโควิด-19 เช่นกัน ตัวอย่างของสิ่งส่งตรวจของทั้งสองคนถูกวิเคราะห์เกี่ยวกับข้อมูลทาง พันธุกรรม (ที่เรียกว่า “จีโนม” – genomes) ที่จะศึกษาการเรียงลำดับของยีน และหลังจากที่พ่อของเธอเสียชีวิตไปแล้ว ประมาณ 10 วัน เธอได้รับแจ้งว่าพ่อของเธอติดไวรัสผันแปร B. 1.427 ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในรัฐคาลิฟอร์เนีย
การติดเชื้อและป่วยเป็นโควิด-19 หลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วน้ันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่เป็นเรื่อง สำคัญที่ต้องติดตามและศึกษากรณีการติดเชื้อหลังจากการฉีดวัคซีนเพื่อให้เข้าใจว่าทำไมบางคนจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อและ ป่วยหลังจากที่ได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว และข่าวเกี่ยวกับการติดเชื้อใหม่ที่ถูกถ่ายทอดต่อๆไปอาจทำให้คนจำนวนหนึ่งไม่มั่นใจ ในวัคซีนโควิด-19 และไม่ต้องการฉีดวัคซีนก็เป็นได้
นอกจากนั้นแล้วหากไวรัสเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมต่อไปเรื่อยๆ กรณีการติดเชื้อและป่วยหลังฉีดวัคซีน อาจเป็นสัญญาณบอกว่าไวรัสสามารถต่อต้านกับวัคซีนที่ใช้กันอยู่ได้ดีขึ้นทำให้บริษัทผลิตวัคซีนต้องปรับปรุงวัคซีนให้ตอบ สนองกับไวรัสที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ได้ดีขึ้น หรืออาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มอีกก็ได้
แต่การที่จะรู้ว่าจำเป็นต้องปรับปรุงวัคซีนที่มีอยู่ให้ดีขึ้นหรือไม่หรือจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนเพิ่มหรือไม่นั้นจำเป็นที่ จะต้องมีข้อมูลเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์พันธุกรรมของไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว และข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ที่ได้รับฉีดวัคซีนไปแล้วและติดเชื้อ เช่น เป็นโรคอื่นที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันไม่ปกติหรือไม่ แต่ ในบางกรณีข้อมูลเหล่านี้ไม่ถูกเก็บรวบรวม บางรัฐไม่ระบุว่าการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้วทำให้คนที่ติดเชื้อมีอาการ ป่วยหรือไม่ หรือไม่ได้ระบุว่าเกิดอาการป่วยที่ไม่รุนแรงหรือมีอาการป่วยรุนแรง เป็นต้น และในบางกรณีนั้นตัวอย่างสิ่งส่ง ตรวจของคนที่ติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนแล้วถูกโยนทิ้งไปก่อนที่จะถูกนำไปวิเคราะห์อย่างถูกต้อง และโรงพยาบาลและคลินิก จำนวนหนึ่งไม่เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจใหม่เลย ทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนแล้วจำนวนหนึ่ง เกี่ยวข้องกันไวรัสที่ผันแปรทางพันธุกรรมหรือไม่
นอกจากข้อมูลของการติดเชื้อหลังจากที่ฉีดวัคซีนแล้วที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์รู้เกี่ยวกับสาเหตุของการติดเชื้อ เช่นนี้แล้วยังมีข้อมูลที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานได้ว่าการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนไป แล้วนั้นเป็นเพราะไวรัสผันแปรหรือไม่หากว่าการติดเชื้อหลังจากการฉีดวัคซีนที่ได้รับรายงานมาจากพื้นที่เดียวกัน หรืออาจ เป็นเพราะวัคซีนที่ผลิตในงวดนั้นทั้งหมดมีปัญหา
ในข่าวจาก medscape รวมถึงข้อมูลการฉีดวัคซีนและจำนวนคนที่ติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนครบแล้วจากหลายรัฐ ที่แสดงว่ากรณีเช่นนี้เกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งข้อมูลจากสามรัฐแสดงว่าการติดเชื้อและป่วยเป็นโควิด–19 หลังจากฉีดวัคซีนครบ แล้วมีตั้งแต่ 0.02% ถึง 0.0008% และจากทั้งสามรัฐมีจำนวนคนที่ติดเชื้อหลังการฉีดวัคซีนครบแล้ว 168 คน จากคนที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วจำนวนมากกว่า 2.6 ล้านคน และจาก 168 คนที่ติดเชื้อหลังการฉีดวัคซีนนี้มี 3 คนที่เสียชีวิต การติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนไปแล้วหรือที่เรียกว่า breakthrough infection นั้นหมายถึงผลของการตรวจโควิด-19 เป็นบวกหลังจากที่ฉีดวัคซีนครบแล้วเป็นเวลามากกว่า 14 วันขึ้นไป
ถึงแม้ว่าวัคซีนโควิด-19 ที่มีใช้กันอยู่จะมีประสิทธิภาพสูงต่อไวรัสผันแปรที่แพร่ระบาดในปัจจุบันก็ตาม แต่โอกาส ที่ไวรัสจะหลบหนีการป้องกันของวัคซีนได้ก็ยังมีอยู่ ดร. วิลเลียม กรูเบอร์ (Dr. William Gruber) รองประธานอาวุโสด้าน การพัฒนาและวิจัยทางคลินิกสำหรับวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์กล่าวกับผู้สื่อข่าวของ medscape
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนครบแล้วเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคโดยเฉพาะ อย่างยิ่งการป่วยรุนแรงจนทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาและการป่วยรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต เพราะข้อมูลประเภทนี้บอก ถึงประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่รุนแรง แต่ทว่าสำหรับบางรัฐแล้วข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ขาดหายไป
ส่วนการวิเคราะห์ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเพื่อศึกษาพันธุกรรมของไวรัสที่จะช่วยให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของไวรัสที่ทำให้เกิดไวรัสผันแปรต่างๆนั้น อุปสรรคสำคัญสำหรับบางรัฐในสหรัฐอเมริกาคือ การตรวจการติดเชื้อโดยมากทำโดยบริษัทเอกชนและบริษัทจะเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจไว้เพียงสอง–สามวันเท่านั้น หลังจาก นั้นตัวอย่างสิ่งส่งตรวจก็จะถูกโยนทิ้งไป และเมื่อหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้รับแจ้งเกี่ยวกับการติดเชื้อหลังจากฉีด วัคซีน ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่เกี่ยวข้องถูกโยนทิ้งไปแล้ว ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถยืนยันได้ว่ากรณีของการติดเชื้อหลังจาก ฉีดวัคซีนกรณีต่างๆเป็นเพราะไวรัสผันแปรหรือไม่เพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอ
หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ตรวจการติดเชื้อบางรัฐไม่มีศักยภาพในการเก็บรักษาตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากการตรวจ การติดเชื้อที่รู้ผลเร็ว (rapid test) ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องโยนตัวอย่างทิ้งไปหลังจากที่ทำการตรวจแล้ว แต่ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ สำหรับการตรวจที่มีคุณภาพสูงขึ้นไปอีก (การตรวจพีซีอาร์ – PCR test) จะถูกส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจ พันธุกรรมของไวรัสได้ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากรัฐยูทาห์ (Utah) คนหนึ่งอธิบายต่อผู้สื่อข่าวของ medscape ว่าการตรวจพีซีอาร์นั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่มาตรวจเองเพราะผู้มาตรวจจะต้องขอให้หน่วยงานที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพประจำ ของเขาตรวจพีซีอาร์และส่งตัวอย่างไปทำการวิเคราะห์พันธุกรรมต่อไป และไม่แน่เสมอไปว่าการไปตรวจเพิ่มทีหลังจะทำให้ ได้ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่มีปริมาณไวรัสมากพอที่จะทำการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมได้ซึ่งรวมถึงคนไข้ที่ยังพักรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาลด้วยเพราะในคนไข้บางคนนั้นการขับเชื้อไวรัส (หรือการหลั่งไวรัส – viral shedding) ลดลงไปมากแล้ว
สำหรับรัฐที่มีโอกาสวิเคราะห์พันธุกรรมของไวรัส เช่น รัฐนิวยอร์ค รัฐวอซิงตัน จากตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่เก็บจากผู้ ที่ติดเชื้อหลังจากที่ฉีดวัคซีนครบแล้วจำนวนไม่มากนัก การวิเคราะห์ผลแสดงว่าการติดเชื้อไม่เกี่ยวกับไวรัสผันแปรแต่อย่าง ใด ส่วนรัฐยูทาห์ที่มีกรณีการติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว 143 รายซึ่ง 7 รายมีอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล มี ตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเพียง 3 รายเท่านั้นที่ถูกวิเคราะห์ทางพันธุกรรม และทั้งสามรายแสดงว่าการติดเชื้อเกิดจากไวรัสผันแปร B. 1.149 ซึ่งเป็นไวรัสผันแปรอีกไวรัสหนึ่งที่พบครั้งแรกในรัฐคาลิฟอร์เนียเช่นกัน ส่วนกรณีการติดเชื้อหลังการฉีดวัคซีน ของ 80 รายไม่สามารถใช้วิเคราะห์ได้เพราะตัวอย่างสิ่งส่งตรวจที่มีอยู่ใช้ไม่ได้เพราะคุณภาพไม่ดี หรือไม่มีสิ่งส่งตรวจ และ อีก 60 รายกำลังรอผลการวิเคราะห์อยู่
ทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคือแต่ละโรงพยาบาลควรมีคลังหรือธนาคารสำหรับเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจของ คนไข้โควิด-19 แต่ละคนไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้การวิเคราะห์พันธุกรรมของไวรัสมีโอกาสไล่ตามทันก่อนที่ตัวอย่างจะถูกทิ้งไป แต่ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งเตือนว่าวิธีการต่างๆเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและแนะนำว่าหน่วยงานกลาง (ศูนย์ควบคุมและ ป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา) ควรพัฒนาระบบที่ง่ายรวดเร็วและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศสำหรับการเก็บตัวอย่าง สิ่งส่งตรวจของกรณีการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วทุกรายและการเก็บรักษาไว้ระยะหนึ่งเพื่อใช้ในการ วิเคราะห์ทางพันธุกรรมต่อไป รวมถึงเอกสารอธิบายรายละเอียดทุกขั้นตอน (protocol) และหนังสือขอความยินยอม พร้อม กับงบประมาณสนับสนุน นอกจากนั้นแล้วหน่วยงานกลางควรทำสัญญากับห้องปฏิบัติการเอกชนให้ทำการวิเคราะห์ ตัวอย่างที่เก็บไว้ และอธิบายขั้นตอนต่างๆของการเก็บตัวอย่างและการส่งไปต่อให้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ต่อไปด้วย
ถึงแม้ว่าวัคซีนอาจจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อหลังจากที่ฉีดวัคซีนแล้วได้อย่างเต็มที่ก็ตาม แต่ผู้ที่ติดเชื้อหลัง จากที่ฉีดวัคซีนแล้วคนหนึ่งกล่าวกับผู้สื่อข่าวของ medscape ว่าอาการป่วยที่เกิดหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วนั้นไม่ รุนแรงเหมือนกับการติดเชื้อครั้งแรกที่อาการรวมถึงปอดบวมและต้องกินยาปฏิชีวนะ ส่วนการป่วยโควิดหลังจากที่ได้รับฉีด วัคซีนไปแล้วนั้นเธอไม่เป็นปอดบวมและแพทย์เพียงแต่จ่ายยาแก้คลื่นไส้ให้เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเธอเป็นเจ้า หน้าที่สาธารณสุขที่งานแนวหน้าเธอรู้สึกท้อแท้ใจเพราะคิดว่าเมื่อฉีดวัคซีนไปแล้วเธอจะปลอดภัยแล้วแต่เมื่อพบว่ายังติด เชื้อได้อีกนั้นเธอรู้สึกเหมือนกับถูกชกหน้า
คนโดยทั่วไปอาจคิดว่าประสิทธิผลของวัคซีนที่ได้จากการวิจัยกับประสิทธิผลของวัคซีนนั้นเมื่อนำไปใช้จริงเหมือน กันเสมอไป วัคซีนโควิด-19 ที่ผลของการวิจัยแสดงว่าสามารถป้องกันการตายเพราะโควิด-19 หรือป้องกันการป่วยหนักจน ต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ 100% ไม่ได้หมายความว่าเมื่อนำไปขยายผลใช้ให้กับคนเป็นจำนวนมากแล้วจะ ป้องกันไม่ให้ทุกคนที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วเสียชีวิตจากโควิด-19 หรือป่วยเป็นโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้าโรง พยาบาลเลย เพราะในการวิจัยมีการคัดกรองผู้เข้าร่วมการวิจัยอย่างเข้มงวดตามเกณฑ์การคัดกรองซึ่งกันคนที่มีภาวะ ภูมิคุ้มกันผิดปกติออกไป เช่น การวิจัยวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์หรือของโมเดอร์นาไม่รวมคนที่กินยากดภูมิคุ้มกันหรือ คนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ แต่ในการฉีดวัคซีนให้แก่คนจำนวนมากหลายล้านคนย่อมมีบางคนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมี โรคเรื้อรังอื่นๆทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีนที่ได้รับทำให้เกิดการติดเชื้อได้
เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 ได้รับการยกย่องชมเชยว่ามีประสิทธิผลสูงมากโดยเฉพาะวัคซีนที่มีใช้กันมากใน สหรัฐอเมริกา [และความเข้าใจหรือความรู้สึกเช่นนั้นไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผลเพราะวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับอนุมัติใน สหรัฐอเมริกามีหลักฐานรองรับอย่างหนักแน่นจากการวิจัยทางคลินิกโครงการต่างๆที่ผลการวิจัยผ่านการทบทวนวิเคราะห์ โดยผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการวิจัยเหล่านั้นแล้ว] ทำให้คนจำนวนมากมั่นใจและชะล่าใจคิดว่าตัวเองปลอดภัย และไม่ระมัดระวังตัวและคนรอบข้างดังที่เคยปฏิบัติมา ดังนั้นเมื่อเกิดการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วจึงเป็น เรื่องที่ไม่คาดเป็นอย่างมากสำหรับคนที่ประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ และเมื่อจำนวนคนที่ได้รับฉีดวัคซีนมีเพิ่มมากขึ้นกรณี การติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนย่อมมีเพิ่มมากขึ้นด้วยซึ่งจากข้อมูลล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริการะบุว่า มีคนอย่างน้อย 5,800 คน (จากชาวอเมริกันที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 ประมาณ 95.9 ล้านคน) ที่ป่วยเป็นโควิด-19 หรือ ตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาเมื่อฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาครบแล้วทั้งสองเข็มเป็นเวลา 2 อาทิตย์หรือนานกว่านั้น รวมถึงแพทย์หญิงคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโควิด-19 หลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ไป แล้ว 7 อาทิตย์และเธอมีลูก 2 คน (อายุ 21 ปีและ 16 ปี) ที่ยังอาศัยอยู่กับเธอและตรวจพบว่าติดเชื้อด้วย นอกจากนั้นแล้ว แพทย์หญิงคนนี้ดูแลพ่อของเธอที่เป็นมะเร็งด้วยและเธอเชื่อว่าพ่อของเธอและตัวเธอเองปลอดภัยเพราะได้รับวัคซีนครบ แล้ว แต่โชคดีที่พ่อของเธอไม่ติดเชื้อรวมถึงสามีเธอด้วย ซึ่งสะท้อนถึงความไม่แน่นอนของไวรัสโคโรนา[2]
จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค การติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วเกิดขึ้นกับคนทุกกลุ่มอายุ ประมาณ 40% เกิดในคนที่อายุมากกว่า 60 ปี และ 65% เป็นผู้หญิง และส่วนมากมีอาการป่วย มีเพียง 29% ที่ไม่มีอาการ
ป่วย และ 7% ต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล และประมาณ 1% (74 คน) ตาย นอกจากการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนแล้วเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดสำหรับคนจำนวนหนึ่งแล้ว ช่วงเวลาของ
การติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วทำให้บางกรณีไม่แน่ใจว่าผลการตรวจการติดเชื้อเป็นจริงหรือเปล่าดังเช่น กรณีหนึ่งที่ติดเชื้อสองเดือนหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วที่คิดว่าอาการป่วยที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการแพ้อากาศจนกระทั่ง การตรวจการติดเชื้อสำหรับการรักษาอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับโควิด-19 ที่แสดงว่าเขาติดเชื้อ และเขาก็ยังไม่เชื่อผลของการ ตรวจครั้งนั้นและทำการตรวจซ้ำอีก 4 ครั้งที่ผลการตรวจพีซีอาร์ (PCR) สองครั้งเป็นบวก แต่ผลอีกสองครั้งเป็นผลที่ไม่ แน่นอนสรุปไม่ได้ และผลการตรวจที่รู้ผลเร็วอีก 1 ครั้งมีผลเป็นลบปลอม ผลการตรวจที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ย่อมทำให้เกิด ความสับสนและอาจทำให้คนที่ติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนแล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็ว[3]เกี่ยวกับไวรัสผันแปรที่พบเพิ่มมากขึ้นและมีหลายชนิดนั้นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนให้ความสนใจและติดตามผู้เข้าร่วม การวิจัยต่อไปอีกเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนต่อไวรัสที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่อาจทำให้มันแพร่ระบาด ได้ดีขึ้น และผลของการระดมฉีดวัคซีนให้แก่คนในประเทศของอิสราเอลแสดงว่าวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ยังสามารถ ป้องกันไวรัสผันแปร B.1.1.7 ที่พบมากในอิสราเอลได้ดีอยู่ สามารถป้องกันการป่วยโควิด-19 ที่ออกอาการ ที่อาการหนัก จนต้องเข้าโรงพยาบาล หรือที่อาการหนักทำให้เสียชีวิตได้ถึง 97%
แต่สำหรับไวรัสผันแปร B. 1. 351 ที่แพร่ระบาดมากในอาฟริกาใต้นั้นผลจากการวิจัยในอาฟริกาใต้แสดงว่า วัคซีนของไฟเซอร์ยังใช้ได้ผลดีอยู่ แต่ผลการวิจัยขนาดเล็กอีกโครงการจากอิสราเอลแสดงว่าประสิทธิผลของวัคซีนต่อ ไวรัสผันแปร B. 1. 351 อาจลดลงไปบ้าง ทำให้บริษัทไฟเซอร์ต้องพัฒนาวัคซีนสำหรับฉีดกระตุ้นที่ออกแบบสำหรับไวรัสผันแปรนี้ และกำลังทำการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนต่อไวรัสผันแปร P.1 ที่ระบาดมากในประเทศบราซิลด้วย (หมายเหตุ 1)
เหตุผลสำคัญอีกประการที่นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษากรณีการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วคืออาจมี คนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนมากกว่าคนโดยทั่วไปเนื่องจากมีข้อมูลเบื้องต้นว่ายาบางอย่างอาจมี ผลในการกดภูมิคุ้มกันมากทำให้คนบางคนไม่สามารถสร้างภูมิต้านทานต่อไวรัสได้ถึงแม้ว่าจะได้รับฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม ทำให้มีนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มที่กำลังเร่งศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของวัคซีนในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แพทย์แผนกผู้ป่วย อาการหนักคนหนึ่งบอกผู้สื่อข่าวของ medscape ว่าเมื่อคนที่มีภูมิคุ้มกันเป็นปกติเกิดติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนไป แล้วมักจะมีอาการโควิด-19 ที่เบามากเหมือนกับเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่คนที่เป็นมะเร็งเกี่ยวกับเลือด 2 คนที่ได้รับฉีด วัคซีนครบแล้วแต่ติดเชื้อต่อมาภายหลังทั้งสองคนมีอาการป่วยหนักมากจนต้องเข้าโรงพยาบาลและจากการตรวจภูมิ ต้านทานของคนไข้ทั้งสองเมื่อรับเข้าโรงพยาบาลภูมิต้านทานของทั้งสองคนเป็นลบทั้งๆที่ได้รับฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วทั้ง สองคน และคนไข้คนหนึ่งต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานถึง 2 เดือน แต่เมื่อออกจากโรงพบาบาลแล้วทั้งสองคนก็มี สุขภาพดีขึ้นเป็นปกติในเวลาต่อมา
นอกจากนั้นแล้วแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งคนหนึ่งบอกกับผู้สื่อข่าวของ medscape ว่ายาบางชนิดมีผลกระทบ ต่อภูมิคุ้มกันแตกต่างกัน ยาสำหรับรักษามะเร็งบางอย่างทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อโควิด-19 มากขึ้น แต่ยามะเร็งอีกชนิด หนึ่งไม่มีผลต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับแต่อย่างใด แต่ทว่ายามะเร็งบางชนิดเช่นริทูซิแมบ (rituximab) ที่เป็นยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือมะเร็งต่อมนำ้เหลืองที่ได้ผลดีมากอาจทำให้ร่างกายของผู้ที่ใช้ยานี้ไม่ สามารถสร้างภูมิต้านทานต่อวัคซีนได้ถึงแม้ว่าจะใช้ยานี้เมื่อเจ็ดหรือแปดเดือนก่อนที่จะฉีดวัคซีนก็ตาม และนักวิจัยคาดว่า ผลของยาริทูซิแบบจะคงอยู่ในร่างกายต่อไปอีกหลายปี
คนที่ได้รับผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะใหม่จำเป็นต้องกินยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายปฏิเสธ อวัยวะใหม่ ถึงแม้ว่าวัคซีนโควิด-19 จะปลอดภัยต่อคนกลุ่มนี้แต่จะมีหลายคนที่ภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนองต่อวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับ ผลของการวิจัยโครงการหนึ่งแสดงว่าจากคนที่ได้รับอวัยวะใหม่ 436 คนที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้วหนึ่งเข็ม มีเพียง 17% เท่านั้นที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อวัคซีนได้ เปรียบเทียบกับ 100% ของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเป็นปกติที่ เกิดภูมิต้านทานภายหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว และเพียง 50% ของคนที่ได้รับอวัยวะใหม่เกิดภูมิต้านทาน หลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนไปแล้วสองเข็ม ทำให้นักวิจัยต้องคิดต่อว่าจะทำอย่างไรกับคนอีก 50% ที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อ วัคซีน ซึ่งทางเลือกหนึ่งคืออาจต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มขึ้นอีก
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องสื่อสารกับสาธารณชนว่าคนทุกคนควรฉีดวัคซีนเพราะวัคซีนไม่สามารถ ป้องกันไม่ให้ทุกคนต้องเข้าโรงพยาบาลได้ และต้องเตือนทุกคนว่าประชาชนทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องคนที่เปราะบาง มากที่สุดต่อการติดเชื้อและตราบใดที่กรณีการติดเชื้อยังไม่ลดลงเป็นอย่างมากการสวมหน้ากากอนามัยและการหลีกเลี่ยง การชุมนุมขนาดใหญ่ยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญมากอยู่
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือยังไม่เป็นที่รู้แน่ว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนจะมีความยั่งยืนแค่ไหนจนกว่าเวลาจะผ่าน ไปพอสมควรแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงไวรัสผันแปรที่พบมากขึ้นเรื่อยๆด้วย ในปัจจุบันไม่มีใครบอกได้ว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะอยู่นานเกินกว่า 6 เดือนหรือไม่ และอาจต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มอีกหรือไม่ และคาดว่าต่อไป ในอนาคตจะมีกรณีการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นอีกซึ่งหมายความว่าจำเป็นที่จะต้องติดตามเฝ้าระวัง เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปรวมถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของกรณีการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีนด้วย ซึ่งอาจเป็น สิ่งที่ทำได้ยากในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีงานท่วมท้นในการตอบรับต่อการติดเชื้อที่ปะทุรุนแรงขึ้น
บริษัทไฟเซอร์บอกกับผู้สื่อข่าวของ The Washington Post ว่าจะติดตามผู้เข้าร่วมการวิจัยวัคซีนของบริษัทเป็น เวลาสองปีหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สองเพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีน (หมายเหตุ 2)
การติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วนอกจากจะมีผลต่อสุขภาพของเจ้าตัวและมีผลกระทบต่อการให้ บริการ/รับบริการด้านแพทย์ [เพราะจำนวนคนไข้มากและการเสียเวลา/ทรัพยากรที่มีจำกัดในการตรวจยืนยัน] การติดเชื้อ หลังจากที่คิดว่าปลอดภัยแล้วหรือหลังจากที่คนได้พยายามทำทุกอย่างมาเป็นเวลาหลายเดือนหรือเป็นปีเพื่อป้องกันตนเอง และคนรอบข้างไม่ให้ติดเชื้อ ย่อมมีผลกระทบต่อจิตใจของเจ้าตัวและแพทย์ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังเช่นชายคนหนึ่งที่ติดเชื้อหลัง จากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วกล่าวกับผู้สื่อข่าวของ The Washington Post ว่าเขารู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกบอบช้ำทาง จิตใจเมื่อรู้ว่าติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วนานกว่าหนึ่งเดือน และเป็นเวลากว่า 3 อาทิตย์ก่อนที่เขาจะรู้สึกเป็นปกติ และแพทย์คนหนึ่งกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าแพทย์เองก็รู้สึกไม่สบายใจเมื่อพบว่ามีการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบ แล้วเกิดขึ้น (หมายเหตุ 2)
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแนะนำให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วและป่วยเป็นโควิด-19 ให้ฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ทันทีหลังจากที่หายป่วยแล้วซึ่งต่างกับคำแนะนำของรัฐต่างๆในอดีตที่แนะนำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโควิด-19 ให้รอไปอีก 90 วัน ก่อนที่จะฉีดวัคซีนเข็มแรกหรือเข็มที่สองและเน้นว่าต้องรอ 90 วันก่อนฉีดวัคซีนเข็มที่สอง
การวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดเชื้อหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนครบแล้วจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสผันแปรต่างๆที่แพร่ระบาดในที่ต่างๆทั่วโลกในขณะนี้ รวมทั้งข้อมูลที่จะช่วยให้หน่วยงานที่รับ ผิดชอบเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนมีข้อมูลเพียงพอที่จะแนะนำว่าจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนเข็มที่สองหรือไม่หากคนที่ได้รับฉีด วัคซีนไปแล้วหนึ่งเข็มติดเชื้อ หรือว่าการติดเชื้อและป่วยเป็นโควิด-19 ก็เป็นตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่เพียงพอแล้ว และ หากว่าวัคซีนเข็มที่สองยังจำเป็นอยู่ ระยะเวลาที่ต้องรอก่อนฉีดวัคซีนเข็มที่สองจะเป็นเวลานานเท่าไร เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน หลายประเทศระบุเวลาที่ต้องรอก่อนฉีดวัคซีนเข็มที่สองแตกต่างกันไป
สำหรับประเทศไทยเองที่จะใช้วัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทแอสตราเซเนกาเป็นหลักในการฉีดวัคซีนให้แก่ ประชาชน แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศอธิบายว่าช่วงเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 กับวัคซีนเข็มที่ 2 มี ผลต่อประสิทธิผล [ในแนวทางใช้คำว่าประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายความถึงสิ่งเดียวกัน คือ efficacy ของวัคซีน] โดยที่ ประสิทธิผลของวัคซีนจะเพิ่มมากขึ้นหากฉีดวัคซีนเข็มที่สองเมื่อ 8 อาทิตย์หลังการฉีดวัคซีนเข็มแรก (แทนที่จะรอเพียง 4 อาทิตย์หลังจากการฉีดเข็มแรกตามการวิจัยทางคลินิกของวัคซีนนี้) ดังนั้นในแนวทางการฉีดวัคซีนจึงระบุเวลาระหว่าง วัคซีนเข็มที่ 1 กับเข็มที่สองเท่ากัน 10-12 อาทิตย์ (แทนที่จะเป็น 4-12 อาทิตย์ตามฉลากกำกับของวัคซีน) เพื่อให้ได้ ประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนั้นแล้วเอกสารแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศยังกล่าวว่าประสิทธิผลของวัคซีนโค วิด-19 ของแอสตราเซเนกาอาจเกิดได้หลังจากที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว[4]
นอกจากความจริงว่าประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันโควิด-19 ที่พิสูจน์ได้จากการวิจัยไม่ว่าจะสูงแค่ไหน ก็ตามไม่ได้หมายความว่าวัคซีนป้องกันการป่วยเป็นโควิด-19 ที่รุนแรงได้ 100% ในการขยายผลใช้จริงแล้ว รายงานเกี่ยว กับผลข้างเคียงที่รุนแรงถึงตายหรือป่วยหนักของวัคซีนโควิด-19 บางชนิดที่มีอยู่ย่อมทำให้คนจำนวนหนึ่งมีความกังวลและ ลังเลที่จะฉีดวัคซีน และยังมีข่าวเกี่ยวกับไวรัสผันแปรต่างๆที่พบในหลายประเทศที่อาจแพร่เชื้อได้ดีขึ้นหรือที่สามารถหลบ หลีกวัคซีนที่มีอยู่ได้ดีกว่าไวรัสรุ่นแรกๆ ความเข้าใจและความรับรู้ที่ผิดเช่นนี้ย่อมทำให้คนจำนวนหนึ่งชะล่าใจไม่ป้องกัน การติดเชื้ออย่างเข้มงวดหลังจากที่ได้รับฉีดวัคซีนไปแล้ว หรือไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยของวัคซีนและเลือกที่ไม่รับฉีด วัคซีน หรือด่วนสรุปว่าวัคซีนที่มีอยู่ยังไม่ดีพอที่จะป้องกันไวรัสรุ่นใหม่ๆและต้องการรอไปก่อนจนกว่ามีวัคซีนที่ดีกว่านี้ ดัง นั้นการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้แก่คนทั้งประเทศต้องควบคู่ไปกับการสื่อสารให้ความรู้ที่ถูกต้องและทันสมัยต่อประชาชนไปด้วย พร้อมๆกัน และเน้นถึงความสำคัญของวัคซีนในการควบคุมการระบาดที่ได้ผลที่จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ใน ขณะนี้ รวมถึงการเตือนให้คนที่ได้รับฉีดวัคซีนจนครบแล้วให้สวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอและรักษาวินัยในการเว้นระยะ ห่างระหว่างบุคคลโดยเฉพาะในสถานที่ปิดหรือในสถานที่ที่การถ่ายเทและการหมุนเวียนอากาศไม่ดี จนกว่าการระบาดจะ ลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งการสื่อสารที่มีคนส่วนมากอาจเข้าใจว่าขัดแย้งกันเช่นนี้ (ฉีดวัคซีนที่มีผลในการป้องกันได้ดีแต่ยัง ต้องใช้หน้กากอนามัยและการป้องกันอื่นๆอยู่) เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก
_______________________________________________________________________
[1] จาก A Tiny Number of People Will Be Hospitalized Despite Being Vaccinated. We Have to Learn Why. โดย Caroline Chen เมื่อ 25 เมษายน 2564 ใน https://www.medscape.com/viewarticle/949381
[2] จาก ‘How did that happen?’ Catching covid-19 even after being vaccinated. โดย Steven Findlay เมื่อ 27 เมษายน 2564 ใน https://www.washingtonpost.com/health/how-did-that-happen-catching-covid-19-even-after-being-vaccinated/2021/04/23/a31983a6-a21b-11eb-a774-7b47ceb36ee8_story.html
[3] จาก It’s no myth/ I caught Covid-19 after being fully vaccinated โดย Stephen M. Tourjee เมื่อ 20 เมษายน 2564 ใน https://www.statnews.com/2021/04/20/no-myth-catching-covid-19-after-being-vaccinated/
[4] จาก “แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย” กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กุมภาพันธ์ 2564