สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI) ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการ “ตรวจเร็ว รักษาเร็ว” ระดับประเทศขึ้น โดยได้จัดการแข่งขันระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 กันยายน 2565 และมีจังหวัดที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชัยภูมิ นครปฐม พัทลุง พิษณุโลก ภูเก็ต ลำปาง สุโขทัย อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงราย และเชียงใหม่ ซึ่งผลของการแข่งขันในระยะที่ 1 นี้ จะได้ประกาศภายในเดือนตุลาคม 2565 และครั้งนี้เป็นการจัดการแข่งขันในระยะที่ 2 เพื่อกระตุ้นให้จังหวัดต่างๆ เร่งหากลยุทธ์ในการตรวจหาผู้ติดเชื้อเอชไอวีของจังหวัดให้ได้เร็ว และนำผู้ติดเชื้อดังกล่าวเข้ารับยาต้านไวรัสได้ไว ซึ่งสามารถประเมินการดำเนินงานได้จากค่าจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 ของผู้ติดเชื้อก่อนเข้ารับยาต้านไวรัส โดยในครั้งนี้ยังคงเป็นการแข่งขันระหว่างจังหวัด เพื่อหาผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศ เข้ารับรางวัลและโล่เกียรติยศ ทั้งนี้ ขอเชิญชวนให้ทุกจังหวัดสมัครเข้าร่วมโครงการแข่งขันนี้ รวมทั้งจังหวัดที่สมัครเข้าร่วมในระยะที่ 1 แล้วก็ตาม โดยมีเป้าหมายหลัก คือ ประเทศไทยจะสามารถยุติเอดส์ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด คือ ปี พ.ศ. 2573
รายละเอียดของโครงการฯ
1. เปิดรับสมัครจังหวัดที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันระยะที่ 2 ในระหว่างวันที่ 11-30 กันยายน 2565 รวมทั้งจังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขันในรอบแรก แม้จะยังไม่รู้ผลของการแข่งขันในรอบแรกก็ตาม โดยสามารถแสดงความจำนงมาได้ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยผ่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ด้วยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการเอดส์ของจังหวัด ส่วนกรุงเทพมหานครให้ผ่านรองปลัดกรุงเทพมหานครฝ่ายการแพทย์ ด้วยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
2. การแข่งขันใช้ข้อมูลของผู้ติดเชื้อ (ที่ไม่มีการเปิดเผยชื่อ) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลภายใต้หน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดนั้นๆ ไม่ว่าจะใช้สิทธิการรักษาพยาบาลใด ที่มีการลงข้อมูลเข้าสู่ระบบ NAP Plus ของสปสช. ซึ่งจะมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูล NAP Plus ของสปสช.อยู่แล้ว
3. ข้อมูลที่นำมาใช้ประเมิน
- วันที่ตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี
- วันที่ตรวจค่าจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 ก่อนเริ่มยาต้านไวรัส หรือในวันที่เริ่มยาต้านไวรัส
- วันที่เริ่มยาต้านไวรัส หลังตรวจพบว่าติดเชื้อ
4. ช่วงระยะเวลาที่ใช้ประเมินข้อมูลคือ ก่อนมีโครงการแข่งขันในระยะที่ 2 โดยดูจากฐานข้อมูลของสปสช. ช่วงระหว่าง เมษายน – กันยายน 2565 และหลังเริ่มโครงการแข่งขันช่วงระหว่าง ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 ประกาศผลเดือนเมษายน 2566
5. เกณฑ์การประเมิน
- อัตรา (percent) การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของ Median baseline CD4 สัดส่วนของคนไข้ที่มีระดับ Baseline CD4<200 และ lag period between HIV diagnosis and ART initiation ระหว่างช่วง 6 เดือนแรกหลังประกาศโครงการเทียบกับก่อนเริ่มโครงการ 6 เดือน (คิดเป็นร้อยละ 30 ของเกณฑ์การประเมิน)
- สัดส่วนของคนไข้ที่ได้รับยาต้านไวรัสเร็วภายหลังจากตรวจพบการติดเชื้อ โดยการถ่วงน้ำหนักตามจำนวนวัน และตามสัดส่วนของคนไข้ที่ได้เริ่มยาในวันนั้นๆ โดยถ่วงน้ำหนักสูงสุด ถ้าสามารถเริ่มยาภายในวันเดียวกันกับที่ตรวจพบการติดเชื้อ และลดการถ่วงน้ำหนักลงตามจำนวนวันที่เพิ่มมากขึ้น (คิดเป็นร้อยละ 30 ของเกณฑ์การประเมิน)
6. เกณฑ์การประเมินที่เพิ่มเติมจากรอบแรก
- นอกจากการหาค่าเฉลี่ยของ Baseline CD4 และระยะเวลที่เริ่มยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งจังหวัดแล้ว ยังให้จังหวัดกำหนด 2 อำเภอ (อำเภอเมือง และอีก 1 อำเภอตามที่จังหวัดเห็นสมควร) พร้อมรายชื่อโรงพยาบาลประจำอำเภอนั้น อำเภอละ 1 แห่ง ที่จะเป็นตัวแทนจังหวัดในการเข้าร่วมการแข่งขัน (โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภออีกหนึ่งแห่ง) ส่วนในกรุงเทพมหานครนั้น ให้เป็นโรงพยาบาลภายใต้สำนักการแพทย์ 1 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุขภายใต้สำนักอนามัยอีก 1 แห่ง
- ข้อมูลของ Baseline CD4 และระยะเวลที่เริ่มยาต้านไวรัส ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของ 2 สถานพยาบาลที่จังหวัดคัดเลือกมา จะถูกนำมาคิดเป็นคะแนนในสัดส่วนที่เท่าๆ กันกับของจังหวัด เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เป็นการแข่งขันของโรงพยาบาลไปด้วย ควบคู่ไปกับการแข่งขันระดับจังหวัด
หมายเหตุ จังหวัดที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ อย่างน้อย 10 รายต่อเดือน และสถานพยาบาลทั้ง 2 แห่ง ที่เป็นตัวแทนของจังหวัด ต้องมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ อย่างน้อย 3 รายต่อเดือนในแต่ละสถานพยาบาล
7. ประกาศและมอบรางวัลในเดือนเมษายน 2566 โดยยังเป็นการมอบในระดับจังหวัด
- รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 100,000 บาท
- รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 50,000 บาท
- รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 30,000 บาท
- รางวัลชมเชย 7 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท
พร้อมทั้งใบประกาศเกียรติคุณ และโล่ ซึ่งจะมอบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
8. สามารถดาวน์โหลดใบสมัครเข้าโครงการได้ที่นี่:
- ไฟล์ MS Word https://ihri.org/wp-content/uploads/2022/09/ใบสมัครเข้าร่วมโครงการแข่งขันตรวจเร็ว-รักษาเร็ว-ระดับประเทศ-ระยะที่-2.docx
- ไฟล์ PDF https://ihri.org/wp-content/uploads/2022/09/ใบสมัครเข้าร่วมโครงการแข่งขันตรวจเร็ว-รักษาเร็ว-ระดับประเทศ-ระยะที่-2.pdf
9. อ่านรายละเอียดกิจกรรมที่แนะนำได้ที่นี่:
10. ถ้าต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถประสานผ่านทาง:
- กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เบอร์โทร 02-590-3291
- สถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี (IHRI): คุณนฤจพร ธรรมจารึก email narukjaporn@ihri.org เบอร์โทร 083-088-4154/ คุณสุดารัตน์ ทองสุขแสงเจริญ email sudarat.t@ihri.org เบอร์โทร 083-426-7421