บทความโดบ อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ
ในการประชุมวิชาการเกี่ยวกับเรทโทไวรัสและการติดเชื้อฉวยโอกาส (Conference on Retroviruses and Opportunistic Infections – CROI) ซึ่งเป็นการประชุมแบบเสมือน (Virtual conference) ที่จัดเมื่อวันที่ 6-10 มีนาคม 2564 มีการนำเสนอผลการวิเคราะห์อย่างละเอียดของการวิจัยการป้องกันการติดเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสชนิดฉีดที่ออก ฤทธิ์นานหรือเพร็พชนิดฉีดทุกสองเดือนเปรียบเทียบกับเพร็พชนิดที่กินทุกวันในผู้ที่ไม่มีเอชไอวีที่แสดงว่าผู้เข้าร่วมการวิจัย ที่ถูกสุ่มให้ใช้เพร็พชนิดฉีดที่ติดเอชไอวีในระหว่างการวิจัยมีจำนวนเพียง 1 ใน 3 ของผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ถูกสุ่มให้ใช้เพร็พ ชนิดที่กินทุกวันที่ติดเอชไอวีในระหว่างการวิจัย[1]
ศาสตราจารย์ นพ. ราฟาเอล แลนโดวิทซ์ ประธานโครงการวิจัยเอชพีทีเอ็น 083 (HPTN 083) ที่เป็นการวิจัยเพื่อ เปรียบเทียบการป้องกันการติดเอชไอวีด้วยเพร็พชนิดฉีดกับเพร็พชนิดกินกล่าวในการนำเสนอว่าการวิเคราะห์ผลของผู้เข้า ร่วมการวิจัย 4,566 คนแสดงว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ใช้เพร็พชนิดกินทุกวันที่เป็นยาทรูวาดา (Truvada หรือ TDF/FTC) ติด เอชไอวี 39 คน ส่วนผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ได้รับการฉีดเพร็พที่เป็นยาต้านไวรัสคาโบเทกราเวียร์ (cabotegravir injection) ทุกสองเดือนติดเอชไอวี 12 คน ที่รวมถึงการเริ่มกินยาต้านไวรัสคาโบเทกราเวียร์ชนิดเม็ดก่อนเป็นเวลา 4 อาทิตย์เพื่อให้
แน่ใจเกี่ยวกับการแพ้ยา คิดเป็นอัตราการติดเอชไอวีต่อปีของกลุ่มที่กินทรูวาดาเท่ากับ 1.22% เปรียบเทียบกับ 0.37% ของกลุ่มที่ได้รับยาฉีดคาโบเทกราเวียร์ซึ่งแสดงว่ากลุ่มที่ได้รับยาฉีดคาโบเทกราเวียร์ติดเอชไอวีน้อยกว่ากลุ่มที่กินยาทรูวา ดา 68% ประสิทธิผลนี้สูงกว่า 66% ของผลการวิเคราะห์ครั้งก่อนในการประชุมของสมาคมเอดส์นานาชาติ (International AIDS Society – IAS) เล็กน้อย
การติดเอชไอวีเมื่อเข้าร่วมการวิจัยที่ได้รับการวินิจฉัยช้า
ในการนำเสนอผล ศ. แลนโดวิทซ์ ชี้แจงว่าการวิเคราะห์ผลล่าสุดนี้แสดงถึงประสิทธิผลของยาฉีดคาโบเทกรา เวียร์ในการลดความเสี่ยงต่อการติดเอชไอวีที่สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยเป็นเพราะว่าผู้เข้าร่วมการวิจัย 2 คนจากกลุ่มที่ได้รับ ยาฉีดคาโบเทกราเวียร์ท่ีติดเอชไอวีนั้นจริงๆแล้วติดเอชไอวีก่อนที่จะเข้าร่วมการวิจัย โดยที่คนแรกนั้นได้รับการวินิจฉัยว่า ติดเอชไอวีด้วยวิธีการตรวจเอชไอวีที่เป็นมาตรฐานของการตรวจเอชไอวีโดยทั่วไปคือการตรวจแอนติบอดีต่อเอชไอวีเมื่อ เข้าร่วมการวิจัยไปแล้ว 9 อาทิตย์ หรือ 2 อาทิตย์หลังจากที่ได้รับฉีดคาโบเทกราเวียร์เข็มที่สอง (ในการวิจัยการฉีดคาโบเท กราเวียร์ 2 เข็มแรกนั้นห่างกันเพียง 4 อาทิตย์ และเข็มต่อๆไปฉีดห่างกันเข็มละ 8 อาทิตย์)
ส่วนผู้เข้าร่วมการวิจัยคนที่สองของกลุ่มที่ได้รับยาฉีดคาโบเทกราเวียร์ที่ติดเอชไอวีก่อนเข้าร่วมการวิจัยนั้นถูก ตรวจพบว่าติดเอชไอวีด้วยวิธีการตรวจตามมาตรฐานเช่นกันเมื่อเข้าร่วมการวิจัยแล้วไม่ต่ำกว่า 41 อาทิตย์และได้รับการฉีดคาโบเทกราเวียร์ไปแล้ว 5 เข็ม ในการวิจัยนั้นผู้เข้าร่วมการวิจัยแต่ละคนจะถูกเจาะเลือดเก็บไว้เป็นระยะๆตั้งแต่เมื่อเข้าร่วมการวิจัยสำหรับการตรวจหลายอย่างรวมทั้งการตรวจการติดเอชไอวีด้วยวิธีการต่างๆที่ทำให้นักวิจัยสามารถศึกษาย้อนหลังไปได้ว่าการติดเชื้อ เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด การตรวจการติดเอชไอวีของการวิจัยรวมถึงการตรวจแอนติบอดีต่อเอชไอวีด้วยวิธีการที่ไวและ แม่นยำมาก การตรวจหาแอนติเจน (antigen ซึ่งเป็นโมเลกุลของสิ่งแปลกปลอมสำหรับร่างกายและทำให้ภูมิคุ้มกันถูก กระตุ้นและสร้างแอนติบอดีต่อสิ่งแปลกปลอมนั้นขึ้น) และการตรวจปริมาณไวรัส และผลการตรวจแสดงว่าผู้เข้าร่วมการวิจัย ทั้งสองคนติดเอชไอวีตั้งแต่เมื่อเข้าการวิจัยแล้วซึ่งมีการเก็บข้อมูลเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมการวิจัยแต่ละคนรวมถึงข้อมูลทาง ชีววิทยาด้วยซึ่งเป็นข้อมูลที่เรียกว่าข้อมูลเบสไลน์ (baseline) และปริมาณไวรัสของทั้งสองคนเมื่อช่วงเข้าร่วมการวิจัย (ช่วง เบสไลน์) คือ 1,360 และ 44,180 ตามลำดับ
กัส แคนส์ ผู้เขียนข่าวของ nam aidsmap อธิบายว่าสาเหตุที่ตรวจไม่พบการติดเอชไอวีของทั้งสองคนนี้ที่เกิดก่อน เข้าร่วมการวิจัยแล้วคือยาคาโบเทกราเวียร์ที่ทั้งสองคนได้กินเมื่อตอนเริ่มต้นและตามด้วยการฉีดในช่วงต่อมาน้ันสามารถ ทำให้ไวรัสลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนปริมาณไวรัสต่ำกว่าระดับที่จะวัดได้ และทั้งสองคนไม่มีแอนติบอดีต่อเอชไอวีที่บ่ง บอกว่าเกิดการติดเชื้อขึ้นด้วยเป็นระยะเวลาหนึ่งถึงแม้ว่าจะถูกตรวจด้วยการตรวจแอนติเจนและการตรวจแอนติบอดีเพื่อ ยืนยันผลก็ตาม
ผู้เข้าร่วมการวิจัยคนหนึ่งที่ติดเอชไอวีเมื่อเข้าร่วมการวิจัย (เมื่อเบสไลน์) เกิดการดื้อยาคาโบเทกราเวียร์ในช่วงที่ ใช้คาโบเทกราเวียร์เป็นเพร็พ ผลการตรวจแอนติบอดีของผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้เมื่ออาทิตย์ที่แปดหลังจากเบสไลน์แสดงว่า เขาติดเชื้อและการตรวจเลือดย้อนหลังแสดงว่าเขามีไวรัสเอชไอวีในระดับที่วัดได้ตั้งแต่เวลาเบสไลน์เป็นต้นมาด้วย
ผู้ติดเอชไอวีเมื่อเข้าร่วมการวิจัยสามคน (จากทั้งหมดสี่คน – ทีมวิจัยไม่สามารถติดตามคนที่สี่ได้) ได้รับการรักษา ด้วยยาต้านไวรัสและการรักษาสามารถกดปริมาณไวรัสให้ต่ำกว่าระดับที่จะวัดได้ ซึ่งสองคนมีปริมาณไวรัสที่วัดไม่ได้ ภายในเวลาไม่นานหลังจากที่ได้รับวินิจฉัยว่าติดเอชไอวีซึ่งหนึ่งในสองคนนี้เป็นผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เกิดการดื้อต่อยาคาโบ เทกราเวียร์และได้รับการรักษาด้วยด้วยยาต้านไวรัสสูตรที่เสริมด้วยยากลุ่มโปรทีเอส อินฮิบิเตอร์ (protease inhibitor) และคนที่สามเริ่มกินยาต้านหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยไปแล้วเป็นระยะเวลาพอสมควร และยังสามารถวัดไวรัสในเลือดของ ผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่งที่เป็นช่วงที่ยาคาโบเทกราเวียร์ในร่างกายของเขาลดลงไปเรื่อยๆซึ่งภาวะเช่นนี้ เป็นเรื่องที่นักวิจัยเกรงว่าจะนำไปสู่การดื้อยา แต่สำหรับกรณีนี้ไม่เป็นเช่นนั้น กรณีการติดเชื้อเมื่อตอนเข้าร่วมการวิจัยทั้งสี่รายนี้ถูกจัดกลุ่มให้เป็น การติดเชื้อกลุ่มเอ (A) ซึ่งกัส แคนส์ บอกว่า กลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มที่มีความโดดเด่นที่สุด
การติดเชื้อเนื่องจากหยุดยาหรือเปลี่ยนยา
ในการติดเชื้อกลุ่มบี (B) มีผู้เข้าร่วมการวิจัยห้าคนที่ตรวจพบว่าติดเชื้อหลังจากที่หยุดยาคาโบเทกราเวียร์ไปแล้ว เป็นระยะเวลานานมาก ซึ่งผู้เข้าร่วมสองคนกินยาคาโบเทกราเวียร์เพียงเม็ดเดียวหรือสองเม็ดเท่านั้นก่อนที่จะออกจากการ วิจัย ส่วนที่เหลือได้รับการตรวจพบว่าติดเอชไอวี 31 อาทิตย์หลังจากการได้รับฉีดคาโบเทกราเวียร์เข็มสุดท้ายของพวกเขา ผู้เข้าร่วมการวิจัยของกลุ่มบีสองคนเปลี่ยนไปกินยาต้านไวรัสทรูวาดาเนื่องจากผลข้างเคียงของยาฉีดคาโบเทกราเวียร์ ซึ่งผู้ที่เปลี่ยนไปกินทรูวาดาคนหนึ่งหลุดออกจากการวิจัยไปเป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีหลังจากการจ่ายยาทรูวาดาครั้ง สุดท้ายให้แก่เขา และหลังจากที่เขาติดเอชไอวีไปแล้วทีมวิจัยจึงติดต่อกับเขาได้ใหม่อีกครั้ง ส่วนผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เปลี่ยน ไปกินทรูวาดาอีกคนติดเอชไอวีหลังจากที่ได้รับยาทรูวาดาครั้งสุดท้ายไปแล้ว 9 อาทิตย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้เข้าร่วมที่ ติดเอชไอวีสองคนนี้ใช้เพร็พที่เป็นยากินทรูวาดาอยู่เมื่อติดเอชไอวี แต่เนื่องจากทั้งสองถูกสุ่มให้อยู่ในกลุ่มยาฉีดคาโบเท กราเวียร์ ดังนั้นในการวิเคราะห์ผลจึงถือว่าเป็นการติดเอชไอวีในกลุ่มคาโบเทกราเวียร์
กัส แคนส์ เน้นว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งสามคนที่ติดเอชไอวีหลังจากที่ได้ใช้คาโบเทกราเวียร์ไปแล้วพอสมควรไม่ เกิดไวรัสที่ดื้อต่อยาคาโบเทกราเวียร์เลยทั้งๆที่พวกเขามีปริมาณไวรัสที่สามารถวัดได้เป็นเวลา 121 อาทิตย์ 31 อาทิตย์ และ 40 อาทิตย์ในขณะที่ระดับยาคาโบเทกราเวียร์ในร่างกายของพวกเขาลดลงเรื่อยๆ
การติดเอชไอวีในช่วงที่กินยาเม็ดคาโบเทกราเวียร์ก่อนเริ่มยาฉีด
กลุ่มซี (C) มีผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ติดเอชไอวีในช่วงที่กินยาเม็ดคาโบเทกราเวียร์ ผู้เข้าร่วมการวิจัยหนึ่งคนของกลุ่ม นี้ไม่ได้กินยาเลยและหลุดออกจากการวิจัยไปจนกระทั่งอาทิตย์ที่ 33 เมื่อได้รับการตรวจพบว่าติดเอชไอวี ซึ่งทีมวิจัยมารู้ที หลังว่าเกิดการติดเอชไอวีเมื่ออาทิตย์ที่ 5 ผู้เข้าร่วมการวิจัยของกลุ่มซีที่ติดเอชไอวีอีกสองคนพบว่าติดเอชไอวีในอาทิตย์ที่ สี่และอาทิตย์ที่สามทั้งๆที่ทั้งสองคนมีระดับยาคาโบเทกราเวียร์ในร่างกายสูงพอเมื่อติดเอชไอวี ทั้งสองรายนี้อาจเป็นเพราะ ไม่ได้กินยาคาโบเทกราเวียร์ทันที หรือความเป็นไปได้อีกอย่างคือคาโบเทกราเวียร์ชนิดกินต้องมียาต้านไวรัสอีกชนิดหนึ่ง เสริมด้วยจึงจะมีประสิทธิผล คนหนึ่งมีปริมาณไวรัสเอชไอวีต่ำมาก (120) ส่วนอีกคนมีปริมาณไวรัสที่ต่ำจนวัดไม่ได้ด้วยวิธี การตรวจแอนติบอดีแบบมาตรฐานแต่สามารถตรวจได้ด้วยการตรวจอาร์เอ็นเอ (RNA) ที่แม่นยำมาก
การติดเอชไอวีถึงแม้ว่าระดับยาคาโบเทกราเวียร์สูงเพียงพอ
กลุ่มดี (D) มีผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ติดเอชไอวีสี่คนที่การตรวจแอนติบอดีต่อเอชไอวีเป็นบวกในขณะที่ได้รับยาคาโบ เทกราเวียร์ชนิดฉีดและมีระดับยาสูงเพียงพอ ผู้เข้าร่วมการวิจัยสองคนของกลุ่มนี้ติดเอชไอวี 17 อาทิตย์ และ 6 อาทิตย์ก่อนหน้าที่การตรวจแอนติบอดีจะเป็น บวก และนับเป็นเวลา 8 อาทิตย์ไปแล้วหลังจากที่ทั้งสองคนได้รับฉีดคาโบเทกราเวียร์เข็มสุดท้าย
คนแรกของสองคนนี้มีปริมาณไวรัสในระดับที่วัดได้ (860) จากการตรวจปริมาณไวรัสย้อนหลังของตัวอย่างเลือด ของเขาที่ถูกเก็บไว้ และปริมาณไวรัสลดลงต่ำกว่าที่จะวัดได้หลังจากนั้นจนถึงอาทิตย์ที่ 17 เมื่อเขาได้รับการตรวจ แอนติบอดี ส่วนคนที่สองนั้นตรวจได้ว่าติดเอชไอวีด้วยวิธีการตรวจอาร์เอ็นเอที่แม่นยำมากเท่านั้น
หลังจากการฉีดเข็มคาโบเทกราเวียร์เข็มแรกระดับยาคาโบเทกราเวียร์ของทั้งสองคนลดลงต่ำมากจนเหลือแค่ 1 ใน 4 ของระดับที่ถือว่าพอเพียงต่อการป้องกันเอชไอวีเท่านั้น และหลังจากที่ได้รับฉีดเข็มที่สองแล้วระดับยาของทั้งสองคน เพิ่มขึ้นจนถึงระดับเป้าหมายสำหรับป้องกันการติดเอชไอวี ซึ่งแสดงว่ามีบางคนที่ต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่นกว่าที่ยาที่ฉีด เข้าไปจะกระจายไปยังเยื่อเมือกทวารหนัก ช่องคลอด และองคชาตตามที่ควรเป็น อย่างไรก็ตาม กัส แคนส์ ตั้งข้อสังเกตว่า หากทั้งสองคนติดเอชไอวีหลังจากที่ได้รับฉีดเข็มแรกไปแล้วต้องถือว่าเป็นเวลานานผิดปกติมากก่อนที่จะพบร่องรอยของ การติดเอชไอวี
กรณีที่สามเป็นกรณีที่น่าฉงนเป็นอย่างมาก ผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้ตรวจพบว่าติดเอชไอวีด้วยวิธีการตรวจ มาตรฐานในอาทิตย์ที่ 72 ซึ่งเป็นการนัดฉีดยาคาโบเทกราเวียร์เข็มที่ 10 และการตรวจย้อนหลังพบว่าการติดเชื้อเกิดขึ้น
เมื่ออาทิตย์ที่ 56 ซึ่งเป็นการฉีดคาโบเทกราเวียร์เข็มที่ 8 ซึ่งในตอนนั้นผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้มีปริมาณไวรัสที่ 120 ผู้เข้า ร่วมการวิจัยคนนี้ระดับยาคาโบเทกราเวียร์ลดลงเป็นเวลาสั้นๆหลังจากฉีดยาเข็มแรก และระดับยาลดลงเล็กน้อยในช่วง เวลาสั้นๆอีกครั้งหลังการฉีดเข็มที่ 6 ซึ่งเป็นอาทิตย์ที่ 42 ของการวิจัย หากว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยรายนี้ติดเอชไอวีในช่วงนี้ที่เป็นเวลานานถึง 14 อาทิตย์ซึ่งถือว่านานผิดปกติกว่าที่จะพบร่องรอยของการติดเอชไอวีเป็นครั้งแรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยรายนี้มีระดับยาคาโบเทกราเวียร์ที่เข้มข้นเท่ากับระดับเป้าหมายสำหรับป้องกันการติดเอชไอวี (1.33 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ตลอดเวลา ซึ่งความเข้มข้นดังกล่าวสูงกว่าระดับที่เพียงพอต่อการป้องกัน 90% ของไวรัสไม่ ให้เพิ่มตัวได้ (IC90 ) ถึงแปดเท่า ทำให้นักวิจัยคิดว่าสำหรับบางคนแล้วระดับความเข้มข้นของยาอาจจะต้องสูงขึ้นไปอีก และเนื่องจากผู้เข้าร่วมการวิจัยรายนี้การเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสล่าช้าไปอีก 13 อาทิตย์ทำให้เกิดการดื้อยา กลุ่มอินทีเกรส อินฮิบิเตอร์ (integrase inhibitor) ทำให้ปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดเพิ่มจาก 158 เป็น 153,000 แต่เมื่อ เขาได้เริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัสทรูวาดาและเอฟฟาไวเร็นซ์ (TDF/FTC/efavirenz) แล้วปริมาณไวรัสในเลือดที่วัดเมื่อ 13 อาทิตย์ถัดไปลดลงต่ำกว่า 40
ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ติดเอชไอวีของกลุ่มดีคนสุดท้ายในตอนแรกนั้นไม่เชื่อว่าเขามีเอชไอวีเพราะผลการตรวจ คลุมเครือ ผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้ผลการตรวจแอนติบอดีเป็นบวกเมื่ออาทิตย์ 41 ซึ่งเป็นการฉีดคาโบเทกราเวียร์เข็มที่หก ของเขา ส่วนผลของการตรวจอาร์เอ็นเอและการตรวจแอนติเจนนั้นเป็นลบ แต่ผลการตรวจย้อนหลังของการตรวจอาร์เอ็นเอ เป็นบวกเมื่ออาทิตย์ที่ 27 ก่อนหน้าการตรวจแอนติบอดีเป็นบวก 14 อาทิตย์ และหลังจากที่เขาได้ฉีดคาโบเทกราเวียร์เข็มที่ สี่ไปแล้วเพียงเล็กน้อย
หลังจากการตรวจแอนติบอดีเป็นบวกครั้งแรกเมื่ออาทิตย์ที่ 41 แล้ว ผลการตรวจอีกสองครั้งเมื่ออาทิตย์ที่ 44 และ 55 ซึ่งระหว่างนั้นยังมีการตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแอนติบอดีที่มีเป็นบวก และผลการตรวจแอนติบอดีเพื่อยืนยัน ผลที่ไม่สามารถแปลผลได้อย่างแน่นอนด้วย และผลการตรวจอาร์เอ็นเอระหว่างอาทิตย์ที่ 34 ถึง 65 ที่เป็นลบ และผลการ ตรวจอาร์เอ็นเอในช่วงนั้นที่เป็นบวกแสดงว่าปริมาณไวรัสยังคงมีปริมาณต่ำกว่า 40 อยู่
ผลการตรวจต่างๆที่ไม่แน่นอนดังกล่าวทำให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้ไม่เชื่อว่าเขาติดเอชไอวีซึ่งทำให้เขาลังเลไม่ ต้องการเริ่มกินยาต้านไวรัส อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมการวิจัยคนนี้ตัดสินใจกินยาต้านไวรัสสูตรที่มีโปรทีเอส อินฮิบิเตอร์ เป็น หลักเป็นเวลาสี่อาทิตย์ที่เขาถือว่าเป็นการกินยาต้านไวรัสหลังการสัมผัสเชื้อหรือเป็ป (PEP – Post-Exposure Prophylaxis) ที่เป็นมาตรการฉุกเฉินในการป้องกันการติดเอชไอวี และปริมาณไวรัสในเลือดของเขามีระดับต่ำกว่า 40 จนถึงอาทิตย์ที่ 75 หรือตลอดเวลาของการวิจัย และเขาไม่ได้รับฉีดยาคาโบเทกราเวียร์อีกหลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติด เอชไอวีแล้ว และไม่เกิดการดื้อยา
หลังจากที่เขาออกจากการวิจัยแล้วมีคนเล่าว่าปริมาณไวรัสของเขาเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ทำให้เขาเริ่มกินยาต้าน ไวรัสสูตรยาดารูนาเวียร์ (darunavir) ที่เสริมด้วยยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) ที่ทำให้ปริมาณไวรัสลดลงจนวัดไม่ได้ในเวลา ต่อมา
การติดเอชไอวีในผู้เข้าร่วมการวิจัยที่กินทรูวาดา
ผู้เข้าร่วมการวิจัยของกลุ่มที่ถูกสุ่มให้กินยาเม็ดทรูวาดาติดเอชไอวี 42 คน แต่ต่อมาพบว่าสามคนติดเชื้อแล้วเมื่อ เข้าร่วมการวิจัยและสองคนที่ติดเชื้อแล้วเมื่อเข้าร่วมการวิจัยมีไวรัสกลายพันธ์ุที่ดื้อยากลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTI) ในตำแหน่งที่ M184V/I
ผู้เข้าร่วมการวิจัยของกลุ่มกินยาทรูวาดาที่ติดเอชไอวีในระหว่างการวิจัยเกือบทุกคน (ยกเว้น 2 คนจาก 39 คน) ผลการตรวจระดับยาในร่างกายของการวัดครั้งสุดท้ายก่อนที่จะถูกตรวจพบว่าติดเอชไอวีของผู้เข้าร่วมการวิจัยกลุ่มนี้แสดงว่าไม่มียาหรือมียาบ้างแต่ในปริมาณที่น้อยมาก ผู้เข้าร่วมการวิจัยหนึ่งคนที่มีระดับยาปานกลางแต่เขามีไวรัสกลายพันธุ์ใน ตำแหน่งที่ M184V/I เช่นกัน ส่วนผู้เข้าร่วมการวิจัยอีกคนมีระดับยาที่สูงเท่ากับระดับการกินยาทุกวันแต่ก็ยังติดเชื้ออยู่และ ต่อมาพบว่าผู้เข้าร่วมคนนี้มีไวรัสกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง K65R ที่ดื้อยาทีนอฟโฟเวียร์ (ที่เป็นยาชนิดหนึ่งของทรูวาดา) อยู่ ด้วย นอกจากนั้นแล้วทั้งสองคนยังมีไวรัสที่ดื้อยากลุ่มเอ็นเอ็นอาร์ทีไอ (NNRTIs) อีกด้วยซึ่งบ่งบอกว่าทั้งสองได้รับไวรัสดื้อ ต่อยาที่ใช้เป็นเพร็พมากกว่าเกิดการดื้อยาเพราะใช้เพร็พ
ศ. แลนโดวิทซ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมีการศึกษาต่อไปว่าทำไมผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีระดับยาคาโบเทกรา เวียร์ในร่างกายสูงพอยังติดเอชไอวีได้อยู่ ความเข้าใจว่าความเข้มข้นของยาคาโบเทกราเวียร์ในส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นอย่างไรจะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับกลไกของการป้องกันการติดเอชไอวีของคาโบเทกราเวียร์ชนิดฉีด
การที่ยาคาโบเทกราเวียร์ชนิดฉีดทำให้การวินิจฉัยการติดเชื้อล่าช้าออกไปและผลของการวิจัยที่แสดงว่าไวรัสเอช ไอวีที่ดื้อยาคาโบเทกราเวียร์เกิดขึ้นในช่วงที่ระดับยาและปริมาณไวรัสในร่างกายสูงเน้นถึงความสำคัญของการตรวจการ ติดเชื้อที่ไวและแม่นยำรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้การตรวจปริมาณไวรัสในเลือดควบคู่ไปด้วยเพื่อความแน่นอนก่อน การเริ่มใช้คาโบเทกราเวียร์ชนิดฉีดเพื่อป้องกันการติดเอชไอวี
สำหรับความกังวลว่าหลังจากที่หยุดใช้ยาคาโบเทกราเวียร์ชนิดฉีดไปแล้วแต่ยังจะมียาค้างอยู่ในร่างกายเป็น ระยะเวลาหนึ่งที่ลดลงไปเรื่อยๆจนหมดไปจากร่างกายและหากว่าเกิดการติดเอชไอวีในช่วงน้ันอาจจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา นั้นไม่เป็นไปดังที่คาดซึ่งรวมถึงผู้ที่ติดเอชไอวีหลังจากที่หยุดใช้คาโบเทกราเวียร์ไปแล้วช่วงหนี่งที่มีปริมาณไวรัสที่สูงมาก ด้วย ดังน้ันอาจไม่มีความจำเป็นที่ผู้ที่ต้องการหยุดใช้คาโบเทกราเวียร์ชนิดฉีดเพื่อป้องกันเอชไอวีจะต้องกินยาทรูวาดาเพื่อ ป้องกันการติดเชื้อในช่วงหลังการหยุดฉีดยาไประยะหนึ่งก่อน อย่างไรก็ตาม ศ. แลนโดวิทซ์ เน้นว่าควรต้องมีข้อมูลเพิ่ม เติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ก่อนที่จะให้คำแนะนำดังกล่าว
ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือตรวจการติดเอชไอวีที่ไวและแม่นยำกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไปรวมทั้งการตรวจ ปริมาณไวรัสในเลือดเสริมด้วยแสดงถึงความสำคัญของระบบบริการด้านเอชไอวีทั้งหมดเพราะอุปกรณ์หรือเครื่องมือใน การป้องกัน (หรือรักษา) ที่ดีมากจะไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของมันได้หากขาดระบบรองรับที่ดีด้วยเช่นกัน และ แน่นอนว่าการมีเครื่องมือตรวจที่ดีและการเสริมด้วยการตรวจปริมาณไวรัสด้วยย่อมจะเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับบริการการ ป้องกันการติดเชื้อที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็เป็นการลงทุนที่จำเป็น
นอกจากนั้นแล้วการดูแลผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ติดเอชไอวีในระหว่างการวิจัยเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อความน่าไว้ วางใจของการวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวี ดังที่ ศ. แลนโดวิทซ์ เน้นว่านอกจากการตรวจการติดเอชไอวีที่ไวและ แม่นยำแล้ว การเริ่มรักษาผู้ที่ใช้เพร็พและติดเอชไอวีโดยเร็วที่สุดก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันเพราะจะทำให้ผู้ที่ติดเอชไอวี สามารถควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ต่ำที่สุดโดยเร็วที่สุดซึ่งย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพของเจ้าตัวและต่อภาพพจน์ของการวิจัยด้วย
สิ่งที่สำคัญมากคือการกินยาทรูวาดาทุกวันและการฉีดยาคาโบเทกราเวียร์ทุกสองเดือนสามารถป้องกันการติด เอชไอวีได้ดีมาก ประสิทธิผลในการป้องกันเอชไอวีที่แตกต่างกันระหว่างการป้องกันทั้งสองวิธีที่การวิจัยเอชพีทีเอ็น 083 แสดงให้เห็นเป็นเพราะการใช้ผลิตภัณฑ์ และยาฉีดคาโบเทกราเวียร์ที่ออกฤทธิ์นานเป็นการป้องกันเอชไอวีที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหาในการกินยาทรูวาดาทุกวัน หรือผู้ที่ไม่ต้องการกินยาทุกวัน หรือผู้ที่แพ้ยากินทรูวาดามากกว่าคุณสมบัติของยาแต่เพียงอย่างเดียว เพราะยาฉีดนั้นตัดปัญหาเกี่ยวกับวินัยการใช้ยาที่ถูกต้องออกไป แต่ยากินนั้นพฤติกรรมการกินของผู้ใช้มีผลต่อประสิทธิผลของยาเป็นอย่างมาก
_____________________________________________________________________
[1] จาก HPTN 083/ Injectable PrEP can make breakthrough infections hard to detect โดย Gus Cairns เมื่อ 10 มีนาคม 2564 ใน https://www.aidsmap.com/news/mar-2021/hptn-083-injectable-prep-can-make-breakthrough-infections-hard-detect