บทความโดย อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้มีเอชไอวีจากทั่วโลกจำนวนมากกว่า 15,000 คน องค์การอนามัยโลกสรุปว่าเอชไอวี มีความสัมพันธ์อย่างเป็นอิสระต่อการป่วยโควิด-19 รุนแรง หรือการป่วยที่มีอาการสาหัส องค์การอนามัยโลกเปิดเผยผล ของการวิจัยดังกล่าวก่อนหน้าการประชุมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เอชไอวีของสมาคมโรคเอดส์นานาชาติ (International AIDS Society Conference on HIV Scienc) ที่จัดขึ้นที่เมืองเบอร์ลิน เยอรมนี ในช่วง 18-21 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา[1]

ก่อนหน้าการวิจัยดังกล่าวมีการวิจัยขนาดเล็กหลายโครงการที่ทำการวิจัยในเมืองนิวยอร์ค ในอาฟริกาใต้ และใน อังกฤษที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างเอชไอวีกับการป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง แต่ทว่าการวิจัยโครงการอื่นอีก จำนวนหนึ่งไม่แสดงถึงความแตกต่างของการป่วยโควิด-19 ระหว่างผู้ที่มีเอชไอวีหรือผู้ที่ไม่มีเอชไอวี

การวิจัยโครงการนี้นำโดย พญ. ซิลเวียร์ เบอร์เทอะโนเลีย (Dr. Silvia Bertagnolio) ผู้เชี่ยวชาญด้านเอชไอวีของ องค์การอนามัยโลก และการวิจัยนี้มีขนาดใหญ่กว่าการวิจัยโครงการอื่นเพราะเป็นการวิจัยที่รวบรวมข้อมูลจากหลาย ประเทศทั่วโลกที่ต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี และเนื่องจากผลของการวิจัยนี้ทำให้สมาคมโรคเอดส์นานาชาติ (International AIDS Society – IAS) แนะนำให้ประเทศต่างๆรวมผู้มีเอชไอวีเข้ากับรายการกลุ่มคนที่ควรได้รับการฉีด วัคซีนโควิด-19 เป็นลำดับต้นๆ ซึ่งการแนะนำเช่นนี้เป็นเรื่องที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health – NIH) ของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมาแล้ว

ใน นสพ. The New York Times มีข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยอะพัววา แมนดาวิวลิ (Apoorva Mandavilli) ที่สรุปได้ดังนี้[2]

การวิจัยดังกล่าวเห็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยโควิด-19    ที่ต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 268,412 คนที่รายงานให้แก่องค์การอนามัยโลก ข้อมูลดังกล่าวมาจาก 37 ประเทศ ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดนี้รวมถึงผู้ ป่วยโควิด-19 ที่เป็นผู้มีเอชไอวี 15,552 คนด้วย ข้อมูลเหล่านี้รวบรวมในช่วงเดือนมกราคม 2563 จนถึงเดือนเมษายน 2564 ซึ่งทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ อาการทางคลินิก สถานภาพเกี่ยวกับเอชไอวี โรคเรื้อรังต่างๆที่ เป็นอยู่ก่อนแล้ว ยาที่กินอยู่ และผลของการรักษาสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นผู้มีเอชไอวีด้วย อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มนี้เท่ากับ 45.5 ปี  ซึ่ง 37% เป็นผู้ชาย และ 92%  กินยาต้านไวรัสเอชไอวีอยู่  36.2%  ของผู้ป่วยโควิด-19  ที่มีเอชไอวีมีอาการป่วยที่รุนแรงหรือป่วยระดับวิกฤตเมื่อเข้าโรงพยาบาล สำหรับโรคเรื้อรังอื่นที่เป็นอยู่ก่อนแล้วโรคที่พบมากได้แก่ ความดันโลหิตสูง (33.2%) เบาหวาน (22.7%) และอ้วน (16.9)

อะพัววา แมนดาวิวลิ อธิบายว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเอชไอวีมีอาการป่วยหนักเมื่อเข้าโรง พยาบาล และเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเอชไอวีที่ต้องเข้าโรงพยาบาลตาย และสำหรับผู้ที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี ความเสี่ยงต่อการตายสูงขึ้นไปอีก และผู้ที่มีอายุมากจะยิ่งเสี่ยงต่อการตายมากที่สุด

นักวิจัยสรุปว่าหลังจากที่ปรับปัจจัยเกี่ยวกับเพศ อายุ และโรคร่วมอื่นที่เป็นอยู่ก่อนแล้วให้เท่ากันแล้วการติดเอช ไอวีเพิ่มความเสี่ยงต่อการตายเนื่องจากโควิด-19 ขึ้นไปอีก 30%

นพ. สตีเวน ดีกส์ (Dr. Steven Deeks) ผู้เชี่ยวชาญด้านเอชไอวีของมหาวิทยาลัยคาลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก กล่าวกับผู้เขียนข่าวของ The New York Times ว่าจะเป็นเรื่องที่แปลกมากหากเอชไอวีไม่มีความสัมพันธ์กับการทำให้โค วิด-19 รุนแรงขึ้นเพราะเอชไอวีทำให้เบรคของระบบภูมิคุ้มกันเสียไปหมดเป็นผลให้ภูมิคุ้มกันเกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและ อย่างต่อเนื่อง และการป่วยเป็นโควิด-19 ยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นไปอีก

นอกจากน้ันแล้ว นพ. ดีกส์ ไม่เห็นด้วยกับการปรับปัจจัยอื่นๆให้เท่ากัน เช่น ความอ้วน เพราะว่าการติดเชื้อเอชไอ วีในตัวมันเองทำให้เกิดโรคเหล่านั้นอยู่แล้ว ซึ่งในช่วง 25 ปีที่ผ่านมานักวิจัยเอชไอวียืนยันว่าเอชไอวีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็น อิสระ (ไม่ขึ้นกับปัจจัยอื่น) ต่อพัฒนาการของโรคหัวใจ มะเร็ง และการแก่ก่อนวัย ดังนั้นหากการวิจัยของทีมวิจัยองค์การ อนามัยโลกไม่ปรับทางสถิติให้ปัจจัยเกี่ยวกับโรคร่วมอื่นๆเท่ากันแล้ว ความเสี่ยงต่อการตายของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเอชไอ วีจะสูงกว่า 30% ที่เป็นผลวิเคราะห์ของการวิจัยนี้

ส่วนนพ. แมทธิว สปิเนลลี (Dr. Matthew Spinelli) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อจากโรงพยาบาล ซานฟรานซิสโก คิดว่าเหตุที่การวิจัยโครงการอื่นก่อนหน้านี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเอชไอวีกับอาการป่วยโควิด-19 ที่ รุนแรงนั้นอาจเป็นเพราะว่าแพทย์มีแนวโน้มที่จะให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเอชไอวีให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพราะต้องการ ป้องกัน(ที่มากเกินควร)ไว้ก่อนทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเอชไอวีเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรงและมีโอกาสที่จะรอด ชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยโควิด-19 คนอื่นๆที่ไม่มีเอชไอวีที่แพทย์ให้รักษาตัวที่โรงพยาบาลเพราะอาการป่วยรุนแรง และจำนวนผู้ ป่วยโควิด-19 ทั้งหมดที่สูงมากย่อมกลบผลกระทบของเอชไอวีต่อโควิด-19 ไปจนดูเหมือนว่าปัญหาไม่รุนแรงไปเสีย

นพ. สปิเนลลี เสริมว่าผลของการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ทำในระยะต้นๆทำให้คนหลงผิด และผลของการวิจัยล่าสุด โดยองค์การอนามัยโลกนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยขนาดใหญ่ระดับประชากรโครงการต่างๆที่ทำในอาฟริกาใต้ อังกฤษ และในเมืองนิวยอร์ค ซึ่งการวิจัยทั้งสามแสดงว่าเอชไอวีเพิ่มความเสี่ยงต่อการตายเพราะโควิด-19 ขึ้นไปอีกเท่าตัว

นพ. ดีกส์  สรุปว่าผลของการวิจัยใหม่นี้จะกระตุ้นแพทย์ให้ใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดี  (monoclonal antibodies) หรือยาต้านไวรัสในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีเอชไอวีทันที นอกจากนั้นแล้วข้อมูลเหล่านี้เน้นให้เห็นถึง ความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจว่าเอชไอวีมีผลอย่างไรต่อการตอบสนองของคนที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือจำเป็น ที่จะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเพิ่มให้แก่ผู้ที่มีเอชไอวีหรือไม่ดังที่ทำกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอื่นๆ

การวิจัยวัคซีนโควิด-19 ของโนวาแวคซ์ในประเทศอาฟริกาใต้ที่แสดงว่าประสิทธิผลของวัคซีนสูงขึ้นหากการ วิเคราะห์ไม่รวมผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีเอชไอวีด้วยแสดงว่าการติดเอชไอวีนั้นบั่นทอนประสิทธิผลของวัคซีน

พญ. เมก โดเออที (Dr. Meg Doherty) ผู้อำนวยการโครงการเอชไอวีขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่าจากร้อย กว่าประเทศที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการระดมฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน มี 40 ประเทศที่จัดให้ผู้มีเอชไอวีเป็นกลุ่มคนที่ต้อง ได้รับการฉีดวัคซีนในลำดับต้นๆ และองค์การอนามัยโลกหวังว่าต่อไปในอนาคตทุกประเทศจะถือว่าเอชไอวีเป็นปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาจัดลำดับของการฉีดวัคซีน

และรองศาสตราจารย์ พญ. อะดีบา คามารุลซามัน (Prof. Adeeba Kamarulzaman) ประธานสมาคมโรคเอดส์ นานาชาติ (IAS) และคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา มาเลเซีย กล่าวว่าชุมชนโลกจะต้องพยายามมากยิ่ง ขึ้นในการนำเอาวัคซีนโควิด-19 ไปใช้ในประเทศต่างๆทั่วโลกที่มีการติดเอชไอวีและโรคอื่นๆสูง ซึ่งในปัจจุบันการที่ทั้ง ทวีปอาฟริกามีคนที่ได้รับฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว 1 เข็มต่ำกว่า 3% และคนที่ได้รับฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 เข็มเป็นเรื่องที่ ยอมรับไม่ได้

ส่วนองค์การอนามัยโลกนั้นมีแผนที่จะรวมการติดเอชไอวีให้เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในแนวทางการปฏิบัติทาง คลินิกเกี่ยวกับโควิด-19 ขององค์การ

 

_____________________________________________________________________

[1] จาก HIV independently associated with more severe COVID-19, WHO finds โดย Eamon N. Dreisbach เมื่อ 15 กรกฎาคม 2654 ใน https://www.healio.com/news/infectious-disease/20210715/hiv-independently-associated-with-more-severe-covid19-who-finds

[2] จาก Covid Is Especially Risky for People With H.I.V., Large Study Finds เมื่อ 15 กรกฎาคม 2654 ใน https://www.nytimes.com/2021/07/15/health/covid-hiv-risk-study.html